บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    คู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์
22K
5 นาที
18 พฤษภาคม 2560
รวมกฏหมายแฟรนไชส์ที่ผู้ประกอบการควรรู้
 

 
การลงทุนที่น่าสนใจในยุคนี้คือเลือกลงทุนกับระบบแฟรนไชส์ที่สินค้าจำนวนมากพัฒนาตัวเองให้เข้าสู่ระบบนี้เพื่อโอกาสในการก้าวหน้าที่มากขึ้นในมุมของ www.ThaiFranchiseCenter.com นั้นเรื่องการลงทุนนั้นเป็นสิ่งที่ดีแต่ทั้งผู้ลงทุนและผู้เป็นเจ้าของแฟรนไชส์เองก็ต้องมีพันธะสัญญาที่เชื่อมโยงกัน

ซึ่งเรื่องของกฏหมายเป็นสิ่งที่นักลงทุนทุกคนควรจะรู้ไว้โดยในปัจจุบันนั้นกฏหมายที่เกี่ยวเนื่องกับแฟรนไชส์โดยตรงยังไม่มีเพียงแต่มีข้อกฏหมายที่เกี่ยวเนื่องกันโดยตรงซึ่งก็มีอยู่หลายฉบับด้วยกัน เรามาเรียนรู้เรื่องนี้อย่างลึกซึ้งไปพร้อมกันดีกว่า
 
กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 
ได้แก่ หมวดว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา โดยนำมาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการเกิดสัญญา การแสดงเจตนาของคู่สัญญา การตีความสัญญา ผลของสัญญา การบอกเลิกสัญญา และการผิดสัญญา

2. พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
 
หากพิจารณาฐานะของคู่สัญญาในสัญญาแฟรนไชส์แล้ว จะเห็นได้ว่า คู่สัญญาสองฝ่ายจะมีฐานะไม่เท่าเทียมกันเนื่องจากแฟรนไชส์ซีจะมีอำนาจในการเจรจาต่อรองน้อยกว่าแฟรนไชส์ซอร์

นอกจากนี้สัญญาแฟรนไชส์ยังถือเป็นสัญญามาตรฐานและสัญญาสำเร็จรูปประเภทหนึ่งเพราะเป็นสัญญาที่แฟรนไชส์ซอร์ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่าเป็นผู้กำหนดเนื้อหาสาระของสัญญาหรือข้อสัญญาที่เป็นสาระสำคัญไว้เป็นการล่วงหน้า โดยที่แฟรนไชส์ซีซึ่งเป็นผู้ที่จะเข้ามาทำสัญญาสามารถแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาโดยไม่ต้องมีการเจรจาต่อรอง

ซึ่งหากว่าข้อสัญญาดังกล่าวแฟรนไชส์ซอร์ได้เปรียบแฟรนไชส์ซีเกินสมควร ข้อสัญญาดังกล่าวถือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ในกรณีเช่นนี้กฎหมายกำหนดให้สัญญามีผลใช้บังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น 
 
3. กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือบริการ และสิทธิบัตร เนื่องจากหากแฟรนไชส์ซอร์ประสงค์ที่จะให้แฟรนไชส์ซีสามารถใช้เครื่องการการค้าหรือบริการ หรือสิทธิบัตรของตนก็จะต้องมีการจดทะเบียนสัญญา

ส่วนที่แตกต่างกันระหว่างสัญญาแฟรนไชส์และสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา คือ แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายค่าตอบแทนในการใช้สิทธิและเข้าร่วมประกอบธุรกิจ ส่วนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิอาจไม่จำต้องจ่ายค่าตอบแทนก็ได้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของคู่สัญญา 
 
4. พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 
 
การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เกี่ยวข้องกับความลับทางการค้าในแง่ที่ว่า ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ เช่น สูตรอาหารหรือเครื่องดื่ม คู่มือการปฏิบัติงาน และรายชื่อลูกค้า อาจถือได้ว่าเป็นความลับทางการค้าของแฟรนไชส์ซอร์ที่จำเป็นจะต้องได้รับความคุ้มครอง

โดยแฟรนไชส์ซีจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลความลับหรือนำข้อมูลซึ่งเป็นความลับนั้นไปใช้ในลักษณะที่เป็นการแข่งขันกับแฟรนไชส์ซอร์ ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของแฟรนไชส์ซอร์ในเรื่องดังกล่าว แฟรนไชส์ซอร์ย่อมสามารถที่จะฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนและขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการกระทำเช่นว่านั้นได้ 
 
5. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 

 
ธุรกิจประเภทนี้ทั้งแฟรนไชส์ขายสินค้าและแฟรนไชส์ให้บริการย่อมต้องมีลูกค้าหรือผู้บริโภคเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ ในแง่นี้ลูกค้าหรือผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการโฆษณาสินค้าที่อาจเกินจริง การปิดฉลากสินค้า หรือการกำหนดให้ธุรกิจใดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา เป็นต้น 
 
6. พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 
 
การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าฯ เช่นกัน โดยทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีจะถูกควบคุมมิให้มีการใช้วิธีการที่กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าถือว่าเป็นการผูกขาด หรือการกระทำที่เป็นการใช้อำนาจเหนือตลาด เว้นแต่มีความจำเป็นและมีเหตุผลสมควรโดยจะต้องขออนุญาตต่อคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเสียก่อน 
 
7. กฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจนั้นโดยตรง 


 
การขายสินค้าและการให้บริการในธุรกิจแฟรนไชส์นอกจากจะต้องพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจนั้นโดยตรง เช่น พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2535 เป็นต้น
 
ทั้งนี้ลองมาดูกันให้ละเอียดอีกทีว่าในสัญญาแฟรนไชส์ที่ทำการเซ็นรับทราบซื้อขายกันนั้นควรมีอะไรบ้าง
 
วิธีการทำสัญญา
 
บริการ #รับร่างสัญญาแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/30VBhpS

หน้าที่สัญญาจะเป็นงานของนักกฎหมายทนายความเป็นคนทำ เป็นคนร่าง ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะทราบดีกว่าว่าเรื่องใด ข้อความใดในสัญญา ใช้บังคับตามกฎหมายได้ ข้อสัญญาใดบังคับไม่ได้  และทนายความแต่ละคนก็อาจจะมีประสบการณ์ ในการร่างสัญญาที่ถนัดกันคนละอย่างดังนั้นผู้ประกอบการที่ขายแฟรนไชส์ก็จะต้องเป็นผู้ให้แนวทางกับทนายความว่าต้องการให้สัญญาแฟรนไชส์บังคับใช้ในเรื่องอะไรบ้าง แต่ปัญหาของทุกคนจะตอบเหมือนๆกัน คือ “ไม่ทราบเหมือนกันว่าควรจะมีเรื่องอะไรอยู่ในสัญญา 
 
การให้สิทธิ์
 
ในการขายแฟรนไชส์คือการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ต่างๆ ซึ่งก่อนที่คุณจะทำสัญญาเรื่องแฟรนไชส์คุณจะต้องคิดว่าคุณมีสิทธิ์หรือทรัพย์สินใดบ้างที่จะต้องให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปด้วยเช่น สิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้า , การได้อนุญาตสิทธิประโยชน์ที่ใช้เป็นผลในทางการค้า , สิทธิ์ในการเป็นตัวแทนจำหน่ายภายใต้แบรนด์นั้น เป็นต้น 

การแต่งตั้ง

 
คือการกำหนดอาณาเขตที่คุณจะให้แก่แฟรนไชซี่ ที่ในสัญญา ก็จะมีระบุว่าเราจะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้รับสิทธิการดำเนินธุรกิจสิทธิใช้ทรัพย์สินทางปัญญา หรือการขายสินค้า ในอาณาเขตใด ภายใต้เงื่อนไขอย่างไรซึ่งต้องคิดก่อน และกำหนดเอาไว้ในสัญญา
 
ประเภทของการได้รับสิทธิ์ 
 
ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ของเราจะได้รับสิทธิ์รูปแบบไหนเป็นสิทธิ์ได้เพียงรายเดียวในประเทศไทย หรือได้สิทธิ์ในภูมิภาคหรือได้สิทธิ์จำกัดแค่ในห้าง เป็นต้น ซึ่งในสัญญาควรจะต้องมีการระบุว่าแฟรนไชส์รายนี้ ได้รับสิทธิ์เพียงผู้เดียวหรือไม่ เช่นในกรณีที่จะให้สิทธิ์ รายเดียวในภาคเหนือที่คลอบคลุม 10 จังหวัดคือเชียงใหม่,เชียงราย,แม่ฮ่องสอน ฯลฯ

จะมีเงื่อนไขต่อไปตามที่จะตกลงกันเช่นไร เช่นผู้ที่ได้สิทธิ์รายเดียวอาจต้องมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการให้ได้ตามข้อที่ตกลงกันในระยะเวลาที่กำหนด ก็ยังมีที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็จะยกเลิกสัญญาได้ เช่นนี้เป็นต้น 
 
ข้อกำหนดเรื่องการเลือกสถานที่

 
โดยส่วนใหญ่แล้วธุรกิจแฟรนไชส์บริษัทแม่มักมีส่วนในการช่วยเลือกสถานที่ดังนั้นในสัญญาอาจจะมีการกำหนดไว้ในเรื่องนี้ว่าบริษัทแม่จะมีส่วนในการช่วยเลือกสถานที่หรือไม่อย่างไรเนื่องจากผู้ขายแฟรนไชส์ที่ดีส่วนมากจะต้องไม่ทำให้ธุรกิจที่ตั้งขึ้นไม่ว่าจะเป็นของบริษัทแม่เองหรือของบริษัทแฟรนไชซี่ล้มเหลว จึงมักมีความประสงค์ในการมีส่วนในการเลือกสถานที่ตั้งเพื่อเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจดำเนินกิจการไปได้
 
การโฆษณาส่งเสริมการขาย
 
การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายเป็นอันดับหนึ่งที่สำคัญที่มักจะสับสนกันที่ควรจะมีการพูดถึงในสัญญาโดยระบุว่าใครเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมการขาย และการโฆษณาใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย จะมีค่าใช้จ่ายส่วนรวมในการโฆษณาหรือไม่อย่างไรหรือมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาท้องที่ของร้านแฟรนไชซี่หรือไม่เป็นการระบุให้เข้าใจตรงกัน 
 
ระเบียบในการดำเนินธุรกิจ

 
ในธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องมีการกำหนดระเบียบในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรักษามาตรฐานของร้านดังนั้นในสัญญาอาจจะมีการระบุคือ ระเบียบที่สำคัญที่ต้องปฏิบัติเอาไว้โดยเฉพาะในเรื่องของ การให้ตรวจสอบการดำเนินงานร้านเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของร้านเป็นต้น
 
ข้อกำหนดในการเก็บรักษา/และการควบคุมคุณภาพ 
 
เรื่องการกำหนดให้ซื้อสินค้าจากบริษัทแม่ เป็นเรื่องที่มีปัญหาระหว่างกันเสมอและในกฎหมายแฟรนไชส์ที่กำลังจะออกมาในเร็วๆนี้ ก็จะมีการกล่าวถึงในเรื่องนี้ด้วยดังนั้นการทำสัญญาแฟรนไชส์ที่ระบุให้มีการซื้อสินค้าใดจะต้องอยู่ในขอบเขตเพื่อการคงรักษา ตัวมาตรฐานและคุณภาพเท่านั้นจะกำหนดให้ซื้อจากบริษัทแม่ทุกอย่าง หรือปราศจากเหตุผลที่เหมาะสมจะไม่สามารถทำได้ 
 
แต่ท่านสามารถระบุในเรื่องของวิธีการเก็บรักษาสินค้า หรือเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อช่วยในการรักษามาตรฐานด้วยได้ ส่วนการควบคุมคุณภาพนั้นมักจะมีอยู่ในคู่มือ ซึ่งข้อกำหนดของสัญญาเรื่องนี้มักจะสอดคล้องกับแนวทางของการควบคุมคุณภาพต่างๆที่อยู่ในคู่มือ 
 
การเลือกพนักงานและการอบรม 
 
แน่นอนที่สุดการทำระบบแฟรนไชส์จะต้องมีหน้าที่ในการฝึกฝนบุคคลากรจนกระทั่งสามารถดำเนินธุรกิจเหมือนกับบริษัทแม่ได้ ดังนั้นในสัญญาจะต้องมีการระบุถึงเรื่องนี้ว่า ใครจะเป็นผู้คัดเลือกพนักงานกำหนดระยะเวลาของการฝึกฝน และความช่วยเหลือ ว่าจะมีอย่างไรและระยะเวลายาวนานเพียงใด ไม่เช่นนั้นแล้วจะมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นถึงความไม่ชัดเจนในเรื่องนี้
 
การโอนสัญญา

 
หากมีการทำธุรกิจแฟรนไชส์ไปแล้วเกิดไม่อยากทำขึ้นมา ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์จะมีสิทธิ์โอนต่อให้คนอื่นได้หรือไม่ประเด็นนี้ผู้ขายแฟรนไชส์ควรคิดเอาไว้ก่อน แล้วระบุกฎเกณฑ์เรื่องนี้ไว้ในสัญญาและการโอนจะโอนได้ในเรื่องอะไรบ้าง
 
รายได้ค่าสิทธิ์
 
ในสัญญาควรระบุคือ วิธีการชำระค่าสิทธิ์ รวมถึงวัน เวลา และอัตราค่าสิทธิ์ที่แน่นอนเอาไว้ การชำระค่ารอยัลตี้ หรือค่าแฟรนไชส์อาจจะมีการกำหนดในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย หรือผลกำไรหรือกำหนดเป็นอัตราที่แน่นอนรายเดือน ซึ่งควรมีการบอกเอาไว้และกำหนดให้ชัดเจนว่าคำนวณรายได้ จากอะไร จากรายได้สุทธิหรือจากรายได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายเป็นต้น นอกจากนี้อาจจะมีการกำหนดเป็นสกุลเงินใดในการรับชำระ (ในกรณีที่ขายแฟรนไชส์ต่างประเทศรวมถึงกำหนดด้วยว่าใครเป็นผู้ชำระภาษี)
 
สมุดบัญชี

 
ระเบียบในการลงแบบฟอร์มบัญชี ที่อาจจะมีการระบุให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เก็บหลักฐานทางบัญชี อย่างพร้อมทุกข้อมูลและลงรายละเอียดรายรับ-รายจ่ายอย่างถูกต้องซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ควรจะปฏิบัติส่วนผู้ขายแฟรนไชส์ก็จำเป็นจะต้องมีระบบงานทางด้านรายงานทางการเงินที่ดีเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลต่างๆรวมทั้งเป็นการช่วยเหลือผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้มีระบบงานที่ดีขึ้นด้วย
 
สิทธิในการตรวจสอบบัญชี
 
แฟรนไชส์ส่วนใหญ่ จะมีการจ่ายค่ารอยัลตี้ฟีตามเปอร์เซ็นต์ หรือยอดกำไรซึ่งส่วนนี้จะเป็นยอดเงินเท่าไรก็อาจจำเป็นต้องมีการตรวจสอบบัญชีของผู้ซื้อแฟรนไชส์  สิ่งนี้อาจจะเป็นจุดอ่อนไหวที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์ให้ตรวจสอบที่จะต้องมีการตกลงกันตั้งแต่เริ่มแรกและระบุในสัญญาว่าจะอนุญาตให้มีการตรวจสอบบัญชีในการทำธุรกิจหรืออาจมีการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีพิเศษขึ้นมาอีกก็ได้
 
การแข่งขัน

 
เป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอ ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์เมื่อซื้อแฟรนไชส์ไปได้ระยะหนึ่งเมื่อทำธุรกิจเองได้แล้วก็อาจอยากเป็นผู้ขายแฟรนไชส์เสียเอง หรือไม่อยากชำระค่ารอยอตี้ฟีอีกต่อไปทำให้คู่ค้ากลายเป็นคู่แข่ง ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น สัญญาแฟรนไชส์ก็อาจจะมีการทำความเข้าใจในประเด็นนี้โดยอาจจะมีเงื่อนไขระบุในการห้ามค้าแข่งในธุรกิจเดียวกันในระยะเวลาที่กำหนดเป็นต้น 

การไม่เปิดเผยความลับ
 
การขายแฟรนไชส์ จำเป็นจะต้องถ่ายทอดวิชาเฉพาะธุรกิจนั้นๆให้ผู้ซื้อ เช่นร้านอาหารอาจจะมีเคล็ดลับเรื่องสูตรอาหารหรือกลยุทธพิเศษในเรื่องของการทำการตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปิดเผยคู่มือในการทำธุรกิจที่มีรายละเอียดทุกอย่างที่เจ้าของแฟรนไชส์ได้ศึกษาขึ้นมา ด้วยประสบการณ์เป็นเวลานานเมื่อได้ถ่ายทอดให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วอาจจะมีโอกาสที่จะถูกนำไปเปิดเผยได้ดังนั้นในสัญญาควรมีการกำหนดในเรื่องนี้ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่จะต้องรักษาความลับแม้กระทั่งเลิกสัญญาต่อกันไปแล้ว
 
ระยะเวลาสัญญาแฟรนไชส์ 
 
แน่นอนว่าในการให้สิทธิแฟรนไชส์ จะต้องกำหนดระยะเวลา ของการให้สิทธิเอาไว้จะเป็นกี่ปีผู้ขายแฟรนไชส์ อาจจะต่อกันครั้งละ 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี ก็ตามหากไม่ได้กำหนดไว้อาจจะเสมือนว่าจะได้สิทธิตลอดไปซึ่งในกรณีที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ละเลยในการต่อค่าสิทธิ หรือประพฤติไม่เหมาะสมก็จะแก้ไขได้ยากแต่ถ้ามีระยะเวลาก็อาจจะไม่มีการต่อสัญญาในรอบต่อไปได้
 
การเลิกสัญญา
 
ในสัญญาควรจะระบุในกรณีที่เลิกสัญญาเอาไว้ด้วยว่ามีกรณีใดบ้างที่จะเลิกสัญญาแฟรนไชส์อีกต่อกันเช่น อาจจะเสียชีวิต หรือมีคดีผิดกฎหมาย หรือกรณีผิดสัญญาร้ายแรงเช่นไม่ชำระค่าสิทธิ เป็นต้น
 
ผลของการเลิกสัญญา

 
ผลของการเลิกสัญญาแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไปผู้ขายแฟรนไชส์ควรจะกล่าวถึงไว้ในสัญญาด้วยเช่นเมื่อเลิกสัญญาแล้วก็ไม่มีสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าเป็นต้น
 
เหตุสุดวิสัย
 
ในบางครั้งอาจมีสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติ สงคราม เป็นต้นก็อาจจะมีการกำหนดผ่อนผันสิทธิและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในช่วงเวลาดังกล่าวได้
 
การอนุมัติและการอนุญาต
 
ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ จำเป็นต้องควบคุมมาตรฐานในการดำเนินงานให้เท่ากันทุกแห่งดังนั้นอาจจะมีการสับสนว่าเรื่องใดบ้างอนญาติให้แฟรนไชส์ดำเนินงานเองได้เรื่องใดจะต้องขออนุญาตจากบริษัทแม่เสียก่อนซึ่งจะทำให้มีความเข้าใจตรงกันและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
 
เอกสารแนบท้าย

 
ในการทำสัญญาอาจมีข้อสัญญาหลายเรื่อง เป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิเครื่องหมายการค้าหรือเอกสารรายละเอียดอื่น ๆที่แนบท้าย ซึ่งอาจจะระบุอ้างอิงถึงเอกสารแนบท้ายและระบุว่าส่วนใดอยู่ภายใต้สัญญาฉบับนี้ด้วย

ในเรื่องของการค้าสัญญาระหว่างกันนี้จุดที่ดีที่สุดก็คือ ควรจะมีความเป็นธรรม ที่ให้โอกาสอีกฝ่ายหนึ่งได้อ่านทบทวนโดยละเอียดและได้ต่อรองในข้อตกลงต่างๆ กันก่อน ซึ่งการทำสัญญาถ้าผู้ขายแฟรนไชส์จะสร้างระเบียบต่างๆขึ้นมาโดยที่ดูเป็นการเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่งขึ้นมาก็อาจจะไม่สามารถบังคับใช้ได้เลยเพราะอาจจะอยู่ในลักษณะของสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
     
ทั้งนี้การซื้อขายแฟรนไชส์ใดๆเรื่องของสัญญาถือว่ามีความสำคัญมากซึ่ง การเขียนสัญญาย่อมเป็นหน้าที่ของนักกฎหมาย ทนายความซึ่งข้อแนะนำในเรื่องนี้เป็นเรื่องการให้แนวทางว่า ควรจะมีการระบุและพูดถึงในเรื่องใดบ้าง ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มเติมมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ก็ขึ้นกับความต้องการของผู้ขายแฟรนไชส์และลักษณะของแต่ละธุรกิจและการยอมรับของผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีจุดลงตัวซึ่งกันและกัน
 
สนใจต้องการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์เรามีรวบรวมไว้หลายหมวดหมู่จำนวนมาก ดูรายละเอียด goo.gl/eoLUxE
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,676
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,801
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,911
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด