บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
4.3K
3 นาที
9 มกราคม 2561
เจาะลึก “โอกาสโตของแฟรนไชส์รายเล็ก!” ปี 61 โดยอ.สิทธิชัย ทรงอธิกมาศ กูรูแฟรนไชส์ไทย

 

เราต้องยอมรับว่าตลอดช่วง 2-3 ปีมานี้ ประเทศไทยถือว่าอยู่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จากปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยภายนอกประเทศ ประกอบด้วยการเมือง ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย ความมั่นใจของนักลงทุน การแข่งขันของสินค้าส่งออก ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของไทยด้วยกันทั้งสิ้น  

ระบบแฟรนไชส์ ถือเป็นกลยุทธ์ธุรกิจและฟันเฟืองหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้น ภาพที่ปรากฏทั้งชะลอการลงทุน เลือกลงทุนธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยง และการเล็งหาโอกาสธุรกิจใหม่ๆ 

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภาพที่เกิดขึ้นกับเจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ บางรายสามารถอยู่รอดได้ แต่บางรายไม่สามารถประคับประคองอยู่ได้ และบางรายตื่นตระหนกกับสิ่งที่เกิดขึ้น คว้าธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยขาดการไตร่ตรองที่ดี


วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ “อาจารย์สิทธิชัย ทรงอธิกมาศ” ผู้สอนวิชา Franchise Management มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแฟรนไชส์เมืองไทย ถึงสถานการณ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงความท้าทายของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่หลายคนคาดว่า เริ่มจะสดใสมากขึ้นปี 2561

ฟังธง! ศก.ปี 61 ฟื้นตัว SMEs ควรปรับตัวสู่ออนไลน์  


อาจารย์สิทธิชัย เกริ่นนำก่อนว่า สภาพเศรษฐกิจของไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตโตค่อนข้างต่ำ โดยมีปัจจัยด้านการเมือง การส่งออกลดลง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ปัญหาแรงงาน ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนของไทยปรับตัวเพิ่มสูงมาก (เศรษฐกิจฐานล่างไม่ดี) ส่งผลให้การเติบโตของธุรกิจ SMEs ค่อนข้างต่ำ แม้ว่าภาครัฐจะกว่านเม็ดเงินลงไปขับเคลื่อน 

แต่กระนั้น อาจารย์สิทธิชัย ได้มองว่าเศรษฐกิจไทยปี 2561 น่าจะเริ่มปรับตัวและฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง พูดง่ายๆ คือ เศรษฐกิจของไทยเริ่มที่จะปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ คาดว่าตลาดส่งออกจะมีอัตราการเติบโตสูงขึ้น เห็นได้จากไตรมาสที่ 2-3 ของปี 2560 มีการเติบโตประมาณ 9-10% จึงทำให้การส่งออกปี 2561 เติบโตสูงตามความต้องการของต่างประเทศ


เมื่อภาคการส่งออกดีขึ้น ผลดีที่ตามมาก็คือ ธุรกิจ SMEs ของไทยจะมีโอกาสดีขึ้น ผู้บริโภคเริ่มปรับตัวได้ ธุรกิจต่างๆ ก็จะมีโอกาสมากขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับภาระของ SMEs แต่ละรายว่า จะมีหนี้สินมากขนาดไหน

ถ้า SMEs รายใดมีหนี้สินมาก ก็จะปรับตัวได้ยาก และถ้า SMEs ที่จะมีทิศทางการเติบโตได้นั้น ส่วนใหญ่จะเป็น SMEs ที่สามารถปรับตัวเข้าสู่ออนไลน์ได้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขวางมากขึ้น หรือพัฒนาไปอีกขั้น คือ การนำ QR Code มาใช้ด้วย 

ปี 61 โอกาสโตของแฟรนไชส์รายเล็ก  


อาจารย์สิทธิชัย กล่าวต่อว่า SMEs ถือเป็นฐานรากของธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบอีกระดับ โดยเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ถ้าอยากให้ธุรกิจของตัวเองเติบโต ก็จะต้องรู้จักนำเครื่องและการทำตลาดออนไลน์เข้ามาช่วย เพื่อจะเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มลูกค้า ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ไปลงทุนได้กว้างขวางและรวดเร็ว ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น  

เห็นได้ว่าช่วง 2-3 ปีมานี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ระดับล่าง มีการเติบโตค่อนข้างต่ำ แต่ปี 2561 คาดว่าแฟรนไชส์รายเล็กๆ เงินลงทุนหลักพันถึงหมื่นบาทต้นๆ จะมีการเติบโตได้มากกว่าปี 2560 คิดเป็นการเติบโต 10% ขึ้นไป 

เพราะที่ผ่านมาตลาดแฟรนไชส์โดยรวมของไทยเติบโตต่ำกว่า 10% โดยมีปัจจัยมาจาก SMEs ทั่วไปมีการเติบโตลดลง แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นได้ ถ้าหากมีการปรับตัวกันไปทำการตลาดออนไลน์ร่วมด้วย 

 

“ปี 2561 ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยสามารถเติบโตได้ถึง 10-15% เพราะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น รัฐบาลก็จะมีการเลือกตั้ง มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน นักลงทุน รวมถึงผู้ประกอบการ มีความเชื่อมั่นมากขึ้น ผมมองว่าปี 2561 เศรษฐกิจไทยน่าจะโต 4% ถือเป็นตัวเลขที่ดีขั้นต้น” อาจารย์สิทธิชัย กล่าวย้ำ 

อาจารย์สิทธิชัย ยังมองด้วยว่า เศรษฐกิจของไทยจะดีมากๆ ในช่วงปี 2562-2563 จะส่งผลให้ธุรกิจ SMEs ไม่มีหนี้สินเพิ่มขึ้น บางรายจะค่อยๆ ปรับตัวได้ตามสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย

แต่การทำธุรกิจ SMEs จะยากกว่าการทำแฟรนไชส์ เพราะระบบแฟรนไชส์จะมีคนช่วยทำงาน มีคนมาซื้อแฟรนไชส์แทนที่จะขยายสาขาด้วยเงินทุนตัวเอง เพราะปัจจุบันถ้าคนอยากเป็นเจ้ากิจการ มีเงินเพียงไม่กี่หมื่นบาท ก็สามารถซื้อแฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบมาลงทุนได้ 

กลยุทธ์แฟรนไชส์ซอร์ 


อาจารย์สิทธิชัย บอกว่า การปรับตัวของแฟรนไชส์ซอร์ในปี 2561 ในด้านการขยายสาขานั้น แฟรนไชส์ซอร์ต้องพัฒนาเน็ตเวิร์คให้กว้าง เพื่อการขยายสาขาของตัวเองให้ได้มากขึ้น แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องระบบการควบคุมงาน ที่ต้องเป็นมาตรฐาน เพื่อให้สามารถรองรับการขยายสาขาที่จะมีมากขึ้น ที่สำคัญแบรนด์จะต้องเป็นที่ยอมรับของนักลงทุน 

ระบบการผลิตต้องรักษาคุณภาพมาตรฐาน ในขณะที่ปริมาณการผลิตจะต้องมีมากขึ้น ต้องใช้ระบบการวางแผน ระบบการคิดเข้ามาช่วยในการบริหารธุรกิจ ต้องวางแผนการเติบโต ว่าในแต่ละปีจะต้องขยายสาขาได้จำนวนกี่สาขา เพื่อที่จะได้เตรียมการผลิตไว้รองรับตลาดและความต้องการของผู้บริโภค 
 

การบริหาร ต้องมีการสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง รู้จักการวางแผน เตรียมทรัพยากรในการขยายของธุรกิจแฟรนไชส์ ขณะที่ด้านโลจิสติกส์และซัพลายเชน ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง ต้องมีการวางแผนเพิ่มขึ้น ถ้าแฟรนไชส์วอร์มีระบบที่ดี ก็จะทำให้การขยายสาขา และขายแฟรนไชส์ให้แก่นักลงทุนได้ง่ายขึ้น 

เรียกได้ว่า การผลิตพร้อม คนทำงานพร้อม การขนส่งพร้อม ก็จะทำให้สามารถรองรับการขยายสาขาได้เป็นอย่างดีในปี 61 

แฟรนไชส์อาหาร-เครื่องดื่ม โตต่อเนื่อง


อาจารย์สิทธิชัย มองว่าในปี 2561 ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ยังเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจและนิยมลงทุนของคนที่อยากเป็นเจ้าของกิจการมากที่สุด สังเกตได้ว่าทุกๆ ปี จะมีแฟรนไชส์หน้าใหม่เกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะแฟรนไชส์ระดับจิ๋ว (ไมโครแฟรนไชส์) เงินลงทุนหลักพันถึงหมื่นบาท เกิดขึ้นจำนวนมาก

ไมโครแฟรนไชส์จะสามารถขยายตัวได้ค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม เมื่อเศรษฐกิจดี ผู้บริโภคออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ก็จะส่งผลให้แฟรนไชส์กลุ่มดังกล่าวขยายตัวได้เร็วขึ้น เจ้าของแฟรนไชส์ก็ขายแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น 

แต่ทั้งนี้ เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องปรับตัวเข้าสู่ออนไลน์มากขึ้น เพราะจะทำให้คนรู้จักแบรนด์แฟรนไชส์ได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเป็นแฟรนไชส์ที่ใช้เงินลงทุนน้อย ก็จะมีส่วนช่วยให้คนมาซื้อแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น เพราะลงทุนน้อย คืนทุนเร็ว 


สำหรับแฟรนไชส์ที่ใช้เงินลงทุนหลักหมื่นถึงหลักแสนบาทต้นๆ กลุ่มนี้ถือว่ามีแบรนด์แข็งแกร่ง กลุ่มนี้จะก็จะมีการขยายตัวค่อนข้างทรงตัว เพราะมีการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพมากขึ้น

ทำเลส่วนใหญ่จะอยู่ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ เป็นแฟรนไชส์ที่จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่มีเงินทุนพอสมควร นักลงทุนคนกลุ่มนี้ค่อนข้างอยากประสบความสำเร็จในการซื้อแฟรนไชส์มาลงทุน 


ขณะเดียวกัน แนวโน้มการลงทุนของแฟรนไชซี ก็จะมีความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อควบคุมความเสี่ยง เช่น หันไปลงทุนกับธุรกิจที่มีเม็ดเงินลงทุนน้อยไว้ก่อน ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ป้องกันตนเองแต่ไม่ได้โอกาส 

สรุปก็คือ ปี 2561 เศรษฐกิจของไทยจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น จะส่งผลให้ตลาดแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีความคึกคัก เห็นแนวโน้มการเติบโตได้ดีกว่าปี 2560 อาจกล่าวได้ว่าเป็นปีทองของแฟรนไชส์ไทย

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
อ่านจดหมายข่าวอื่นๆ www.thaifranchisecenter.com/newsletter/index.php
สนใจซื้อแฟรนไชส์ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,071
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,514
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,637
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,586
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
839
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด