บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
4.2K
2 นาที
1 มิถุนายน 2553

4 ทางเลือกเมื่อธุรกิจเริ่มวิกฤติ


ธุรกิจส่วนมากมักจะล้มเหลวตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มทำและอีกจำนวนไม่น้อย ล้มเหลวภายใน 3 ปี ส่วนที่เหลือรอดไปจากนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า จะรอดไปทั้งหมดตลอดกาล ที่เกริ่นแบบนี้ เพราะทุกธุรกิจที่ทำไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ อย่างน้อยจะต้องเผชิญวิกฤติของธุรกิจเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3- 5 ครั้ง โดย 1-2 ครั้งแรกๆ จะเป็นวิกฤตในช่วงเริ่มต้นก่อตั้งอีก 1-2 ครั้ง จะพบวิกฤตในช่วงขยายตัวและครั้งสุดท้ายจะพบวิกฤติในช่วงที่คิดว่าทุกอย่างลงตัวและไม่มีอะไรน่ากลัวอีกต่อไป

ประเด็นหลักก็คือ ...ทุกองค์กร ทุกธุระกิจ ต้องพบวิกฤติตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงอนาคต วิธีรับมือกับวิกฤติจึงเป็นทั้ง “ปัจจัยทำลาย” ให้องค์กรล่มสลาย และเป็นทั้ง “ ปัจจัยเสริมความแข็งแกร่ง” ให้ธุรกิจเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

แต่ส่วนมากเจ้าของธุรกิจหรือผู้นำในแต่ละองค์กร มักจะปล่อยให้วิกฤติแต่ละครั้งเป็น “ปัจจัยทำลาย” มากกว่า เพราะวิธีรับมือกับวิกฤติเรียงจากง่ายไปหายาก จนถึงยากสุดๆ ดังนี้

                1.ยอมรับชะตากรรม วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และเป็นวิธีที่เสริม “ปัจจัยทำลาย” ให้มีอานุภาพที่สุด เช่นกัน เพราะคิดว่าไม่มีหนทางใดที่จะสู้อีกต่อไปแล้ว โดยลืมวิธีคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และขาดซึ่งกำลังใจที่จะต่อสู้ ก็ต้องจากไป

                2.นิ่ง วิธีนี้ดูเหมือนดี แต่ส่วนมากมักจะนิ่งแบบรอคอยโอกาส โดยลืมคิดไปว่า “โอกาสที่ดีที่สุด และส่งผลบวกมากที่สุด เป็นโอกาสที่เกิดจากการสร้าง ไม่ใช่เกิดจากการรอคอย” ถึงแม้การสร้างโอกาสจะมีความเสี่ยงมากกว่าการรอคอยโอกาส แต่การสร้างโอกาสอย่างมีกลยุทธ์มักจะส่งผลดีกว่าการรอคอย...ซึ่งมักจะช้าเกินไป เพราะนิ่งอยู่นานจนสนิมเกาะและค่อยๆ กลายสภาพจากความนิ่งเป็นความขลาดกลัว

                3.สู้ตาย วิธีการนี้ส่วนมากเป็นการสู้แบบบ้าระห่ำ เป็นวิธีคิดแบบไม่มีอะไรจะเสียแล้ว และสุดท้ายก็ไม่เหลืออะไรให้เสียจริงๆ เพราะสู้จนหมดเนื้อหมดตัวแล้ว แถมด้วยหนี้สินอีกมหาศาลที่กู้มาสู้ การสู้ตายมักเป็นวิธีการของคนที่ “ใจใหญ่กว่าสมอง” คือ เน้นความสะใจ แต่ลืมคิดว่าจะต้องเสียใจ

                4.สู้...แบบมีกลยุทธ์ วิธีนี้ยากที่สุด เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจ ที่หลายๆ ธุรกิจ เลือกวิธีนี้เป็นวิธีการสุดท้าย และไม่ต้องแปลกใจที่ธุรกิจองค์กรที่ประสบความสำเร็จ และเป็นผู้นำ มักจะใช้วิธีนี้เป็นทางเลือกแรก และไม่มีทางที่จะใช้วิธีการแรกคือ ยอมรับชะตากรรม และไม่ยอมเสียโอกาส โดยใช้วิธีการที่สอง คือ นิ่ง รวมทั้งไม่บ้าระห่ำพอที่จะใช้วิธีที่สาม คือ สู้ตาย

                จะว่าไปแล้ว ก็น่าเห็นใจ และพอจะเข้าใจหลายๆ ธุรกิจที่เลือกใช้วิธียอมรับชะตากรรม ไปจนถึงวิธีการนิ่ง  และทางเลือกสุดท้าย คือ สู้ตาย แต่ในทางกลับกัน วิกฤติที่ทุกองค์กรไม่ว่าองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ต่างก็ได้รับวิกฤติที่หนักหนาสาหัสกันไปตามแต่วาระและโอกาสกันถ้วนหน้า ไม่มีข้อยกเว้น

                เพียงแต่ว่า “ความอึดและความสร้างสรรค์” ที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละองค์กรเลือกใช้วิธีการรับมือที่แตกต่างกัน และใช้วิกฤติที่พบเป็น “ปัจจัยเสริมความแข็งแกร่ง” โดยไม่ยอมให้วิกฤติที่พบกลายสภาพเป็น “ปัจจัยทำลาย”

                ในอนาคตอันใกล้....(ที่จริงเริ่มเกิดขึ้นมา โดยยังไม่เป็นข่าวมากนัก) หลายๆ ธุรกิจจะต้องพบกันภาวะวิกฤติ เพียงแต่ระดับของวิกฤติจะมากหรือน้อย ไม่มีใครคาดเดาได้ แต่องค์กรที่ขาดภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่ง เมื่อเผชิญวิกฤติ สัญชาตญาณก็จะทำให้เกิดการช็อก และหลังจากนั้น ส่วนมากจะยอมรับชะตากรรมและความพ่ายแพ้

คงไม่เป็นการเสียเวลาหรือไม่ใช่คิดในแง่ร้าย ถ้าแต่ละองค์กรจะเริ่มเตรียม เริ่มฝึกซ้อม หรือแม้กระทั่งเริ่มสร้างวิธีรับมือ โดยมุ่งเน้นไปที่วิธีการที่สี่เป็นวิธีแรก และวิธีเดียวคือ “สู้แบบมีกลยุทธ์” เมื่อถึงสถานการณ์ที่ต้องพบวิกฤติจริงๆ ก็จะรับมือวิฏฟติด้วยกลยุทธ์ และถ้าโชคดีไม่พบวิกฤติ กลยุทธ์ที่คิด ที่ฝึก ที่ซ้อม ที่เตรียมไว้ จะกลายเป็นกลยุทธ์สำรองที่นำมาพลิกแพลงและปรับใช้ได้ในทุกสถานการณ์

สัจธรรมก็คือ ถ้าไม่เตรียมตั้งแต่วันนี้  เมื่อเผชิญวิกฤติก็จะเหลือทางเลือกที่ไม่ค่อยสร้างสรรค์ คือ ยอมแพ้ นิ่ง และสู้ตายจนตาย

อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,008
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,485
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,634
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,573
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด