บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.7K
2 นาที
22 กุมภาพันธ์ 2561
ระบบแฟรนไชส์ กับ ความเชื่อมั่น กรณีศึกษา KFC อังกฤษปิดร้าน


 
ได้เห็นข่าว KFC แฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไก่ทอดชื่อดังจากสหรัฐฯ ประกาศปิดร้านสาขากว่า 900 แห่งทั่วอังกฤษเป็นการชั่วคราว เพราะเผชิญวิกฤตขาดไก่ ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการปรุงอาหาร 
 
โดยเบื้องลึกเบื้องหลังเกิดขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว KFC ของอังกฤษ ได้เปลี่ยนบริษัทขนส่งวัตถุดิบใหม่ จาก Bidvest Logistics เป็น DHL ซึ่งรับหน้าที่ดูแลการขนส่งวัตถุดิบไก่ ให้กับร้านแฟรนไชส์มากถึงร้อยละ 80 ทั่วประเทศอังกฤษ

 
ภาพจาก goo.gl/rM2SYY
 
อันที่จริงในระบบของธุรกิจ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าเรื่องปัญหาเหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าหากไม่มีการบริหารจัดการระบบต่างๆ ที่ดีพอ โดยเฉพาะเรื่องของการจัดส่งวัตถุดิบ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตสินค้า รองรับความต้องการของลูกค้า ถ้าธุรกิจไม่สินค้าส่งให้ลูกค้า ก็ถือว่าขาดทุน 
 
ยิ่งเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยแล้ว เรื่องการบริหารจัดการระบบแฟรนไชส์ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เมื่อไม่มีวัตถุดิบในการผลิต ก็กระทบต่อสาขาแฟรนไชส์ทั้งระบบ เพราะบริษัทแม่ หรือเจ้าของแฟรนไชส์ มีหน้าที่ในการจัดส่งวัตถุดิบให้แก่ร้านสาขาแฟรนไชส์ทุกแห่ง ถ้าเจ้าของแฟรนไชส์จัดส่งวัตถุดิบให้แฟรนไชส์ซีไม่ทัน หรือส่งบ้าง ไม่ส่งบ้าง ถือว่าเสียหายหนักมาก เพราะอย่าลืมว่ายอดขายแต่ละสาขาเป็นหลักแสน หลักล้านต่อวัน ยิ่งเป็น KFC ด้วยแล้วเสียหายแสนสาหัส   
 
แต่ถ้าเปรียบเทียบระบบแฟรนไชส์ในเมืองไทย หากเจ้าของแฟรนไชส์ไม่สามารถจัดส่งวัตถุดิบให้แก่ร้านสาขาแฟรนไชส์ได้ ก็ถือว่าระบบแฟรนไชส์มีปัญหาแล้ว อาจถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล ที่สำคัญส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของลูกค้าที่ซื้อสินค้า รวมถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจ เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องการให้เจ้าของแฟรนไชส์ดูแลและช่วยเหลือพวกเขาตลอดอายุสัญญา 

 
ภาพจาก goo.gl/rM2SYY
 
เมื่อลูกค้าและผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่เชื่อมั่นในแบรนด์แฟรนไชส์ของคุณแล้ว อาจถึงขั้นไม่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการไปเลย เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องการแบรนด์แฟรนไชส์ที่สามารถให้การดูแล และสามารถจัดส่งวัตถุดิบหรือสินค้าให้กับพวกเขาได้ทุกๆ วัน 
 
ถ้าแฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถจัดส่งวัตถุดิบได้ บางครั้งแฟรนไชส์ซีอาจไม่จ่ายค่า Royalty Fee ให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ก็ได้ หรืออาจต้องถึงขั้นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากแฟรนไชส์ซอร์ ดังนั้น ระบบแฟรนไชส์จะเติบโต ขยายสาขาแฟรนไชส์ได้ อย่างมั่นคง ก็ต้องขึ้นอยู่กับความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์

ระบบจัดหา จัดส่งวัตถุดิบ กุญแจไขสู่ความสำเร็จของแฟรนไชส์  
 
หากต้องการบริการจัดการระบบแฟรนไชส์ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ด้านอาหาร การกินต่างๆ ให้เติบโต เจ้าของแฟรนไชส์ให้ความสำคัญในเรื่อง การจัดหาวัตถุดิบ และควบคุมคุณภาพ เพราะสินค้าจะมีคุณภาพหรือไม่ วัตถุดิบก็มีส่วนสำคัญ 
 
คุณภาพของวัตถุดิบที่จะนำมาทำนั้น ต้องรู้ว่าเป็นคุณภาพแบบไหน ความชื้นเท่าใด ต้องรักษาและดูแลอย่างไรถึงจะรักษาคุณภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นไปตามกำหนดได้ การจัดซื้อจากแหล่งใด ก็ต้องหา Supplier ที่สามารถควบคุมคุณภาพให้เราได้เช่นกัน ที่สำคัญเจ้าของแฟรนไชส์อย่าตุนสินค้าไว้ในคลังเยอะเกินไป เพราะบางครั้งอาจเสื่อมคุณภาพได้  
 
ขณะเดียวกัน เจ้าของแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการเรื่องการรับ และส่งวัตถุดิบด้วย โดยคุณต้องเข้าไปดูแลตั้งแต่การรับสินค้าจาก Supplier การเก็บเข้าคลัง และการกระจายสินค้าออกไปสู่แฟรนไชส์ซี การจัดทำ Packaging ที่ทำจากเครื่องเลย ก็มีส่วนช่วยให้ลดแรงงานลงไปได้ เช่น น้ำจิ้ม หรือ สูตรสำเร็จที่จะใส่ในน้ำซุป เป็นต้น

 
ภาพจาก goo.gl/X7cWS3
 
นอกจากนี้ เรื่องของการกระจายศูนย์เพื่อควบคุมลูกข่าย เมื่อเจ้าของแฟรนไชส์ขยายสาขาออกไปมากๆ การควบคุมดูแลจะเริ่มมีปัญหา ดังนั้น การสร้างศูนย์ เพื่อควบคุมลูกข่าย เป็นหนทางแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง 
 
เช่น ศูนย์ภาคเหนือ ศูนย์ภาคอีสานเป็นต้น มีการอบรมพนักงานในศูนย์เป็นประจำ และตรวจสอบคุณภาพการให้บริการของศูนย์เหล่านั้น อยู่บ่อยๆ ด้วยครับ อย่างกรณีแฟรนไชส์ใหญ่อย่าง 7-Eleven ก็บริหารสาขาด้วยระบบนี้ 
 
หรือแม้แต่ KFC แม็คโดนัลด์ แฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศ ก็ยังบริหารสาขาในต่างประเทศด้วยวิธีเดียวกันนี้ แต่อาจจะเป็นศูนย์ระดับประเทศ เพื่อดูแลและจัดหาวัตถุดิบส่งให้กับสาขาแฟรนไชส์ในแต่ละประเทศ 

 
ภาพจาก  goo.gl/AgBZXT
 
สรุปก็คือ เรื่องของการบริหารจัดส่งวัตถุดิบ ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในระบบแฟรนไชส์ ถ้าเจ้าของแฟรนไชส์บริหารจัดการผิดพลาด เรื่องการหาวัตถุดิบและจัดส่งให้กับสาขาแฟรนไชส์ซีให้ทันเวลา หรือทันต่อความต้องการ ก็อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณทั้งระบบ เพราะอาจนำไปสู่ความเชื่อมั่น และความไว้เนื้อเชื่อใจในแบรนด์แฟรนไชส์ก็ได้ครับ 

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์  www.thaifranchisecenter.com/home.php
สนเปิดร้านแฟรนไชส์ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 

Franchise Tip

เจ้าของแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซอร์ ถ้าไม่มีความพร้อมในเรื่องของการจัดส่งวัตถุดิบ หรือสินค้า ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี ก็ไม่ควรที่จะเร่งรีบขายแฟรนไชส์ เพราะจะส่งผลเสียต่อแบรนด์แฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์เอง เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องการอยู่กับเจ้าของแฟรนไชส์ที่สามารถดูแลเขาได้ 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,071
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,514
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,637
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,586
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
839
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด