บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
9.4K
2 นาที
22 พฤศจิกายน 2549
เงื่อนไข 9 ประการของธุรกิจแฟรนไชส์ 
  • ขนาดของกิจการ 
ขนาดของกิจการที่กล่าวนี้ หมายความถึงว่า ธุรกิจของท่านมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะให้ภาพพจน์ที่ดีอันเป็น เครื่องหมายที่แสดงถึงความสำเร็จในสายตาของคนทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะแฟรนไชส์ที่ท่านมองหาหรือไม่ เพราะผู้ที่เป็น แฟรนไชส์ซี ย่อมต้องเปรียบเทียบธุรกิจของท่านกับคู่แข่งในตลาด เนื่องจากเขาเองก็ต้องการที่จะลงทุนกับธุรกิจที่มี โอกาสของความสำเร็จมากกว่า และทำให้เกิดความสนใจจากแฟรนไชส์ซีง่ายกว่านั่นเอง 
 
อย่างไรก็ตามนอกจากขนาดของกิจการที่ใหญ่แล้ว กิจการจะต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีด้วย

  • อายุของกิจการ 
อายุของกิจการนั้นต้องยอมรับว่า เป็นเงื่อนไขที่สำคัญจะให้ภาพพจน์ที่ดีแก่ธุรกิจ ของท่านในสายตาของแฟรนไชส์ซี เพราะอายุของกิจการนั้น หมายถึง ความสำเร็จในระดับหนึ่งของท่านที่ได้ดำเนินธุรกิจมา และยังบอกถึงความรู้ความ เข้าใจของท่านในขั้นตอนการปฏิบัติงานว่ามีมากพอจะสอนให้ผู้อื่นทำตาม นอกจากนี้ระยะเวลาที่นานพอยังหมายถึง ประสบการณ์ของท่านที่จะเข้าใจสภาพตลาดในธุรกิจนั้น ๆ จนสามารถคาดเดาการเติบโต หรืออนาคตได้อย่างถูกต้อง และมั่นใจ
  • มีกำไรหรือเปล่า 
เงื่อนไขนี้ดูจะเป็นเงื่อนไขที่เข้าใจได้ไม่ยากเพราะ คงไม่มีใครเลยอยากลงทุนในกิจการที่ไม่มีกำไร ฉะนั้นหากว่า กิจการท่านไม่ประสบความสำเร็จ คือ ไม่มีกำไรหรือประสบภาวะขาดทุนแน่นอนกิจการนั้นของท่านคงจะไม่ เหมาะสมที่จะทำแฟรนไชส์ เพราะแฟรนไชส์ไม่ใช่กลยุทธ์ที่ใช้สำหรับ แก้ไขปัญหาธุรกิจที่ประสบความล้มเหลว ซึ่งต้องการเงินทุนเพื่อความอยู่รอด แต่แฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์สำหรับธุรกิจที่มีความสำเร็จ แต่ยังขาดแคลนทุนทรัพย์ และกำลังคนในการขยายงานต่างหาก
 
  • สอนได้ไหม 
หากธุรกิจของท่านที่ประสบความสำเร็จนั้นมีวิธีการ หรือขั้นตอนการทำงาน ซึ่งไม่สามารถถ่ายทอดหรือสอน แก่บุคคลอื่นได้ การทำแฟรนไชส์นั้นก็ย่อมทำไมได้ง่ายด้วย นอกจากนี้ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งสอนได้ยากหรือ ปฏิบัติได้ยากก็ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการทำแฟรนไชส์ด้วย
  • ถอดแบบของระบบได้ไหม 
ระบบของธุรกิจท่านจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง สามารถเขียนอธิบายออกมาได้โดยละเอียด และเป็นขั้นตอนในรูปของ คู่มือ ทั้งนี้ เพื่อแฟรนไชส์ซีจะสามารถทำความรู้ ความเข้าใจ หรือหาความรู้ทบทวนได้ โดยมีตัวท่านซึ่งเป็นผู้มี ประสบการณ์อยู่แล้วเป็นผู้คอยให้คำปรึกษาอีกทีหนึ่ง ซึ่งหากเป็นดังนี้แล้วก็ย่อมมั่น
 
  •  ทำตลาดได้ไหม 
หากท่านคิดจะทำระบบธุรกิจของท่านให้เป็นแฟรนไชส์ ธุรกิจนั้นจะต้องสามารถเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป ทั้งกลุ่มที่เป็นผู้บริโภค และกลุ่มที่เป็นแฟรนไชส์ซีของท่าน เพราะหากธุรกิจท่านเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค แต่ ระบบปฏิบัติงานยากต้องการความชำนาญมาก ๆ หรือการลงทุนเพื่อได้ผลกำไรในธุรกิจนั้น ต้องลงทุนมากเสี่ยง ต่อการขาดทุนได้ง่านนั้นย่อมหมายความว่าท่านอาจ จะหาแฟรนไชส์ซีได้ยาก
  • ปรับเปลี่ยนได้ไหม 
รูปแบบของธุรกิจนั้นสามารถปรับให้เข้ากับตลาดที่ธุรกิจขยายออกไป เพราะหากคุณปรับไม่ได้ ธุรกิจของคุณ ก็อาจจะไม่สามารถเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคที่นั่นได้ แม้ว่าผู้บริโภคในพื้นที่เดิมหรือ ประเทศของคุณจะยอมรับมาก่อน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ธุรกิจประเภทอาหาร เครื่องดื่ม ที่จำเป็นต้องปรับรสชาติให้เข้ากับคนในท้องถิ่น เพื่อให้เป็น ที่ยอมรับ จากนั้นจึงรักษามาตรฐานของทุกสาขาที่เปิด ให้มีรสชาติแบบนั้นในประเทศ
 
  •  เอกลักษณ์ 
หากธุรกิจใดมีเอกลักษณ์ หรือ Unique Selling Position (USP) แล้วละก็ โอกาสประสบความสำเร็จในการทำ แฟรนไชส์ก็จะเพิ่มขึ้น แต่คงต้องมีเงื่อนไขอื่น ๆ ประกอบยกตัวอย่าง เช่น ถึงแม้ธุรกิจจะมีเอกลักษณ์ แต่หากไม่ สามารถถ่ายทอดได้ ก็ยากที่จะทำเป็นแฟรนไชส์ อย่างไรก็ตามเอกลักษณ์ย่อมหมายถึง ความสำเร็จ เพราะทำให้คุณ แตกต่างจากผู้อื่นนั่นเอง
  •  ขนาดของการลงทุน 
ขนาดของการลงทุนจะต้องมีความเหมาะสม กล่าวคือ ไม่มากเกินไปจนเป็นอุปสรรคในการลงทุน ของผู้สนใจ ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่น้อยเกินไปจนกระทั่งการดำเนินงานประสบปัญหา
 
อ้างอิงจาก: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,767
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,882
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,918
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,263
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด