บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.6K
2 นาที
9 พฤษภาคม 2561
ย้อนรอย บทเรียนที่คนไทยไม่เคยจำ! แฟรนไชส์ กับ แชร์ลูกโซ่ แตกต่างกัน
 

เชื่อว่ามีหลายคนอาจจะสับสนระหว่างแฟรนไชส์ กับ แชร์ลูกโซ่ เนื่องจากข่าวกรณีกองบังคับการปราบปราม จับกุมนายชาญณรงค์ โพธิ์งาม อายุ 29 ปี เจ้าของธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เอสเอฟกรุ๊ป ทำธุรกิจขายแฟรนไชส์เคาน์เตอร์เซอร์วิส ให้บริการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ จ่าย บิลต่างๆ ทำให้มีผู้สนใจสมัคร และเสียเงินสมัครสมาชิกขั้นต่ำรายละ 9 หมื่นบาทต่อคน 


พร้อมรับของสมนาคุณต่างๆ หรือ ค่าแนะนำ พร้อมโฆษณาว่า “รวยแบบงงๆ รวยง่ายๆ ไม่ต้องทำงาน” รวมถึงบอกว่า ทำธุรกิจนี้มาแล้ว 6 ปี มีสาขาทั่วประเทศ ทำให้มีประชาชนหลงเชื่อนำเงินไปลงทุน จนมีเงินหมุนเวียนกว่า 100 ล้านบาท
 
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว หลายคนอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ แต่จริงๆ แล้วเป็นรูปแบบแชร์ลูกโซ่ แต่เหล่าบรรดามิจฉาชีพได้อาศัยรูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์มาบังหน้า วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอข้อแตกต่างของธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ กับ ธุรกิจแบบแชร์ลูกโซ่ เพื่อให้คุณผู้อ่านเข้าใจธุรกิจในระบบแฟรนไชส์อย่างถูกต้องครับ    
 
แฟรนไชส์ (Franchise)

 
ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไซส์ กำลังได้รับความนิยมอย่างมากจากเจ้าของธุรกิจ นักลงทุน รวมถึงผู้ที่อยากมีรายได้ อยากประสบความสำเร็จ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่าในอดีตนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์ก็เคยถูกเข้าใจผิดกันอย่างมาก เคยถูกมองว่าเป็นธุรกิจที่ผิดกฎหมายมาก่อนเช่นกัน เอาเงินจากคนอื่นมาแต่ไม่มีสินค้าหรือบริการให้ 
 
จริงๆ แล้วธุรกิจแฟรนไชส์เป็นหนึ่งในระบบธุรกิจ ที่มีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง สามารถซื้อแฟรนไชส์กับบริษัทแม่ โดยบริษัทแม่จะมอบสิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้า ให้ระบบ ให้แผนงาน รวมทั้งให้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ การอบรม และให้คำปรึกษา โดยอยู่ในรูปแบบสาขาที่มีหน้าร้านและมาตรฐานเดียวกัน 

ข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์

  1. ลดความเสี่ยง ตรงนี้หลายคนอาจมีความเข้าใจผิดว่า ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่สำเร็จรูปแล้วไม่ขาดทุน ซึ่งจริงๆ แล้วทุกธุรกิจมีความเสี่ยง แต่ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์มีโอกาสเจ๊งได้ แต่ความเสี่ยงในการเจ๊งน้อยกว่าการสร้างธุรกิจด้วยตัวเอง  
  2. ได้ความน่าเชื่อถือ จากเครื่องหมายการค้าของบริษัทแม่ ทำให้การเริ่มต้นธุรกิจง่ายขึ้น มีคนรู้จักและเข้าใช้บริการได้ทันที 
  3. ประหยัดเวลาและเงิน เพราะมีระบบต่างๆ จัดให้เรียบร้อยแล้ว ทั้งระบบบัญชี สต็อก และอื่นๆ ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ต้องคิดใหม่ สร้างใหม่ อีกทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทแม่ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ 
  4. มีการสอนทำงาน หรือ ฝึกอบรมให้ โดยบริษัทแม่จะฝึกอบรมและถ่ายทอดการทำงาน การบริหาร จนสามารถเปิดร้านได้ 
  5. ได้รับการสนับสนุนดูแลระหว่างดำเนินธุรกิจ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับการสนับสนุนในเรื่องการตลาด ทำเล ออกแบบร้าน หาเงินกู้ จัดส่งวัตถุดิบจากเจ้าของแฟรนไชส์ เช่น 7-Eleven, KFC, แมคโดนัลด์ เป็นต้น 
แชร์ลูกโซ่ 
 

ภาพจาก goo.gl/Mg6Nex
 
แชร์ลูกโซ่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินธุรกรรม ที่มุ่งประสงค์เพื่อหารายได้จากการระดมทุนเป็นหลัก โดยแอบอ้างอิงหลักการ ดำเนินธุรกิจกับธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ธุรกิจขายตรง ธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น 
 
ทั้งนี้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจ ซึ่งมีการสัญญาในการเข้าร่วมธุรกิจ ที่จะตอบแทนผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ที่สูงกว่าเงินลงทุน โดยผู้ประกอบการมักจะอ้างถึง การนำเงินไปลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ต่อๆ ไป เพื่อปันรายได้ 
 
แจกจ่ายผู้เข้าร่วมธุรกิจอย่างทั่วถึง ในระยะแรกเพื่อกระตุ้นให้เกิดการร่วมธุรกิจต่อเนื่อง จนเมื่อถึง “จุดอิ่มตัว” ที่ผู้เข้าร่วมธุรกิจที่เข้ามาในช่วงหลัง จะไม่สามารถหมุนเวียนเงินตอบแทนให้กับคนที่มาก่อนได้ ธุรกิจแบบนี้ก็จะปิดตัวลงทันที 
 
ปัญหาแชร์ลูกโซ่ที่เกิดขึ้นและลุกลาม เข้ามาอาศัยรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์บังหน้า ทำให้เกิดธุรกิจแฟรนไชส์รูปแบบใหม่ ที่ดึงผู้ประกอบการมาร่วมระดมทุน แทนการซื้อความรู้เพื่อดำเนินธุรกิจ ถือว่าไม่ใช่ธุรกิจแฟรนไชส์ที่แท้จริง 
 
และทำลายภาพลักษณ์ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศ สร้างความไม่มั่นใจในการลงทุนของคนไทยอีกด้วย ส่งผลกระทบต่อธุรกิจแฟรนไชส์บ้าง เพราะคนไทยมีความเข้าใจในธุรกิจแฟรนไชส์น้อยมาก 
 

ภาพจาก goo.gl/Mg6Nex
 
อย่างไรก็ดี การที่ธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยได้รับผลกระทบ เพราะมีผู้แอบแฝง ใช้ชื่อว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์จำนวนมาก เกือบครึ่งของผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ที่แท้จริงในปัจจุบัน
 
แต่ผลกระทบของธุรกิจแชร์ลูกโซ่ต่อธุรกิจแฟรนไชส์รายเดิม ที่มีการขยายสาขา และได้รับการยอมรับแล้วค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ที่มีงบลงทุนจำนวนต่ำกว่า 5 แสนบาท และธุรกิจแฟรนไชส์รายใหม่ ที่กำลังจะเปิดให้บริการ โดยส่งผลกระทบถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพราะนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่า 
 
หากซื้อธุรกิจไปแล้ว ตัวธุรกิจจะมีกำไรหรือไม่ ยิ่งผู้ประกอบการแฟรนไชส์รับประกันรายได้ที่แน่นอน กลุ่มนักลงทุนก็คิดว่าอาจเป็นแชร์ลูกโซ่ ซึ่งสิ่งที่น่าสังเกต คือ รูปแบบการทำธุรกิจ 
 
เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ คือ การซื้อธุรกิจแล้วนำไปทำเองจากนั้นจึงเกิดกำไร การที่ผู้ประกอบการรายใด ประกาศว่าซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว ไม่ต้องทำธุรกิจ แต่จะมีกำไรเติบโตหลายเท่าตัว ถือเป็นการหลอกลวง เป็นรูปแบบของแชร์ลูกโซ่อย่างแท้จริง 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทย ขายดี ไม่มีหลอก www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php  
 
 

Franchise Tips
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ คือ ธุรกิจที่มีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง สามารถซื้อแฟรนไชส์กับบริษัทแม่ โดยบริษัทแม่จะมอบสิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้า ให้ระบบ ให้แผนงาน รวมทั้งให้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ การอบรม และให้คำปรึกษา โดยอยู่ในรูปแบบสาขาที่มีหน้าร้านและมาตรฐานเดียวกัน 
 
ส่วนแชร์ลูกโซ่ คือ ธุรกิจที่มุ่งระดมทุนจากรายใหม่ เพื่อจ่ายผลตอบแทนให้รายเก่า 
 

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,561
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,288
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด