บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
3.3K
3 นาที
1 ธันวาคม 2560
8 ข้อทำแฟรนไชส์ ควรมีที่ปรึกษาแฟรนไชส์ (Franchise Consult) 
 
 
ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์หลายราย อาจเข้าใจผิดว่าการทำแฟรนไชส์ ไม่จำเป็นต้องใช้บริการที่ปรึกษาแฟรนไชส์ เพราะมองว่าค่าตัวและค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาแฟรนไชส์ค่อนข้างสูง แม้ว่าที่ปรึกษาแฟรนไชส์จะมีบทความสำคัญ และส่วนช่วยให้ธุรกิจแฟรนไชส์สามารถดำเนินงาน และประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น 

จากจุดนี้ จึงทำให้หลายแบรนด์แฟรนไชส์มองข้ามไป และส่วนใหญ่มุ่งที่จะลงมือทำธุรกิจตามลำพัง สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการทำแฟรนไชส์ หากมีความคิดเช่นนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะที่ปรึกษาแฟรนไชส์มีความสำคัญไม่น้อย ต่อความอยู่รอดของธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ มิเช่นนั้น เหตุใดแบรนด์แฟรนไชส์ใหญ่ๆ จะลงทุนจ้างที่ปรึกษาแฟรนไชส์มาทำไม 

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะมาเล่าให้เจ้าของธุรกิจที่ต้องการทำแฟรนไชส์ฟังว่า ทำไมหรือเหตุผลที่ธุรกิจต้องการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ จะต้องจ้างหรือมีที่ปรึกษาแฟรนไชส์ ให้เข้ามาให้ความรู้ ตลอดจนการวางระบบแฟรนไชส์ และให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจ ไปจนกระทั่งสามารถขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่นได้
  
 
1. ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ ช่วยวางแผนการดำเนินธุรกิจ ก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ 

เช่น แนะนำการกำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า ตั้งชื่อกิจการ (Brand) การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI) การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่งเป็นที่รู้จักผู้บริโภค

การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์ 

การวางแผนและกำหนดเป้าหมายขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
 
 
2. ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ ช่วยวางระบบปฏิบัติงานให้กับแฟรนไชส์ซี  
 
เช่น ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ระบบการเงิน การบัญชี งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์ ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ และกระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
 
 
 
3. ที่ปรึกษาแฟรนไชสื ช่วยวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจ ก่อนทำเป็นแฟรนไชส์

เช่น การวิเคราะห์เกี่ยวกับการดำเนินงานธุรกิจ ว่าเปิดมานานมากน้อยแค่ไหน ต้องมากกว่า 1 สาขา ก่อนทำเป็นแฟรนไชส์ วิเคราะห์แบรนด์ธุรกิจว่ามีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้างหรือไม่ สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด ต้องเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้

วางระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
 
 
 
4. ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ ช่วยวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

เช่น กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย การสร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ 
 
การสร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์) 
 
รวมถึงการช่วยเหลือการวางโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้ ตลอดจนให้คำปรึกษาด้านของเงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
 
 
 
5. ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ ช่วยวางแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ 

เช่น แผนการขยายแฟรนไชส์ ระบบการบริหารเงิน การกำหนดค่าธรรมเนียมต่างๆ การนำเสนอธุรกิจแก่แฟรนไชส์ซี การจดทะเบียนแฟรนไชส์ เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์ ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์  และการจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า 
 
 
6. ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ ช่วยวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

เช่น การวางแผนขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง การวางแผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร 

โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น 
 
 
7. ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ ช่วยในกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

เช่น การวิเคราะห์และรวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน) การวิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง การพิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์ 

การเก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า วิเคราะห์ผลประกอบการ การดำเนินงานของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์ และการจัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ 
 
 
8. ที่ปรึกษาแฟรนไชส์ ช่วยวางแผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

เช่น การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์แก่นักลงทุน กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ ขั้นตอนและกระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดงานสัมมนาการขายธุรกิจแฟรนไชส์ 

การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์ รวมถึงกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี 

ได้เห็นกันแล้วว่า ทำไมผู้ประกอบการธุรกิจ ที่ต้องการทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ จะต้องจ้างที่ปรึกษาที่มีความรู้ด้านแฟรนไชส์มาช่วยเหลือ เพราะการสร้างระบบแฟรนไชส์ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะทำกันเดือน 2 เดือน ดังนั้น ที่ปรึกษาแฟรนไชส์จึงมีความสำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ครับ 
 
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ นักลงทุนท่านใด สนใจขอรับคำปรึกษาธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์ (Consulting for SMEs and Franchise) ทางเว็บไซต์ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้รวบรวมวิทยากร อาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาวิชา พร้อมให้บริการเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการ SMEs และแฟรนไชส์ 

รวมถึงเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ Start Up ที่ต้องการวางแผนธุรกิจ สร้างภาพลักษณ์ของ Brand บริหารจัดการโครงสร้างองค์กร พร้อมให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ปูพื้นฐานทางธุรกิจให้มั่นคง เติบโตและสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีใช้ความเชี่ยวชาญจากบุคลากรของเรา เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสำเร็จของท่าน 
  • สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187 ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy) หรือ LINE id: @thaifranchise
  • ผู้ประกอบการสนใจรับคำปรึกษาธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์ https://goo.gl/MvtmXf 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://goo.gl/nhNPu 
สนใจซื้อแฟรนไชส์ https://goo.gl/5LE2me  


ท่านใดสนใจอยากรับปรึกษาแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,673
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,785
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,911
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด