บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.8K
3 นาที
13 มีนาคม 2561
ทฤษฎีง่ายๆ ทำแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ  
 

ผู้สนใจธุรกิจในระบบแฟรนไชส์อาจเกิดความสงสัยว่า การขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ จะต้องทำอย่างไร จึงจะประสบความสำเร็จ วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะให้คำแนะนำ เพราะถ้าผู้สนใจแฟรนไชส์เข้าใจและทำตามทฤษฎีแฟรนไชส์แล้ว ก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยากนัก มากันว่ามีทฤษฎีอะไรบ้างครับ 
 
1.แฟรนไชส์เปรียบเสมือนคู่สมรส


ในการเลือกแฟรนไชส์ซี (FRANCHISEE) แฟรนไชส์ซอร์ (FRANCHISOR) หรือเจ้าของสิทธิ์ ควรที่จะคัดเลือกที่ตัวบุคคลเป็นหลักไม่ใช่เลือกแฟรนไชส์ซี จากเหตุผลที่มีเงินมาก หรือมีที่ดินเท่านั้น 
 
ควรที่จะตรวจสอบคุณสมบัติของแฟรนไชส์ซีว่า มีความเหมาะสมกับธุรกิจหรือไม่ มีความตั้งใจจริงที่จะธุรกิจ ความรู้ความสามารถ มีนิสัยเข้ากับแฟรนไชส์ซอร์ได้หรือไม่ เสียก่อนจึงค่อยตามด้วยเงินทุน หรือเลือกทำเลภายหลัง 
 
เนื่องจากระบบแฟรนไชส์นั้น จะต้องมีภาระผูกพันทำงานร่วมกันเป็นเวลา 3-10 ปีขึ้นไป ถ้าไม่เลือกที่ตัวบุคคล หรือไม่ทำให้เกิดความเข้าใจกันเข้ากันได้ มักไปไม่ค่อยรอด เหมือนกับที่ทฤษฎีบอกไว้ว่า การคัดเลือกแฟรนไชส์ เหมือนกับการเลือก คู่สมรส เพราะจะ ต้องเริ่มจากการพบปะพูดคุยกันก่อนว่า 2 ฝ่าย นิสัยไปกันได้หรือไม่ มีความตั้งใจที่ทำจริงแค่ไหน ตรงต่อเวลานัดหรือไม่ มีความรู้ความสามารถที่จะทำธุรกิจ มากน้อยแค่ไหน มีเวลา เงินทุนพอหรือเปล่า ทำเลที่ตั้งเหมาะสมแค่ไหน 

 
เหมือนกับว่าแฟรนไชส์ซอร์ คือ ฝ่ายชาย แฟรนไชส์ซี คือ ฝ่ายหญิง ซึ่งฝ่ายชายจะทำหน้าที่ดูแลฝ่ายหญิงไปจนตลอดอายุสัญญา ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายทำธุรกิจกันภายใต้เงื่อนไขความรู้จักกัน ความผูกพันกัน ความมักคุ้นกัน มากกว่าผลประโยชน์ จะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถทำธุรกิจกันได้นาน และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ขยายได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด 
 
ในขณะที่บางแฟรนไชส์ซอร์ จะคัดเลือกแฟรนไชส์จากมีเงินอย่างเดียว ไม่ได้ดูความตั้งใจ หรือความรู้ ความสามารถ ก็จะประสบปัญหาความไม่เข้าใจกัน การเอารัดเอาเปรียบกัน ซึ่งตามมาด้วยการแยกทางกัน มากกว่าที่จะประสบความสำเร็จ 
 
เมื่อใดที่แฟรนไชส์ทั้ง 2 ฝ่าย เปิดสัญญาคุยกัน และเริ่มคิดเล็กคิดน้อยทุกอย่างจะต้องมีค่าปรับ มีค่าใช้จ่ายมากมายละก็ ความสัมพันธ์เริ่มไม่มีแล้ว โอกาสที่จะฟ้องร้องเลิก สัญญาเป็นไปได้สูงมาก ซึ่งถ้าทั้ง 2 ฝ่ายบริหารธุรกิจภายใต้ความสัมพันธ์ที่เป็นไป ด้วยความเข้าใจซึ่งกันแล้ว ก็จะบริหารงาน ระบบแฟรนไชส์ง่ายมาก การดูแลจะง่ายและไม่ยุ่งยาก ใช้กำลังคนในฝ่ายแฟรนไชส์ซอร์ 2 – 3 คน ก็สามารถดูแลแฟรนไชส์ซีได้ 70 – 100 รายได้ 
 
2.แฟรนไชส์ คือ ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ 
 

บางครั้งแฟรนไชส์ซอร์จะคิดมากเรื่องความพร้อม ระบบงาน การให้การสนับสนุนให้กับแฟรนไชส์ซี สัญญาแฟรนไชส์ควรจะร่างให้รัดกุมอย่างไร 
 
ความจริงแล้วการทำแฟรนไชส์ ก็คือ แนวทางการทำธุรกิจชนิดหนึ่ง ซึ่งมุ่งความสำเร็จของแฟรนไชส์ซีเป็นหลัก เพราะการวัดความสามารถของแฟรนไชส์ซอร์ จะวัดที่ปริมาณ ความสำเร็จของแฟรนไชส์ซี ยิ่งมีแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จมากเท่าไร ก็แปลว่าแฟรนไชส์ซอร์ต้องมีความสามารถมาก และประสบความสำเร็จตามไปด้วย 
 
ดังนั้น การทำธุรกิจแฟรนไชส์ ถ้าคิดว่าแฟรนไชส์ คือธุรกิจแล้วละก็ ความหมายก็คือจะต้องทำให้เกิดธุรกิจเครือข่ายให้อยู่รอด ซึ่งรูปแบบอาจจะเป็นแค่ร้านทำก๋วยเตี๋ยว หรือรูปแบบสำเร็จ รูปแบบร้านพิชซ่าใหญ่ๆ ลงทุนเป็น 10 ล้านก็ได้ 
 
ดังนั้นรูปแบบของระบบแฟรนไชส์ ผู้เป็นแฟรนไชส์ซอร์ไม่ควรกังวลใจ เรื่องความพร้อม แต่ควรมองว่าถ้าจะทำให้ธุรกิจ ของแฟรนไชส์ซีดำเนินไปได้ย่างราบรื่น ควรจะมีระบบสนับสนุนอะไรบ้าง รูปแบบของระบบควรเป็นอย่างไร หรือแฟรนไชส์ซอร์ ควรที่จะสร้างโมเดลทางธุรกิจตัวหนึ่งขึ้นมา หรือที่เข้าใจดีว่า “ร้านต้นแบบ” ประมาณ 2-3 แห่ง 

 
เพื่อให้ได้รูปแบบการลงทุน ภาพลักษณ์ร้าน และการ TEST ระบบ ดูอัตราการคืนทุนได้ แล้วค่อยลอกแบบ หรือ Copy ธุรกิจให้กับแฟรนไซส์ซี ซึ่งถ้าต้นแบบประสบความสำเร็จ มีกำไร มีแนวทางธุรกิจดี เมื่อแฟรนไชส์ซอร์ COPY ธุรกิจจากต้นแบบให้แฟรนไชส์ซี ไม่ว่าจะเป็นทำเล ลักษณะผู้เป็นแฟรนไชส์ซี การลงทุนตลอดจนวิธีการบริหารร้านได้ทั้งหมด
โอกาสที่จะประสบความสำเร็จย่อมมีมาก เพราะแฟรนไชส์ได้ลอกแบบร้านหรือธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และมีกำไร ธุรกิจที่ทำเหมือน ๆ กัน ก็จะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน บางครั้งแฟรนไชส์บางธุรกิจ
 
อาจจะยังไม่มีคู่มือปฏิบัติการ หรือความพร้อมในการสนับสนุนมากนัก เพราะไม่พร้อมเรื่องกำลังคน ทีมงานก็ไม่มี แต่ธุรกิจมีความได้เปรียบมาก เช่น การใช้เงินทุนเริ่มธุรกิจต่ำ ต้องการการสนับสนุนน้อย และคืนทุนเร็ว 
 
เช่น ธุรกิจการศึกษาที่เป็นแฟรนไชส์อยู่ในปัจจุบัน ใช้แฟรนไชส์ซีทำเอง สอนเอง ขยายตัวเร็ว ใช้เงินทุนหลักหมื่น หลักแสนบาท ก็ทำได้และเติบโตเร็ว ทั้งที่แฟรนไชส์ซอร์อาจจะไม่ได้ช่วยสนับสนุนมากนัก แต่คัดแฟรนไชส์ซีที่มีความรู้ความสามารถมากกว่า แล้วสอนให้รู้จักทำธุรกิจโรงเรียน ส่งอุปกรณ์หรือเอกสารที่ใช้สอนให้ ก็ทำธุรกิจได้แล้ว

3.ต้องยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่าย 
 

บางครั้งแฟรนไชส์ซอร์ มักจะคิดอยู่เสมอว่า จะคิดเงินแฟรนไชส์ซี อะไรบ้าง จะหารายได้จากแฟรนไชส์ซีอย่างไร ซึ่งผลที่ตามมาคือ ต้นทุนของแฟรนไชส์ซีสูง จนอยู่ไม่ได้ ถือเป็นผลเสียตามมาถึงแฟรนไชส์ซอร์ในอนาคตเพราะทุกคนก็จะบอกว่าแฟรนไชส์ซอร์รายนี้เห็นแต่ตัว เอาเปรียบแฟรนส์ซี ทุกอย่างจะ คิดเป็นเงินหมด  
 
ดังนั้น ทุกครั้งที่แฟรนไชส์ซอร์จะคิดค่าใช้จ่ายจากแฟรนไชส์ซี ควรคำนึงถึงความอยู่รอดของธุรกิจด้วย แฟรนไชส์ซอร์ที่ดีมัก จะคิดอยู่เสมอว่า จะทำอย่างไร จึงจะประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้ เพราะถ้าแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นผู้แนะนำ แฟรนไชส์ซีรายอื่นๆ กลับเข้าในระบบแฟรนไชส์แบรนด์นั้นอีกที  
 
แต่อย่างไรก็ตาม แฟรนไชส์ซอร์ก็ควรที่จะคำนึงถึงธุรกิจของตนเองด้วย เพราะบางครั้งการเก็บค่าใช้จ่ายบางอย่าง เช่น ค่า ROYALTY ค่าโฆษณา หรือค่าดำเนินการต่างๆ นั้น บางครั้งจำเป็นต้องมีบ้าง เพราะจะเป็นการช่วยให้ธุรกิจแฟรนไชส์อย฿รอดและประสบความสำเร็จ แฟรนไชส์ซอร์มีความแข็งแกร่ง มีงบประมาณที่สามารถพัฒนาสินค้าและบริการ

 
ตลอดจนระบบธุรกิจให้ดีขึ้นตลอดเวลา ทำให้แฟรนไชส์ซีแข็งแกร่งตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นการรวมตัวกันส่งเสริมให้ธุรกิจ เหนือกว่าคู่แข่ง ที่ไม่ได้ใช้ระบบธุรกิจแบบแฟรนไชส์ หลายๆ ครั้งที่แฟรนไชส์ซีได้เอาระบบของแฟรนไชส์ซอร์มาพัฒนาต่อ แล้วประสบความสำเร็จ ทำให้แฟรนไชส์ซอร์ได้ผลประโยชน์ตรงนี้ไปด้วย 
 
สรุปก็คือ หลักทฤษฎีแฟรนไชส์ง่ายๆ ทั้ง 3 สูตร ไม่ว่าจะเป็น ระบบแฟรนไชส์เป็นเหมือนการหาคู่แต่งงานกัน ก่อนที่จะทำการตกลงปลงใจให้กันและกัน ควรที่จะทำการศึกษากันและกัน ให้รู้ลึก รู้จริงระหว่างซึ่งกันให้ถ่องแท้ รวมถึงเจ้าของแฟรนไชส์ต้องเข้าใจว่าระบบแฟรนไชส์ บางธุรกิจไม่จำเป็นต้องเดินตามเส้นที่ขีดไว้เหมือนกัน ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์อาจแตกต่างกันไปบ้าง ที่สำคัญทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีต้องไม่เอาเปรียบกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในที่สุดก็จะทำให้ระบบแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ มีความแข็งแกร่งด้วยตัวมันเอง 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจ https://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 

Franchise Tip
  1. แฟรนไชส์เปรียบเสมือนคู่สมรส (ศึกษาดูใจกันว่าไปด้วยกันได้หรือไม่) 
  2. แฟรนไชส์ คือ ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ (ระบบแฟรนไชส์บางธุรกิจอาจไม่เหมือนกัน เช่นลงทุนน้อย-มาก) 
  3. ต้องยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่าย (จะไม่ทำให้ทะเลาะกัน ช่วยเหลือเกื้อหนุนกัน) 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,706
ส่อง 76 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
6,112
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,753
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,649
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
860
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
833
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด