บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
7.1K
1 นาที
22 พฤศจิกายน 2549
การเป็นที่ปรึกษาแฟรนไชส์ 
 
พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอมอีไทย ( FSA) ได้ให้หลักข้อคิด 7 หน้าที่การ เป็นที่ปรึกษาแฟรนไชส์เพื่อใช้สำหรับการเตรียมตัวใน การเป็นที่ปรึกษาระบบธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับแฟรนไชซอร์ สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชซอร์มาแล้วหรือ ผู้ที่สนใจหันไปทำธุรกิจที่ปรึกษาระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ดังนี้
  1. ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษาแฟรนไชส์ให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ใดก็ตาม สิ่งที่ต้องรู้เป็นอันดับแรกของเป็นที่ปรึกษาคือแบรนด์เนมหรือตรายี่ห้อของ แฟรนไชซอร์มีความเข้มแข็งแค่ไหน หากยังไม่ดีพอที่ปรึกษาความแนะนำให้แฟรนไชซอร์พัฒนา แบรนด์เนมหรือตรายี่ห้อของแฟรนไชซอร์ให้ติดตลาด หรือถ้าไม่สามารถทำได้ควรเปลี่ยนแปลงแบรนด์หรือตรายี่ห้อใหม่ เช่น แฟรนไชส์บะหมี่กุ๊กกุ๊ย แค่ฟังชื่อโอกาสที่จะพัฒนาแฟรนไชส์ดังกล่าว ให้ประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
     
  2. ที่ปรึกษาต้องเข้าใจถึงเรื่องของ Productivity ซึ่งตรงนี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะตัวสินค้าเท่านั้น แต่หมายถึงการบริหารงานของแฟรนไชส์ด้วย อย่างถ้าเป็นที่ปรึกษาแฟรนไชส์ธุรกิจซักแห้ง ที่ปรึกษาไม่มีความจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจซักแห้งอย่างดี แต่ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจซักแห้ง เช่น กระบวนการทำงานของธุรกิจซักแห้ง
     
  3. Total Investment หรือมูลค่าการลงทุนทั้งหมด ที่ปรึกษาต้องรู้ว่าแฟรนไชซอร์ที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้มีระบบการลงทุนอย่างไร ซึ่งตรงนี้ที่ปรึกษาสามารถถามกับเจ้าของกิจการได้ แต่สิ่งสำคัญคือการถามเรื่องการลงทุนต้องถามแต่สิ่งที่เกี่ยวข้อง กับการเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น เช่น ใช้เงินลงทุนในธุรกิจเท่าไหร่ แต่ไม่ควรถามว่าดอกเบี้ยในการกู้เงินมาลงทุนเท่าไหร่ หรือกู้เงินจากที่ไหน

    นอกจากนี้ ไม่ควรนำเอกสารที่เกี่ยวกับตัวเลขของแฟรนไชซอร์กลับออกมา อย่างวันนี้มีประชุมเรื่องยอดขายกับแฟรนไชซอร์ หลังจากที่เสร็จการประชุมแล้วควรคืนเอกสารดังกล่าว กับแฟรนไชซอร์ทันทีเพื่อสร้าง ความไว้วางใจให้กับแฟรนไชซอร์ว่าที่ปรึกษาจะไม่เข้าไปล่วงรู้ธุรกิจของเขามากนัก ยกเว้นมีกรณีที่ต้องนำไปศึกษาเพิ่มเติม
     
  4. การเข้ามาเป็นที่ปรึกษาจะต้องทำหน้าที่ในการปรับค่าใช้จ่ายของ แฟรนไชซอร์ให้อยู่ในทิศทางที่ดีขึ้นไม่ใช่ทำให้แฟรนไชซอร์มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ปรึกษายังมีหน้าที่ในการเข้ามาช่วยให้แฟรนไชซอร์สามารถมีกำไร จากการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นที่ปรึกษาต้องประเมินให้ดีว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ หรือทำอย่างไรให้ธุรกิจที่ไปเป็นที่ปรึกษาให้มีกำไร
     
  5. กำหนดการเทรนนิ่งของแฟรนไชซี ที่ปรึกษามีหน้าที่ในการกำหนดหรือสร้างโครงสร้างการ เทรนนิ่งโปรแกรมให้กับแฟรนไชซอร์เพื่อนำไปให้แฟรนไชซีใช้ใน การปฏิบัติตามสิ่งที่แฟรนไชซอร์ต้องการ หรือตามความเหมาะสมกับความเป็นจริงของธุรกิจ
     
  6. ที่ปรึกษาต้องประเมินและออกแบบว่าแฟรนไชซอร์ควร จะให้การสนับสนุนอะไรกับแฟรนไชซี อาทิ การให้การสนับสนุนเรื่องการตลาด
     
  7. ที่ปรึกษาต้องกำหนดพื้นที่ในการเปิดสาขาของแฟรนไชซี และเรื่องของรายละเอียดของสัญญา ซึ่งที่ปรึกษาจะทำอย่างรอบครบ อย่าง แฟรนไชซีควรจะมีพื้นที่ในการเปิดสาขาต่างจังหวัด 1 จังหวัด 1 สาขาเท่านั้น 
     
อ้างอิงจาก: ผู้จัดการออนไลน์


ท่านใดสนใจอยากรับปรึกษาแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,032
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,507
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,636
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,578
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด