บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
4.1K
4 นาที
28 สิงหาคม 2560
แนะเคล็ดลับ! อยากซื้อ-อยากขายแฟรนไชส์ ต่างประเทศ โดย อ.เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์

 
ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือต่างประเทศ ต่างได้รับความนิยมในการลงทุนสูงมาก อย่างในไทยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีมูลค่าตลาดสูงถึง 2.5 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 10 ของมูลค่าการค้าปลีก-ส่งไทย และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ใครๆ ต่างก็อยากจะขยายธุรกิจในระบบแฟรนไชส์เพิ่มมากขึ้น แต่การที่จะให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างเกื้อหนุน ทั้งเจ้าของแฟรนไชส์ และผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์ 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ได้มีเคล็ดลับและคำแนะนำดีๆ ในการขยายแฟรนไชส์ในต่างประเทศ รวมถึงการซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศ จาก “คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ที่ปรึกษาด้านการวางแผนกลยุทธ์ การเงินธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ของเมืองไทย มาฝากผู้ประกอบการที่มีแฟรนไชส์ และต้องการขยายสาขาแฟรนไชส์ไปในต่างประเทศ และผู้ต้องการซื้อสิทธิแฟรนไชส์จากต่างประเทศด้วย

ความพร้อมของแฟรนไชส์ไทยบุกตลาดต่างประเทศ 


 
ปัจจุบันสถานการณ์แฟรนไชส์ในประเทศไทย สัดส่วนจำนวนแบรนด์แฟรนไชส์ของไทย จะมีมากกว่าแฟรนไชส์จากต่างประเทศ แต่หากมองภาพรวมแล้ว เม็ดเงินที่หมุนเวียนอยู่ในแฟรนไชส์จากต่างประเทศที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยจะมีมากกว่าของแฟรนไชส์ไทย เพราะส่วนใหญ่แฟรนไชส์จากต่างประเทศ ที่เข้ามาขยายสาขาในประเทศไทย ล้วนแต่เป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แบรนด์ สินค้าและบริการต่างๆ มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับความนิยมจากตลาดและผู้บริโภคทั่วโลก 
 
แบรนด์แฟรนไชส์ไทยเป็นที่รู้จักค่อนข้างจำกัดในตลาดต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวมาประเทศไทยมากขึ้นทุกๆ ปี แต่ธุรกิจแบรนด์ไทยที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว กลับไม่ได้ขยายในระบบแฟรนไชส์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลของความไม่พร้อมในงานหลังบ้าน หรือระบบการจัดการ  ไม่มีความรู้เรื่องการพัฒนาระบบแฟรนไชส์  ปัญหาเรื่องของทีมงาน และเงินทุนในการสร้าง Infrastructure หรือสิ่งอำนวยความสะดวกให้ระบบแฟรนไชส์เติบโตในต่างประเทศ และไม่เข้าใจกฎระเบียบ และช่องทางการเข้าตลาดต่างประเทศ
 
อย่างไรก็ดี จะมีแฟรนไชส์ไทยหลายแบรนด์ที่สามารถขยายได้ดีในต่างประเทศ เพราะได้ปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของประเทศต่างๆ แต่ยังรักษาตัวตน หรือ DNA ความเป็นแบรนด์ไทยได้  ซึ่งปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่ได้คู่ค้า  หรือแฟรนไชส์ซีที่สามารถพัฒนาแบรนด์แฟรนไชส์นั้นเติบโตอย่างมีเป้าหมายได้ 
 
คุณเศรษฐพงศ์ กล่าวว่า “ธุรกิจไทย มีศักยภาพมาก ทั้งคุณภาพของสินค้าและบริการเป็นที่ยอมรับจากประเทศในอาเซียนว่ามีมาตรฐานสูง รวมถึงรูปแบบ และดีไซน์มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์  อย่างไรก็ตาม ในแง่ของระบบแฟรนไชส์ แม้ว่าธุรกิจไทยจะมีระบบแฟรนไชส์มาหลายสิบปี ความเข้มแข็งของแฟรนไชส์ และความร่วมมือกันในกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ยังต้องพัฒนาอีกมาก

หากเทียบกับประเทศที่มีระบบแฟรนไชส์แข็งแรง เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น สมาชิกในสมาคมแฟรนไชส์ต่างๆ ส่งเสริมและสนับสนุนช่วยเหลือกัน สามารถนำพาสมาชิกไปหากลุ่มลูกค้าหรือนักลงทุนต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ”
 
การส่งเสริมจากภาครัฐ และการรวมพลังของภาคเอกชนจะช่วยให้แฟรนไชส์ไทยสามารถยืนในตลาดต่างประเทศได้อย่างสง่างาม 
โอกาสของร้านอาหารไทยและเครื่องดื่มในต่างแดน 



โดยธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย ที่มีโอกาสในการขยายในต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งร้านอาหารไทย รวมถึงอาหารไทยๆ ยังเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ แต่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยจะต้องพัฒนาธุรกิจของตัวเอง ยกระดับคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล สร้างเอกลักษณ์ จุดเด่น และสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง จะมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก 
 
สำหรับปัจจัยสู่ความสำเร็จของระบบแฟรนไชส์ไทยนั้น คุณเศรษฐพงศ์ เล่าให้ฟังว่ามี 5 ปัจจัย ก็คือ 1.แบรนด์ที่มีชื่อเสียง มีความนิยมในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  2.รูปแบบธุรกิจที่พิสูจน์แล้วว่าสร้างผลกำไรได้จริง และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน 
 
3.มีกำแพงป้องกันผู้แข่งขันรายใหม่ มีสูตรลับที่ไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้ 4.ง่ายต่อการควบคุม เช่น มีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน เข้าใจง่ายต่อการดำเนินการ และ 5.มีแผนกลยุทธ์ในการขยายสาขา และการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
 
ส่วนสิ่งที่ท้าทายในการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทย คือ ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยจะไม่มองการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ไม่กล้าเสี่ยงในการขยายสาขาออกไปเผชิญกับโลกภายนอก อาจเป็นเพราะมีข้อจำกัดในการสื่อสารภาษาต่างประเทศ รวมถึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบมาตรฐานแฟรนไชส์ให้เป็นสากล นอกจากนี้ให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างทีมงานบุคลากรค่อนข้างน้อย และมีข้อจำกัดในการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการให้แข่งขันกับแบรนด์ต่างชาติด้วย เป็นต้น 
 
เตรียมตัวขยายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศ



การขยายแฟรนไชส์ในต่างประเทศ นับว่าเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ คน เพราะถือเป็นการก้าวออกไปเล่นในตลาดที่กว้างขึ้น เพิ่มโอกาสการเติบโตที่มั่นคงให้กับธุรกิจแฟรนไชส์สูง ยิ่งหากระบบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศของคุณมีความแข็งแกร่ง มีหลายสาขา สินค้าและบริการเป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมในท้องตลาด เมื่อคุณนำธุรกิจแฟรนไชส์ก้าวออกไปต่างประเทศ ก็จะได้ผลตอบแทนจากการทำระบบแฟรนไชส์มากกว่าอยู่ในประเทศก็ได้ ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรอง
 
คุณเศรษฐพงศ์ เล่าว่า สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ที่ต้องการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองไปต่างประเทศ ควรศึกษาหาความรู้เรื่องการทำธุรกิจในต่างประเทศอย่างครบถ้วน เพราะมีกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ไม่เหมือนกัน หัวใจสำคัญต้อง มี Know-How หรือ วิธีการทำธุรกิจเฉพาะของตนเอง สร้างแบรนด์แฟรนไชส์ให้แข็งแกร่ง ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย จัดทำคู่มือปฏิบัติงานเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาหลักที่ใช้ในประเทศเป้าหมาย รวมถึงเอกสารการตลาดต้องแปลเป็นภาษาและแปลงอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสม
 
ขณะเดียวกัน ต้องสร้างระบบการจัดการแฟรนไชส์ให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล เหมือนกับกรณีแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศที่เข้ามาขยายสาขาในเมืองไทย ถ้าผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีความพร้อมในเรื่องเหล่านี้ ก็จะสามารถขยายสาขาในต่างประเทศได้ง่ายขึ้น

และไม่ต้องกลัวที่จะออกไปต่างประเทศ โดยเริ่มต้นจากการทดลองขยายสาขาของตัวเองให้แข็งแกร่งก่อน ไม่ต้องเร่งรีบในการขยายสาขาจนเกินไป ถ้าคุณไม่มีความพร้อมพอ ก็เหมือนเป็นการทำร้ายตัวเอง  
 

 
“แบรนด์แฟรนไชส์ไทยมีโอกาสก้าวออกไปเติบโตในต่างประเทศได้ แต่เราต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องของภาษาเป็นหลัก ต้องกล้าที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะคนไทยมักจะกลัวว่าจะถูก Copy สินค้า หากต้องการขยายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศจริงๆ ต้องไม่กลัว ถ้าเรามีระบบบริหารจัดการที่แข็งแกร่ง และไม่ใช่ว่าดีใจที่มีคนต่างประเทศสนใจอยากซื้อแฟรนไชส์ของเรา แล้วเราก็ตัดสินใจไปทันที

สุดท้ายก็ไปเสียท่าในต่างประเทศก็มีมากมาย  ดังนั้นควรสำรวจตลาดต่างประเทศก่อน โดยไปร่วมงานแสดงแฟรนไชส์ในประเทศเป้าหมาย ซึ่งจะไปในฐานะ Visitor หรือ จะไปเป็น Exhibitor ออกบูธในงานเลย เพื่อทดลองตลาด เก็บข้อมูล และถือโอกาสสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักด้วย” 
 
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทย ต้องวิจัยลูกค้าและตลาดต่างประเทศที่ต้องการจะไป เพราะจะได้รู้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่จะมาซื้อแฟรนไชส์ของเราเป็นใคร รู้ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ตรงนี้เราสามารถที่จะควบคุมได้   และควรมีผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาที่เข้าใจวิธีการขยายต่างประเทศเหล่านั้น และจะดีมากถ้าได้ผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นนั้นให้คำแนะนำ และสร้าง Network
 
อยากซื้อแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศ ทำอย่างไร 



คุณเศรษฐพงศ์ เล่าว่า นักลงทุนชาวไทยที่สนใจซื้อแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศ เพื่อเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนั้น จะต้องเคยมีประสบการณ์ในกิจการแฟรนไชส์นั้นๆ ไม่ใช่เพียงแค่มีเงินทุนแล้วอยากซื้อแฟรนไชส์ต่างประเทศนั้น ก็จะสามารถซื้อได้ เพราะบริษัทแฟรนไชส์ต่างประเทศจะไม่ขายแฟรนไชส์ให้กับใครง่ายๆ ต้องดูความพร้อมของผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์หลายๆ ด้าน 
“แฟรนไชส์ซอร์ต่างประเทศ

ส่วนใหญ่จะขายสิทธิแฟรนไชส์ในประเทศไทยในลักษณะมาสเตอร์แฟรนไชส์(Master Franchise) หรือ การพัฒนาพื้นที่ (Area Development Franchise) โดยแฟรนไชส์ซีในประเทศไทย จะต้องทำแผนธุรกิจส่งให้เจ้าของแฟรนไชส์ในต่างประเทศด้วย ได้แก่การวางแผนว่าจะขยายธุรกิจจำนวนเท่าไร กลุ่มลูกค้าเป็นใคร จัดตั้งสาขาในเมืองไหนบ้าง แนวทางและวิธีการขยายสาขา กลยุทธ์การตลาดและการขาย เป็นต้น
 
สำหรับการให้สิทธิมาสเตอร์แฟรนไชส์ หรือ Master Franchise สามารถ Sub-Franchisie หรือ ขายสิทธิแฟรนไชส์ต่อให้คนอื่นได้ การวิเคราะห์โอกาสและผลตอบแทนจากการลงทุนจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ”  
 
“จีโนซิส” ตัวแทนแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศ (Franchise Broker)



คุณเศรษฐพงศ์ เล่าว่า บริษัท จีโนซิส จำกัด (Gnosis Company Limited) ได้รับสิทธิเป็นตัวแทนแบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศ เพื่อจับคู่กับนักลงทุนหรือแฟรนไชส์ซีขยายสาขาแฟรนไชส์ในประเทศไทย และประเทศในภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  บริษัท จีโนซิส จำกัด ได้เป็นตัวแทนแบรนด์แฟรนไชส์ต่อไปนี้
  • แฟรนไชส์จากประเทศอเมริกา ได้แก่ Buffalo Wild Wings (ร้านอาหารยอดนิยมที่มีเมนูปีกไก่ทอดสูตรบัฟฟาโล และมีเบียร์จากทั่วโลก ด้วยการตกแต่งและออกแบบเหมือนอยู่ในสนามกีฬา มีจอทีวีดูแข่งขันกีฬาทุกประเภท เป็นที่แฮงเอ้าท์ใหม่สำหรับคอกีฬา) , Little Caesar Pizza (ร้านพิซซ่าที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยเมนูพิซซ่าพิเศษ แต่ราคาสุดคุ้ม), Texas Roadhouse (สเต็กเฮ้าส์ ร้านอาหารอเมริกัน สุดยอดเนื้อสเต็กและซี่โครง มี 450 ร้านใน 49 รัฐ ในประเทศสหรัฐอเมริกา และใน 5 ประเทศ)
  • แฟรนไชส์จากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ Awajishima Curry (ร้านข้าวแกงกระหรี่สูตรโอซาก้า), Gyozaya Chao Chao (ร้านเกี๊ยวซ่าสูตรเฉพาะ มีสาขาในญี่ปุ่น 40 สาขา และในต่างประเทศ 4 สาขา), CREO-RU Takoyaki and Okonomiyaki (ร้านทาโกยาม่า และโอโกโนมิยากิ ร้านเก่าแก่และยอดนิยมของเมืองโอซาก้า), Northshore Café Hanafru (ร้านอาหารสไตล์ตะวันตก โดดเด่นด้วยเมนูเพื่อสุขภาพ กำลังได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นญี่ปุ่น) เป็นต้น
  • แฟรนไชส์จากประเทศไต้หวัน ได้แก่ Presotea (ร้านชาชงสด เปิดมาแล้วกว่า 300สาขา ทั้งในไต้หวัน อินโดนีเซีย แคนาดา จีน และออสเตรเลีย)
  • แฟรนไชส์จากประเทศจีน ได้แก่ Element Fresh (ร้านอาหารสไตล์ตะวันตก เปิดมาแล้ว 15 ปี มีสาขาในประเทศจีน 40 สาขา บริการลูกค้าวันละ 15,000 คน)
  • แฟรนไชส์จากฮ่องกง ได้แก่ The Edge Learning Center (ศูนย์การเรียนรู้ การสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยดังในต่างประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการรับรองในฮ่องกงว่าเป็นอันดับหนึ่งในการเตรียมสอบ SAT) และ  The First Code Academy (สถาบันแห่งแรกที่สอนการโค้ดโปรแกรม สำหรับเด็กอายุ 4 ปี จนถึงอายุ 18 ปี เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีระบบ มีตรรกะ และมีความสามารถในการแก้ปัญหา ด้วยเทคโนโลยี) 
  • และแบรนด์แฟรนไชส์จากเกาหลีใต้ และสิงคโปร์
นอกจากนี้ บริษัท จีโนซิส จำกัด ได้เป็นตัวแทนแบรนด์แฟรนไชส์ไทยไปเปิดตลาดในเวทีโลก ด้วยพันธมิตรทางการค้าในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น
 

 
“ที่ผ่านมานักลงทุนชาวไทยที่สนใจจะซื้อแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศ เพราะชื่อเสียง แบรนด์เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก มีระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจน ได้ผลกำไรอย่างมั่นคง นักลงทุนจะติดต่อมาที่เรา ให้ไปนำเสนอข้อมูลรายละเอียด การสนับสนุนแฟรนไชส์ และข้อมูลการลงทุนและผลตอบแทน โดยส่วนมากเราจะให้คำปรึกษากับนักลงทุนเพิ่มเติมด้วยว่า ธุรกิจแฟรนไชส์แบบไหนจะเหมาะสมกับพวกเขา และโอกาสในการเติบโต” 
 
สำหรับนักลงทุนชาวไทยที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ต่างประเทศ สามารถติดต่อบริษัท จีโนซิส จำกัดได้ และเร็วๆ นี้บริษัทจีโนซิสฯ ได้จัดทริปพิเศษ (Exclusive Trip) สำหรับนักลงทุนหรือนักธุรกิจไทย เดินทางไปสำรวจธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจบริการ ในเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 25-27 กันยายน พ.ศ. 2560 นี้ 
 
นอกจากนี้ บริษัท จีโนซิส จำกัด ได้ร่วมกับพันธมิตรการค้าที่ประเทศอินโดนีเซีย เชิญชวนแฟรนไชส์ไทย และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่ม ไปร่วมงานแสดงสินค้า ออกบูธ และจับคู่ธุรกิจในงาน Food & Beverage Franchise Expo 2017 ที่กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2560  ต้องการข้อมูลสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 089- 936-1775
 
ต้องยอมรับว่า การมีบริษัทที่ปรึกษาด้านแฟรนไชส์ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับตลาดต่างประเทศให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำ จะสามารถเข้าไปเจาะตลาดได้ง่ายและเร็วขึ้น

ซึ่งบริษัท จีโนซิส จำกัด (www.gnosisadvisory.com) เป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัท และสมาคมแฟรนไชส์ต่างประเทศหลายแห่ง ที่จะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ติดต่อสื่อสาร เจรจาธุรกิจให้ตรงกับกลุ่มนักธุรกิจเป้าหมาย ที่สนใจซื้อขายธุรกิจแฟรนไชส์ระหว่างประเทศไทย และกับต่างประเทศ    
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
มัดรวม 70 แฟรนไชส์ โกยรายได้ก่อนใครต้อนรับปี 68
2,065
5 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนธันวาคม 2567
733
สรุปภาพรวมแฟรนไชส์ไทย ไปต่อหรือพอแค่นี้ ปี 68
634
8 ขั้นตอน สร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีระบบ
622
ทำไม ต้องเตรียมเงินถึง 15 ล้านบาท เพื่อเปิดแฟรนไ..
551
มัดรวม 5 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ บุกไทย ไปต่อ..
530
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด