บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.7K
4 นาที
9 มีนาคม 2560
ทำไมธุรกิจคุณ ต้องเข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ 

 
ปัจจุบันมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ช่วยให้ธุรกิจแฟรนไชส์ในแต่ละประเภทได้รับการยอมรับ และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถตัดสินใจเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น 
 
เมื่อได้เห็นว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำลังสนใจผ่านเกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ แปะข้างฝาเอาไว้ แต่ธุรกิจที่จะผ่านเกณฑ์ฯ ได้ ต้องมีมุ่งมั่น ตั้งใจบริหารจัดการอย่างแท้จริง
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาท่านผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ ที่อยากให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองมีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ไปดูโครงการดีๆ ในการยกระดับมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ ปี 2560 
 
 
โดยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2560 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดตัวโครงการยกระดับมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ ปีงบประมาณ 2560 ในฐานะที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีภารกิจในการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ ให้ความเข้มแข็ง แข่งขันได้ จึงให้ความสำคัญการพัฒนาธุรกิจในระบบแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง 
 
โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาการบริหารจัดการให้ธุรกิจแฟรนไชส์มีมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการเป็นที่น่าเชื่อถือ สามารถยกระดับธุรกิจเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจ และได้รับการยอมรับในรีดับสากล 
 
เพื่อยกระดับธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงได้จัดกิจกรรมยกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ ปีงบประมาณ 2560 ใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 8 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2560 โดยมีวัตถุประสงค์
 
เพื่อพัฒนายกระดับธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ให้มีการบริหารจัดการตามเกณฑ์มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ทั้งในประเทศและในระดับสากล รวมทั้งสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค และกลุ่มบุคคลที่ได้รับสิทธิในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขยายตลาดในระดับสากล 
 
 
ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ จะได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ การประเมิน วิเคราะห์ศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจโดยผู้เชี่ยวชาญ การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ พร้อมทั้งได้ศึกษาดูงานธุรกิจต้นแบบที่มีระบบการบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน 
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ และผ่านเกณฑ์การประเมิน จะได้รับการเชิดชูเกียรติ โดยได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้รับโอกาสพิเศษในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าหรืองานแสดงธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรืองานอื่นๆ ที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์จัดขึ้น
 
ได้รับอนุญาตให้สามารถนำเครื่องหมายเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ การบริหารจัดการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจการ อีกทั้งยังได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์และกิจกรรมต่างๆ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อาทิ เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า วารสารต้นสายปลายทางธุรกิจ ช่องทางอื่นๆ เป็นต้น 
 
ภายในโครงการจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ กิจกรรมที่ 1 เป็นการสร้างองค์ความรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ 
 
ส่วนกิจกรรมที่ 2 ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ด้วยการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการ ประเมิน วิเคราะห์ ศักยภาพด้านการบริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ
 
จัดกิจกรรมติดตามติดตามประเมินผลร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ศึกษาดูงานธุรกิจต้นแบบที่มีระบบการบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน คัดเลือกธุรกิจต้นแบบเพื่อเป็นกรณีตัวอย่างไม่น้อยกว่า 10 ราย 
 
พร้อมทั้งประเมินผลหลังการพัฒนา เปรียบเทียบผล ก่อน หลังการพัฒนาธุรกิจ และจัดกิจกรรมเผยแพร่ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยองค์ประกอบธุรกิจที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย 
 
1.การนำองค์กร 


 
ผู้นำระดับสูงขององค์กรหรือเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสูงในการขับเคลื่อน และผลักดันองค์กรให้ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์กร รวมทั้งวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ เพื่อกำหนดและผลักดันเชิงนโยบาย กำหนดแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งแผนงานเชิงกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อเป้าหมายการเติบโตที่มั่นคงยั่งยืน
 
ซึ่งวิสัยทัศน์ แผนการดำเนินงาน และกลยุทธ์ดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการสื่อสารไปยังบุคลากรที่เกี่ยวข้องและนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถสร้างผลกำไรและเติบโตอย่างยั่งยืน

2.การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 

 
การวางแผนกลยุทธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ในระยะยาว โดยเป็นแผนงานที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองแนวคิดและนโยบายของผู้บริหารองค์กรการวางแผนกลยุทธ์ควรเป็นแผนที่มีความยืดหยุ่นและสามารถนา ไปปฏิบัติได้จริงและประเมินผลได้เพื่อสามารถนา ไปปรับปรุงแผนงานให้ดีขึ้นได้ในอนาคต
 
โดยแผนกลยุทธ์ที่ดีต้องสามารถกำหนดให้พนักงานในองค์กรปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนชัดเจน มีแผนงานระยะยาวเพื่อดำเนินไปสู่ความเจริญก้าวหน้า และการตัดสินในนโยบายต่างๆ จะเชื่อมโยงและสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางเอาไว้ พนักงานในแต่ละแผนกจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่ถูกสร้างขึ้น
 
3.การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด 

 
องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้ เพราะจะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ อันจะนำไปสู่การมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ จึงต้องให้ความสำคัญด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการเป็นเรื่องหลัก โดยจะต้องมีระบบและกระบวนการที่เหมาะสมที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งมอบนั้นตรงตามความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าอย่างแท้จริง
 
ดังนั้น การฟังเสียงลูกค้า การประเมินความพึงพอใจของลูกค้า การผลิตและสร้างสรรค์สินค้าหรือบริการที่หลากหลาย รวมถึงการจัดการข้อเรียกร้องต่างๆ ในหัวข้อการมุ่งเน้นลูกค้า ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ จะส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ แฟรนไชส์ซี และลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผล
 
4.การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

 
 
การวัดผลการวิเคราะห์และจัดการความรู้ ควรมาจากความจำเป็นและกลยุทธ์ทางธุรกิจแฟรนไชส์ การวัดผลควรให้ข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับกระบวนการผลผลิต และผลลัพธ์ที่สำคัญ การจัดผลการดำเนินการขององค์กรต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศหลายประเภท โดยธุรกิจแฟรนไชส์ต้องมีระบบการสอน การถ่ายทอดระบบที่มีประสิทธิภาพ
 
การวัดผลการดำเนินการ ควรครอบคลุมถึงผลการดำเนินการด้านลูกค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการ รวมทั้งการเปรียบเทียบผลการดำเนินการด้านการปฏิบัติการ ผลการดำเนินการด้านการตลาด และผลการดำเนินการเชิงแข่งขัน 
 
รวมถึงผลการดำเนินการผู้ส่งมอบบุคลากร ต้นทุนและการเงิน ตลอดจนการกำกับดูแล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ องค์กรควรจำแนกข้อมูลเพื่อสะดวกต่อการวิเคราะห์ด้วย 

5.การมุ่งเน้นบุคลากร 

 
องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อให้บุคลากรมีการเรียนรู้ในทุกระดับและมีทัศนคติที่ดี จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการอยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถแข่งขันได้ในตลาด การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรจะส่งผลดีต่อระบบธุรกิจแฟรนไชส์ขององค์กรหลายประการ
 
นอกจากนี้ เรื่องของมาตรฐานแฟรนไชส์สภาพแวดล้อมในการทำงาน ก็จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสร้างผลกำไรได้ เช่น สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ไม่เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว พนักงานมีความสุขในการทำงาน บรรยากาศส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
 
6.การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ 

 
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญต่อการปรับปรุงธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ บริการ โปรแกรมกระบวนการและการปฏิบัติการขององค์กร รวมทั้งการสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นวัตกรรม ควรนำองค์กรไปสู่มิติใหม่ในการดำเนินงาน และนวัตกรรมไม่อยู่ในขอบเขตงานของฝ่ายวิจัยและพัฒนาเท่านั้น นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการดำเนินการในทุกแง่มุม 
 
ทุกระบบงาน และทุกกระบวนการ ผู้นำองค์กรจึงควรชี้นำ และจัดการให้นวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเรียนรู้ องค์กรควรบูรณาการนวัตกรรมไว้ในการทำงานประจำวัน และใช้ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กรด้วย
 
7.ผลลัพธ์ทางธุรกิจ

 
ถือว่ามีความสำคัญที่สุดของเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ สิ่งที่ธุรกิจแฟรนไชส์ทำมาทั้งหมดใน 6 ข้อ จะวัดกันได้ตรงที่มีผลลัพธ์ทางธุรกิจเกิดขึ้น เพราะการวัดผลการดำเนินการขององค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ จำเป็นต้องมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่เห็นภาพชัดเจน ขยายตลาดได้หรือไม่ มีกลุ่มลูกค้ามากน้อยแค่ไหน รวมถึงรายได้ขององค์กรเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่
 
ผลลัพธ์ดังกล่าว ควรนำใช้เพื่อสร้างคุณค่าและรักษาประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ลูกค้า บุคลากร ผู้ถือหุ้น ผู้ส่งมอบ และคู่ค้า สาธารณะ และชุมชน ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต้องมีความพึงพอใจ ยืนหยัดอยู่กับคุณ ร่วมกันสร้างตลาดและพัฒนาสินค้าหรือบริการให้เติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดไป 
 
จากการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะทำให้องค์กรสามารถสร้างความภัคดีต่อองค์กรให้กับบุคคลเหล่านี้ได้ จนสามารถนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและช่วยเหลือสังคมได้ กลยุทธ์ขององค์กรควรระบุความต้องการการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรธุรกิจ
 
โดยการประเมินธุรกิจแฟรนไชส์ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จะมีคะแนนรวม 1,000 คะแนน คะแนนผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนช์ คือ 650 คะแนน
 
 
สำหรับกระบวนการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์กับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เข้าร่วมโครงการฯ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มี 3 ขั้นตอน ดังนี้
  1. การเมินด้วยตนเอง ให้ผู้ประกอบการใช้แบบประเมินในการประเมินตนเอง
  2. การเมินโดยนักวินิจฉัย โดยนักวินิจฉัยหรือผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจประเมินธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านเกณฑ์เบื้องต้น
  3. การประเมินโดยคณะกรรมการคัดเลือกแฟรนไชส์ไทยมาตรฐานคุณภาพ เป็นคณะกรรมการที่ตั้งโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อพิจารณาวิธีการประเมิน และให้คะแนนประเมิน ตลอดจนจัดอันดับธุรกิจตามเกณฑ์ฯ
คุณจะเห็นได้ว่า เมื่อธุรกิจแฟรนไชส์ได้กำหนดแผนกลยุทธ์โดยมีผู้นำแสดงวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว การดำเนินงานรักษาฐานลูกค้า สร้างลูกค้าใหม่ และการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า คือการรักษาฐานให้แฟรนไชส์เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์
 
ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ท่านใด อยากรู้ว่าธุรกิจของตัวเองได้มาตรฐานหรือไม่ สามารถคลิกเข้าไปทำแบบทดสอบประเมินมาตรฐานแฟรนไชส์ด้วยตัวเอง goo.gl/5y1Csd
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,020
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,503
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,636
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,573
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด