บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
4.2K
2 นาที
13 มีนาคม 2560
7 ข้อดีต่อยอดธุรกิจให้เป็นระบบแฟรนไชส์

 
ในรูปแบบการลงทุนนั้นยุคนี้ไม่มีอะไรน่าสนใจไปกว่าการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เนื่องจากข้อดีหลายประการที่เป็นการลงทุนในแบบที่แพร่กระจายได้รวดเร็ว โดยก่อนหน้าจะสร้างระบบแฟรนไชส์ได้ก็ต้องมีร้านต้นแบบที่มั่นคงและดึงดูดคนให้สนใจในสินค้าหรือว่าบริการนั้นๆ ได้

จากนั้นจึงเป็นรูปแบบการบริหารจัดการแฟรนไชส์ว่าเราจะทำอย่างไรให้คนที่ซื้อแฟรนไชส์เราไปสามารถตั้งตัวและอยู่รอดในธุรกิจนี้ได้การอยู่รอดของสาขาแฟรนไชส์ก็เป็นมาตรฐานวัดคุณภาพธุรกิจอย่างหนึ่งที่บอกได้ว่าธุรกิจของเรามั่นคงแข็งแรงได้มากน้อยแค่ไหน
 
และต่อไปนี้คือ 7 ข้อดีในการต่อยอดธุรกิจตัวเองให้เป็นระบบแฟรนไชส์ซึ่ง www.ThaiFranchiseCenter.com  เห็นว่าหากต้องการเดินหน้าการลงทุนในรูปแบบนี้จำเป็นต้องมีไกด์ไลน์ที่ดีหรือมีแหล่งสนับสนุนที่ดีมากพอเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการทำธุรกิจที่สามารถเดินหน้าได้อย่างมั่นใจมากขึ้นและนี่คือ 7 ข้อดีที่เรานำมาฝากสำหรับคนที่ต้องการต่อยอดในการลงทุนแฟรนไชส์ทั้งหลาย
 
1.ขายแฟรนไชส์ทำกำไรได้กว่าเท่าตัว

 
สิ่งที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้อย่างเด่นชัดที่สุดของการนำธุรกิจมาขายในตลาดแฟรนไชส์คงหนีไม่พ้นในเรื่องผลกำไรที่เพิ่มมากขึ้น เพราะการขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์สามารถสร้างอัตราการเติบโตได้แบบทวีคูณ ซึ่งผู้ประกอบการจะมีรายได้เข้ามาในกระเป๋าอย่างน้อยเกือบหนึ่งเท่าตัวต่อการขายแฟรนไชส์ให้กับลูกค้าหนึ่งเจ้าเลยทีเดียว โดยรายรับจะมาจากค่าแฟรนไชส์ที่เปรียบเสมือนเป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้าซึ่งจะมีมูลค่าพอสมควรขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการจะกำหนด ค่าอุปกรณ์ร้านค้า และตกแต่ง

2.ขายแฟรนไชส์ช่วยลดความเสี่ยงของธุรกิจ

 
เมื่อขายสิทธิ์แฟรนไชส์แล้ว เรายังได้ค่าขายสินค้าและปัจจัยไปสู่สมาชิกซึ่งถือเป็นรายรับที่เรียกเก็บได้ในระยะยาว จึงเป็นที่จะโอกาสได้รับเงินก้อนั้นได้โดยที่ไม่ต้องลงทุนขยายสาขาตั้งร้านเองให้เหนื่อยและเสียเวลาในการโปรโมต อีกทั้งผู้ประกอบการยังไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงเรื่องภาระการขาดทุนหากสาขาใหม่ไปไม่รอดอีกด้วย
 
3.ทำให้ต้นทุนทางธุรกิจต่อหน่วยลดลง

 
การที่ผู้ประกอบการใช้ระบบแฟรนไชส์ในการดำเนินธุรกิจจะส่งผลให้ยอดการผลิตเพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากยอดสั่งซื้อที่สูงขึ้นตามจำนวนสมาชิก เราจึงจำเป็นต้องป้อนสินค้าไปยังเครือข่ายสมาชิกแฟรนไชส์ของตนให้ครบทุกคน

ซึ่งยอดการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นถือเป็นอำนาจในการต่อรองกับผู้ขายปัจจัยการผลิตได้เป็นอย่างดี สามารถขอส่วนลดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือขอลดราคาต่อหน่วยให้ถูกลงได้เพราะสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ผู้ขายสินค้าปัจจัยการผลิตมักไม่มีปัญหาเรื่องนี้มากนักและมักยอมลดราคาให้เสมอเพราะได้ยอดสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ต้นทุนที่ถูกลงหมายถึงผลกำไรที่มากขึ้นนั่นเอง
 
4.แฟรนไชส์สามารถโฆษณาตัวเองได้

 
ปัจจุบันธุรกิจกับการโฆษณาถือเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันอยู่ตลอด นักการตลาดหลายคนทราบดีและมักใช้วิธีโฆษณาเป็นตัวกระตุ้นยอดขายอยู่เสมอ แต่การโฆษณามีราคาที่ต้องจ่ายเป็นไม่น้อยเลยหากต้องการจะเข้าถึงผู้บริโภค ดังนั้นการขยายสาขาด้วยการใช้กลไกเครือข่ายการขายแฟรนไชส์จึงเป็นการโฆษณาที่ไม่ต้องเสียเงินเลยแม้แต่บาทเดียว ซึ่งผลของการโฆษณาผ่านร้านแฟรนไชส์จะได้ผลประสบความสำเร็จได้หากผู้ประกอบการลงไปวางเครือข่ายร้านค้าของสมาชิกให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ
 
5.แฟรนไชส์ไม่ต้องสร้างธุรกิจใหม่เพื่อต่อยอด

 
การต่อยอดธุรกิจด้วยวิธีการสร้างหรือเปิดแนวทางการทำธุรกิจขึ้นมาใหม่ทั้งหมดถือว่ามีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงและสิ้นเปลืองมาก อีกทั้งยังไม่มีอะไรเป็นสิ่งรับประกันความสำเร็จของธุรกิจสาขาใหม่ได้เลย ต่างจากการต่อยอดธุรกิจด้วยวิธีขายแฟรนไชส์อย่างสิ้นเชิง แต่ต้องเข้าใจก่อนว่ากิจการที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อขายแฟรนไชส์ได้ต้องเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในตัวของมันเองและเป็นที่ประจักษ์ได้รับการยอมรับในตัวแบรนด์แล้วจากผู้บริโภค จึงน่าจะประสบความสำเร็จได้รวดเร็วกว่าเมื่อเทียบกันกับการสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
 
6.แฟรนไชส์เป็นการสร้างเครือข่ายรองรับการเติบโตในอนาคต

 
ด้วยรูปแบบเฉพาะของการขายแฟรนไชส์ที่เป็นระบบเครือข่ายและการเป็นสมาชิก ที่มีผู้ประกอบการอยู่ที่จุดสูงสุดบนยอดของโมเดลการทำธุรกิจรูปทรงพีระมิด ซึ่งสามารถบริหารงานจัดการควบคุมการดำเนินธุรกิจทั้งเครือข่ายให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันเพื่อให้สนับสนุนซึ่งกันและกันทั้งองค์กร โดยสมาชิกแฟรนไชส์ที่อยู่ถัดลงมาของรูปทรงพีระมิดจะเป็นผู้ช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถเติบโตและขยายตัวในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว และยิ่งฐานขยายออกไปกว้างมากขึ้นเท่าไร ธุรกิจก็ยิ่งมั่นคงมากขึ้นเท่านั้น
 
7.เป็นรูปแบบการลงทุนที่คนนิยมอย่างรวดเร็ว

 
ธุรกิจแฟรนไชส์เปรียบเสมือนเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กิจการของผู้ประกอบการมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด สามารถมองเห็นความสำเร็จได้ในเวลาอันจำกัด จึงเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจที่มีขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก เช่น ประเภทธุรกิจ SME ที่สายป่านทางการเงินไม่ยาวเหมือนบริษัทยักษ์ใหญ่
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ถือเป็นวิธีการต่อยอดที่น่าสนใจมากเพราะสามารถทำได้ในเวลาอันจำกัดและไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาลเหมือนกับการสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

แต่ทั้งนี้ธุรกิจที่จะสามารถใช้การขายแฟรนไชส์ให้กับลูกค้าได้ต้องเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้านอย่างแท้จริง มีแบรนด์ตราสินค้าเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี

ซึ่งการจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ผู้ประกอบการต้องลงใจเกินร้อยไปในธุรกิจที่ทำ หมั่นคิดค้นและหาเอกลักษณ์จุดเด่นที่แตกต่างแล้วนำมาพัฒนาให้ประสบความสำเร็จให้จงได้ ซึ่งหากเอาชนะอุปสรรคดังกล่าวได้จริง ผู้ประกอบการจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนลงแรงสร้างธุรกิจดังกล่าวอย่างแน่นอน
 
และสำหรับท่านใดที่ยังเลือกไม่ถูกว่าอยากสร้างแฟรนไชส์แบบไหนหรืออยากลงทุนแฟรนไชส์อะไรดีเรามีรวบรวมหลากหลายแฟรนไชส์น่าสนใจให้เลือกกันได้ตามความเหมาะสม ดูรายละเอียดที่ goo.gl/iUmXas
 

 
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,561
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,288
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด