บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
8.9K
3 นาที
16 มกราคม 2554

เจาะลึก โอกาสธุรกิจ 2011 (ภาค2) 


ธุรกิจความงาม แข่งกันที่คุณภาพเชื่อถือได้

สภาพการแข่งขันของธุรกิจเครื่องสำอาง มีสูงอยู่แล้ว  แต่ก็ยังเป็นธุรกิจที่มีตลาดกว้าง ที่ยังมีโอกาสสามารถแทรกตัวขึ้นมาได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการด้านอาหารเสริมความงาม ยังเป็นธุรกิจที่รับความนิยมสูงอยู่ 

คุณพัชรี เลิศวิลัยวิทยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีมา แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทฯ รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์บำรุงผิว สำหรับผู้ที่มีความสนใจที่จะทำการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวภายใต้แบรนด์ของตนเอง กล่าวถึงโอกาสของธุรกิจความงามในปีหน้าว่า 

“นับว่าธุรกิจความงามยังมีโอกาสไม่ว่าจะเป็นตลาดภายในประเทศเองที่มีความต้องการและการยอมรับในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น รวมถึงตลาดต่างประเทศก็ยังมีช่องทางและโอกาสอีกมากมาย แต่ผู้ที่มีความได้เปรียบในธุรกิจความงาม คือ ผู้ที่ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ   มีเอกลักษณ์ของตราสินค้าที่โดดเด่นไม่ซ้ำใคร รวมถึงมีนำนวัตกรรมใหม่ของวัตถุดิบ สินค้า และบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์”
 

 

“ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจด้านความงามควรมองหาโอกาสสร้างตราสินค้าของตน ด้วยการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพได้ระดับมาตรฐาน และได้รับการรับรองจากหน่วยงานรัฐ หรือ หน่วยงานเอกชนที่น่าเชื่อถือ”

“สำหรับผู้ที่สนใจต้องการเป็นเถ้าแก่ใหม่ หรือ เจ้าของธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและอาหารเสริม ขั้นแรกคงต้องพอมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก่อน เนื่องจากเกือบ 100% ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ มักจะต้องสามารถตอบกลุ่มลูกค้าได้ว่าผลิตภัณฑ์ของตนนั้นมีจุดเด่น/ข้อดีอย่างไร

ขั้นตอนต่อมาคือ การเลือกหาผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ คงไม่มีใครอยากจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีที่มาที่ไป ไม่สามารถตรวจสอบอะไรได้เลยว่ามีส่วนประกอบใดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่จะใช้หรือขายบ้าง ยิ่งถ้าเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวที่ใช้ทาลงบนหน้า หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ต้องกินเข้าไปแล้ว หากเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อใช้แล้วมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นกับลูกค้าเข้า คนที่ต้องรับผิดชอบก็คือ เจ้าของผลิตภัณฑ์นั่นเอง ไม่สามารถเรียกร้องเอาความรับผิดชอบใดๆ จากผู้ผลิตที่ไม่มีที่มาที่ไปได้

ขั้นตอนที่สาม คือ การเลือกเฟ้นผลิตภัณฑ์ที่จะทำการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นต้องปราศจากอาการระคายเคือง ใช้แล้วรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าจะมีสารประกอบอยู่จำนวนไม่มากก็ตาม เพราะบางครั้งผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลากหลาย ก็ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นจะมีคุณสมบัติดีมากไปซะทีเดียว

ขั้นตอนที่สี่ คือ  ออกแบบบรรจุภัณฑ์หลังจากทำการขึ้นทะเบียนเครื่องสำอางควบคุมกับทางกองควบคุมเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของตนนั้น มีความโดดเด่นตรงกับแนวคิดในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตน

และขั้นตอนสุดท้าย คือ การนำสินค้าของตนจัดจำหน่ายสู่กลุ่มลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ ที่ได้ทำการเลือกไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องวางแผนและควบคุมดูแล”



ผู้ค้าปลีกต้องการสินค้านวตกรรมใหม่และทนทาน

คุณสุพจน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การขายและการตลาด บริษัท ซันโย ประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำของโลก อาทิเช่น  เครื่องเย็น, เครื่องมือแพทย์,แผงผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ และ แบตเตอรี่ที่สามารถนำกลับมาชาร์จพลังงานใหม่ได้ถึง 1,000 รอบ ได้กล่าวถึง ตลาดสินค้าเครื่องเย็นว่า “ในปี 2554 ที่จะถึงนี้ ตลาดสินค้าเครื่องเย็นยังมีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง

แต่ภาวะการแข่งขันจะมีสูงขึ้นในปีหน้าเช่นกัน  เนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหม่ๆ ส่งสินค้าเข้าแข่งขันในตลาด โอกาสจะเป็นของผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง ในราคาสมเหตุสมผล และมีตราสินค้าที่ได้รับความเชื่อถือสูง”

 

“ดั้งนั้น ทางบริษัท มีแผนจะนำสินค้าใหม่ ออกสู่ท้องตลาด เช่น ตู้แช่ไวน์ดรูปลักษณ์ใหม่ เตาไมโครเวฟเชิงพาณิชย์ที่มีไฟส่องสว่างแบบ LED ช่วยให้พลังงาน รวมถึงตู้แช่เย็นรูปลักษณ์ใหม่ ดีไซนด์ทันสมัย และสามารถถอดเปลี่ยนเครื่องทำความเย็น เพื่อนำกลับไปซ่อมบำรุงโดยไม่ต้องยกตู้ไปทั้งใบ  เราเข้าร่วมงานโอกาสธุรกิจ 2011 เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ค้าปลีก มินิมาร์ท ร้านไอศกรีม ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท เป็นต้น  เพราะคาดว่าผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่ จะเป็นผู้ประกอบการ หรือบุคคลทั่วไป ที่มีความสนใจจะเริ่มธุรกิจของตนเอง และต้องการอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีความทนทาน ประหยัด และเชื่อถือได้ในราคาที่สมเหตุ สำหรับใช้ในกิจการของตน ซึ่งสินค้าของซันโยจะสามารถตอบสนองความต้องการส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี”

ร้านกาแฟ ต้องพัฒนาในระดับสากล
 
ธุรกิจกาแฟ บริษัท บอนกาแฟ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนไทย-สวิส ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นเวลากว่า 19 ปีที่ดำเนินธุรกิจกาแฟครบวงจร หรือ“One-Stop Coffee Solution” ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตกาแฟไทยในระดับมาตราฐานยุโรป ผู้นำเข้าเครื่องชงกาแฟ และผลิตภัณฑ์ตกแต่งเครื่องดื่มจากประเทศชั้นนำต่างๆ การให้บริการหลังการขายจากสาขาที่ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมไปถึงโรงเรียนสอนการทำกาแฟ  

คุณอุษาพรรณ อินทีวรวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบอนกาแฟ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ปีที่กำลังจะหมดไปนี้ในทุกธุรกิจมีการแข่งขันที่สูงมาก ผลิตภัณฑ์ในตลาดมีให้เลือกอย่างมากมายจากทั้งภายใน ประเทศ และการนำเข้าจากต่างประเทศ ผู้ประกอบการต่างแข่งขันกันสร้างคุณภาพสินค้าของตนเองให้อยู่ระดับสากล  ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีกับทางผู้บริโภค และตัวลูกค้าเองก็มีการศึกษาหาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนทำการตัดสินใจ ทำให้ผู้ประกอบการต้องทำการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ในปีหน้าที่กำลังจะมาถึงนี้การแข่งขันในตลาดระหว่างผู้ประกอบการย่อมเข้มข้น โดยเฉพาะธุรกิจร้านกาแฟ ทำให้ต่างคนต่างหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อมัดใจลูกค้าให้ได้”

ดังนั้น “บอนกาแฟ จึงเข้าร่วม งานโอกาสธุรกิจ 2011  เพราะทางบริษัทอยากนำเสนอแนวทางการทำธุรกิจกาแฟแบบใหม่ๆที่แตกต่างไปจากเดิม นั่นคือ รถกาแฟเคลื่อนที่ ซึ่งจะเป็นการดำเนินธุรกิจแบบแฟรนไชส์บอนกาแฟ ข้อได้เปรียบสำหรับรถกาแฟเคลื่อนที่ คือ การขับเคลื่อนไปในที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกและไร้ขีดจำกัดเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ขาย พร้อมทั้งได้รับการดูแลจากบอนกาแฟ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ได้คุณภาพ การอบรมเกี่ยวกับสูตร และวิธีการทำกาแฟจากผู้เชี่ยวชาญ”
 

 

“ตลอด 19 ปีที่ผ่านมาบอนกาแฟได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และไม่หยุดนิ่ง ทั้งในสินค้าและบริการ โดยคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า  และมีการเปิดช่องทางการขายทางอินเตอร์เน็ท หรือ On-line Coffee Storeเป็นต้น โดยมุ่งไปที่การรองรับความต้องการของลูกค้าปัจจุบัน และขยายไปยังลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน”

งานโอกาสธุรกิจ แฟรนไชส์ 2011 ซึ่งปีนี้นับว่าเป็นครั้งแรก และงานแรก ที่จะรวบรวมความหลากหลายในการทำธุรกิจ ที่ต่างไปจากครั้งก่อนๆ คือมีธุรกิจในรูปแบบ ของแฟรนไชส์ ไลเซ่นส์ อุปกรณ์อาชีพ สินค้า-บริการสำหรับธุรกิจค้าปลีก กิจการรับจ้างผลิตสินค้า และมีสินค้าจำหน่ายส่ง รวมทั้งกิจการที่ต้องการหาตัวแทนจำหน่าย รวมทั้งธุรกิจเกษตร

นอกจากนี้ ยังรวบรวบสถาบันอาชีพมาเปิดสอนธุรกิจที่ประชาชนให้ความสนใจมาเปิดสอนในงานด้วย โดยจุดมุ่งหมายของงาน เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในช่องทางใหม่ๆ ในการเติบโตให้กับบริษัทที่เข้าร่วมแสดงบูท  รวมทั้งตอบสนองความต้องการทำธุรกิจของประชาชนให้ตรงจุด ดังนั้นงานโอกาสธุรกิจ 2011 วันที่ 25-27 กพ นี้ ที่ฮอลล์ 3 อิมแพคเมืองทองธานี  จึงนับว่าจะมีโอกาส ก่อให้เกิดการซื้อ-ขายธุรกิจ ในงานที่คาดว่าจะมีเงินสะพัดเกิดขึ้นในงานกว่าไม่ต่ำกว่า 800 ล้านบาท  และจะเกิดผู้ประกอบการใหม่และกิจการใหม่ ไม่ต่ำกว่า 2,000 ราย

อ้างอิงจาก โอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,746
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,867
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,917
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,254
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด