บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ไอเดียธุรกิจแฟรนไชส์
3.5K
3 นาที
7 มิถุนายน 2560
7 ปัจจัยทำธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษาให้ประสบความสำเร็จ

 
ปัจจุบันธุรกิจด้านการศึกษาเป็นกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากจำนวนสาขาที่มีเพิ่มขึ้นในแต่ละสาขาของแฟรนไชส์ซอร์

รวมถึงมีผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์การศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านการศึกษา มีทักษะการสอน อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เนื่องจากบริษัทเจ้าของแฟรนไชส์เป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงในวงการการศึกษา มีมาตรฐานและผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล 
 
ประกอบกับเจ้าของแฟรนไชส์ยังมีการถ่ายทอดประสบการณ์ ขั้นตอนการประกอบธุรกิจ การออกแบบตกแต่งร้าน การจัดหาอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการฝึกอบรมพนักงานและบุคลากรให้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถเปิดกิจการและดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขอนำเสนอปัจจัยในการทำธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษาให้ประสบความสำเร็จ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนแฟรนไชส์การศึกษา สถาบันสอนพิเศษต่างๆ มาดูกันเลยว่า มีปัจจัยอะไรบ้างครับ  

1. ผู้ประกอบการต้องมีความรู้และเข้าใจในธุรกิจการศึกษาอย่างถ่องแท้ 
 
 
เนื่องจากธุรกิจการศึกษาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ คือ ควรมีความถนัดกับธุรกิจหรือรายวิชาที่จะเลือกลงทุน เพราะธุรกิจการศึกษาผู้ประกอบการจะต้องลงไปคลุกคลีมากกว่าธุรกิจอื่นๆ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องสามารถให้คำปรึกษาในเรื่องของการศึกษาแก่กลุ่มผู้ปกครองได้ จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ด้านการบริการที่ดี 
 
นอกจากต้องรู้เรื่องการศึกษา ผู้ประกอบการต้องมีการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพ สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ ตลอดจนหลักสูตร ความพร้อมของผู้ประกอบการ การสร้างตลาด คุณภาพการสอนของบุคลากร และการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการ ตลอดจนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันกับคู่แข่ง หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของลูกค้าอยู่เสมอ

รวมทั้งควรมีการตรวจสอบผลตอบรับอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นยอดขายกำไร ชื่อเสียงและภาพพจน์ ต้องมีการประชุมระหว่างผู้ประกอบการและบริษัทแม่อยู่เสมอ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันเป็นสำคัญ
 
2. เลือกประเภทธุรกิจการศึกษา และกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน 
 
 
ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อมูล สำหรับการลงทุนในแฟรนไชส์การศึกษาแต่ละประเภทอย่างรอบคอบ รวมถึงกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น ถ้าคุณสนใจแฟรนไชส์สถาบันสอนวิชาสามัญและกวดวิชาทั่วไป ควรเลือกแบรนด์แฟรนไชส์ที่มีความแข็งแกร่ง มีชื่อเสียง บุคลากรเพียบพร้อม มีผลงานเป็นที่ยอมรับ สามารถพิสูจน์ผลลัพธ์ได้ รวมถึงอาจจะต้องมีมาตรฐานรับรองหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการ ในหลักสูตรที่เปิดสอน เป็นต้น
 
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจแฟรนไชส์ประเภทสถาบันเสริมทักษะ ควรเลือกกลุ่มทักษะที่มีจุดเด่น หรือความชำนาญเฉพาะด้าน หากมีจุดขายที่แปลกใหม่และการนำเสนอที่แตกต่าง จะทำให้สามารถดึงดูดผู้เรียนได้มากขึ้น 
 
ประการสำคัญก็คือ ภาพลักษณ์ของแบรนด์ต้องดูดี น่าเชื่อถือ ได้รับการรับรองหลักสูตรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน ที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น 

3. ศึกษาความสำเร็จของแฟรนไชส์การศึกษาอื่นๆ 
 
 
ถือว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อย หากมีความสนใจลงทุนในแฟรนไชส์การศึกษาและสอนพิเศษจริงๆ เพราะการเรียนรู้ความสำเร็จของคนที่ประสบความสำเร็จ จะทำให้เรานำมาเป็นแนวทางในการทำธุรกิจการศึกษาได้ โดยผู้ประกอบการอาจจะทำการศึกษาความสำเร็จของแฟรนไชส์ในสาขาอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการของแฟรนไชส์ว่า มีประสิทธิภาพหรือไม่ ควบคู่ไปอีกทางหนึ่ง เพิ่มลดความเสี่ยงในการประกอบกิจการ 

4. ต้องรักษามาตรฐานคุณภาพของบุคลากร
 
บุคลากรในสถาบันสอนพิเศษเป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำไปสู่ความสำเร็จ การบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษาให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะเรื่องการคัดเลือกบุคลากรและครูผู้สอนนั้น ผู้ประกอบการจะต้องมีความพิถีพิถันในการคัดเลือก ทั้งจากการคัดเลือกโดยบริษัทแม่และผู้ประกอบการเอง เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความเหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจของตนเองมากที่สุด 
 
โดยมีการทดสอบระดับความรู้ความสามารถ ความชำนาญ ตลอดจนทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน พนักงานจะต้องถูกฝึกให้ปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนปฏิบัติงาน เพื่อให้การบริการเป็นมาตรฐานเดียวกัน อีกทั้งควรมีการตรวจสอบมาตรฐานการสอนของบุคลากรเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ และมีการปฏิบัติตามแนวทางที่บริษัทแม่กำหนดอย่างเคร่งครัด ประการสำคัญ คือ ผู้ประกอบการควรสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่บุคลากร เพื่อให้อยู่กับสถาบันในระยะยาว
 
5. การรักษามาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ 
 
 
เป็นที่ทราบกันดีว่าการขายธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษา เป็นการขายระบบการจัดการทางการเรียนการสอน ไม่ใช่การขายสินค้า ดังนั้น สิ่งที่เป็นจุดเด่นหรือจุดขายที่สำคัญของธุรกิจนี้ คือ ระบบการสอนที่มีมาตรฐาน มีการกำหนดวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐานและสอดคล้องกัน จนเป็นกระบวนการที่สามารถควบคุมและวัดผลได้ 
 
โดยเป้าหมายของระบบงานมีหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การจัดทำแผนกลยุทธ์ การควบคุมการจัดการ การควบคุมการปฏิบัติการ การควบคุมคุณภาพการให้บริการ เป็นต้น 
โดยถ้ามองในแง่ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ มาตรฐานก็คือ ไม่ว่าจะมาตรฐานการให้บริการที่สาขาใด สิ่งที่ได้รับต้องเหมือนกัน ซึ่งหากผู้ประกอบการขาดการรักษามาตรฐานแฟรนไชส์สาขาของตนแล้ว จะทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ของสถาบัน รวมไปถึงลูกค้าที่จะเปลี่ยนไปใช้บริการสาขาอื่นๆ หรือคู่แข่งโดยทันที  

6. บริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีกำไรสูงสุด
 
 
การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษาต้องอาศัยเงินลงทุนค่อนข้างสูง ดังนั้น การบริหารธุรกิจให้เกิดกำไรสูงสุดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก อาจจะต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อดึงดูดลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้เข้ามาเรียนจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของหลักสูตรและบุคลลากรครูผู้สอนเป็นสำคัญ เพราะจะสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี 

7. ติดตามระบบการศึกษาของภาครัฐอยู่เสมอ 
 
 
ผู้ประกอบการจะต้องมีการติดตามนโยบายด้านการศึกษาของภาครัฐอยู่เสมอ เพราะจะได้ปรับหลักสูตรให้สอดคล้อง เช่น การนำเครื่องมือหรือเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการเรียนการสอน ข้อกำหนดในระบบรับเข้าศึกษาต่อในระดับต่างๆ โดยผู้ประกอบการอาจจะต้องพิจารณาการเพิ่มหลักสูตร หรือมีวิธีการปรับการเรียนการสอน หรือนำเทคโนโลยีต่างๆ มาเป็นส่วนสนับสนุนในการให้บริการควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป 
 
ทั้งหมดเป็น 7 ปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังมองหาช่องทางลงทุนแฟรนไชส์ทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสถาบันกวดวิชา สอนพิเศษ สอนทักษะ ภาษาต่างๆ ก็ลองนำเอาองค์ประกอบข้างต้นไปปรับใช้เป็นแนวทางในการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษาให้สำเร็จได้ครับ
 
สนใจลงทุนแฟรนไชส์การศึกษา  goo.gl/4O7Uyq

หรือลงทุนแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/qIxgbu
อ่านบทความเกี่ยวกับแฟรนไชส์ goo.gl/qayBRt
 

Tips
  1. ผู้ประกอบการต้องมีความรู้และเข้าใจในธุรกิจการศึกษาอย่างถ่องแท้ 
  2. เลือกประเภทธุรกิจการศึกษา และกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน 
  3. ศึกษาความสำเร็จของแฟรนไชส์การศึกษาอื่นๆ 
  4. ต้องรักษามาตรฐานคุณภาพของบุคลากร 
  5. การรักษามาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ 
  6. บริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีกำไรสูงสุด
  7. ติดตามระบบการศึกษาของภาครัฐอยู่เสมอ 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,678
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,803
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด