บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
3.6K
2 นาที
17 กรกฎาคม 2560
ไม่รุ่งแต่ร่วง! 7 Startup ที่ไปไม่ถึงดวงดาวตามที่ต้องการ
 
 
ภาพจาก goo.gl/o3UqLr

การทำธุรกิจทุกคนต้องมีความฝันที่จะสร้างผลกำไรให้เป็นกอบเป็นกำและวาดหวังถึงการเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในอนาคต แต่ในความเป็นจริงก็มีหลายธุรกิจที่ไปไม่ถึงดวงดาวแม้บางธุรกิจจะสามารถเริ่มต้นได้อย่างคึกคักเป็นธุรกิจที่ดูดีมีอนาคตไกลแต่จู่ก็ได้ยินข่าวปิดกิจการกันลงไป
 
ยิ่งในยุคที่คำว่าสตาร์อัพกำลังเฟื่องฟูคนมีไอเดียใหม่แนวคิดใหม่ก็ขายฝันนี้ผ่านการระดมทุนซึ่งก็มีธุรกิจจำนวนมากที่ฝ่าฝันผ่านออกไปและกลายเป็นธุรกิจที่เติบโตแบบสุดโต่งแต่เมื่อเหรียญย่อมมีสองด้านนั้นก็หมายถึงว่าอีกด้านก็มีธุรกิจที่ไปไม่รอดเช่นกัน

โดย www.ThaiFranchiseCenter.com ได้รวบรวมเอา 7 สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นได้ดีแต่งานนี้ไปไม่ถึงฝั่งฝัน เอาไว้เป็นกรณีศึกษาให้สำหรับคนที่ต้องการลงทุนได้เข้าใจสัจธรรมการทำธุรกิจว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้อยู่รอดนั้นไม่ใช่แค่เงินทุนในการตั้งต้นเท่านั้น

1.Beepi (เริ่มก่อตั้งก่อตั้งปี 2013 – ปิดตัวกุมภาพันธ์ ปี /2017)


 
Beepi เว็บไซต์ที่รวบรวมผู้ซื้อและผู้ขายรถยนต์ใช้แล้ว ดูท่าจะไปได้สวยเพราะระดมทุนตั้งต้นได้ถึง 150 ล้านเหรียญ ส่วนมูลค่าเคยพุ่งไปถึง 560 ล้านเหรียญ จนทำให้ Fair.com และ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์อย่าง DGDG ขอซื้อกิจการ แต่ Beepi ก็ไม่ขาย สุดท้ายธุรกิจนี้ก็ไปไม่รอดเพราะหมดเงินดำเนินการต่อจึงต้องปิดกิจการลงไป
 
2. Quixey (เริ่มก่อตั้งปี 2009 – ปิดตัวกุมภาพันธ์ ปี 2017)

 
Quixey แอพพลิเคชั่นค้นหาข้อมูลสารพัดบนมือถือ ด้วยความเชื่อที่ว่าในยุคนี้ผู้คนค้นหาสิ่งต่างๆ ผ่านมือถือกันมากขึ้น สตาร์ทอัพรายนี้ระดมทุนตั้งต้นได้ 133 ล้านเหรียญ และมีมูลค่าพุ่งไปถึง 600 ล้านเหรียญในเวลาต่อมา แต่เมื่อดำเนินกิจการต่อไปเรื่อยๆ พบว่า ไม่มีรายได้ที่มั่นคง ส่วนในปี 2016 ก็มีการเปลี่ยนตัว CEO สุดท้ายไปไม่รอดเช่นกัน และได้ปิดกิจการเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
 
3. Yik Yak (เริ่มก่อตั้งปี 2013 – ปิดตัวเมษายน ปี 2017)

 
Yik Yak เป็นแอพพลิเคชั่นสังคมออนไลน์ชนิดหนึ่ง ความพิเศษอยู่ที่การแชทคุยกับคนที่ไม่รู้จักแบบไม่ต้องระบุตัวตน ตอนเริ่มต้นนั้นประสบความสำเร็จอย่างมาก ส่วนเรื่องเงินนั้นเคยระดมทุนได้ถึง 73 ล้านเหรียญ แถมยังมีมูลค่าสูงถึง 400 ล้านเหรียญมาแล้ว แต่ด้วยเหตุผลกลใดไม่อาจทราบแต่ที่รู้ๆคือธุรกิจนี้ปิดตัวเองไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้เอง

4. Maple (เริ่มก่อตั้งปี 2014 – ปิดตัวพฤษภาคม ปี 2017)

 
Maple บริการจัดส่งอาหารเดลิเวอรี่ในนิวยอร์คซิตี้ สตาร์ทอัพรายนี้ได้รับการสนับสนุนจากเชฟไฮเอนด์ชื่อดังคือ David Chang ระดมทุนตั้งต้นที่ 29 ล้านเหรียญ มูลค่าสูงสุดอยู่ที่ 115 ล้านเหรียญ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องการบริหารงานเกี่ยวกับใบโปรชัวร์คุกกี้ และก็กลายเป็นอีกธุรกิจดาวรุ่งแต่พุ่งไม่แรงและต้องปิดกิจการตัวเองลงไป

5. Sprig  (เริ่มก่อตั้งปี 2013 – ปิดตัวพฤษภาคม ปี 2017)

 
สตาร์ทอัพรายนี้ก็เป็นอีกหนึ่งในบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ และแน่นอนก็ล้มเหลวเช่นกัน Sprig ให้บริการในซานฟรานซิสโก แต่เน้นไปที่อาหารคุณภาพสูงและอาหารในท้องถิ่น และบอกเลยว่าจะส่งอาหารภายใน 15 นาที แต่สุดท้ายไปไม่ไหวเพราะรูปแบบธุรกิจไม่ยั่งยืน เพราะสู้กับคู่แข่งที่มีราคาต่ำกว่าอย่าง Seamless ไม่ได้ ส่วนการระดมทุนของรายนี้อยู่ที่ 57 ล้านเหรียญ มีมูลค่าสูงสุดถึง 110 ล้านเหรียญ Gagan Biyani ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Sprig ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่าธุรกิจส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ไม่ใช่งานง่ายและมีความซับซ้อนมากและมากเกินกว่าที่ Sprig จะสู้ได้

6. Hello (เริ่มก่อตั้งปี 2012 – ปิดตัวมิถุนายน ปี 2017)

 
Hello เป็นบริษัทที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเป็นเซ็นเซอร์เพื่อติดตามการนอน แรกๆ ดูเหมือนว่าจะไปได้สวย เพราะเปิดตัวอย่างมาดีสามารถระดมทุนได้ 40 ล้านเหรียญ มีมูลค่าสูงไปถึง 300 ล้านเหรียญแต่จากสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะเป็นดาวรุ่งแต่การดำเนินงานได้เพียง 5 ปีธุรกิจนี้ก็แปรสภาพเป็นหนึ่งในกิจการที่ต้องปิดตัวเองไป
 
7. Jawbone (เริ่มก่อตั้งปี 1997 – ปิดตัวกรกฎาคม ปี 2017)

 
Jawbone รายนี้ก่อตั้งมานานและเป็นที่รู้จักกันดี เรียกได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกในวงการอุปกรณ์สวมใส่สำหรับการออกกำลังกาย มากกว่านั้น สตาร์ทอัพรายนี้ยังพุ่งไปอยู่จุดที่เรียกว่าเป็น “สตาร์ทอัพยูนิคอร์น” เพราะได้ระดมทุน 1 พันล้านเหรียญ และมีมูลค่าสูงไปถึง 3 พันล้านเหรียญอีกด้วย แต่ธุรกิจนี้ก็มีอันต้องพับไปเช่นกันเนื่องจาก Hosain Rahman ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ ได้ไปเริ่มต้นบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า Jawbone Health Hub โดยจะเน้นการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไปพร้อมๆ กันเพื่อให้ทันกับยุคสมัยมากขึ้นด้วย
 
แน่นอนว่าหากเราสืบค้นกันให้ละเอียดจะพบว่ามีหลายสตาร์ทอัพที่พยายามเกิดแต่ก็ไม่เป็นผล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจมีอันต้องพังทลายไปถ้าตัดเรื่องเงินในการลงทุนออกไป ก็ยังเหลือปัจจัยใหญ่ๆทั้งวิสัยทัศน์ในการบริหาร การวางแผนการตลาด การพัฒนาสินค้าตามยุคสมัย การตั้งราคา แนวทางของผลิตภัณฑ์ ทุกอย่างล้วนแต่มีเหตุผลเกี่ยวเนื่องกับความอยู่รอดคนทำธุรกิจจึงควรศึกษาทิศทางเหล่านี้ให้รอบด้านเพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไป
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก goo.gl/VxvH7P
 
Articles Tags
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด