บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.2K
2 นาที
29 พฤษภาคม 2561
รวมปัจจัยสร้างความล้มเหลวให้ระบบแฟรนไชส์
 

แม้ว่าระบบแฟรนไชส์จะเป็นทางลัดในการทำธุรกิจ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจขยายธุรกิจได้เร็วขึ้น รวมถึงช่วยให้คนอยากเริ่มต้นธุรกิจใหม่ประสบความสำเร็จได้ง่าย เจ้าของแฟรนไชส์ไม่ต้องเสียเงินลงทุนขยายสาขาด้วยตัวเอง ขณะที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้แบรนด์ธุรกิจที่ได้รับการยอมรับ ไม่ต้องทำการตลาด ซื้อแฟรนไชส์มาแล้วสามารถทำธุรกิจได้ทันที 
 
แต่ระบบแฟรนไชส์ ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป หลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ก็ล้มเหลวมามากเช่นเดียวกัน ทั้งปัญหามาจากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ จึงทำให้ระบบแฟรนไชส์ของธุรกิจนั้นล้มเหลวไปไม่ถึงฝั่งฝัน 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอปัจจัยสำคัญในการสร้างความล้มเหลวให้กับธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ โดยเจ้าของธุรกิจขายแฟรนไชส์ไปแล้วธุรกิจไม่โต ขณะที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์บริหารธุรกิจไม่สำเร็จ มาดูพร้อมๆ กันเลยครับ 
 
แฟรนไชส์ซอร์
 
 
1.แฟรนไชส์ซอร์ไม่เคยทดลองระบบก่อนขายแฟรนไชส์ พอสินค้าและบริการได้รับความนิยม มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์ก็อยากขาย พอขายไปไม่มีการวางระบบอะไร ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้ง ระบบบัญชี การสต็อก การจัดส่ง เป็นต้น  
 
2.แฟรนไชส์ซอร์ขาดเงินทุนสนับสนุนงานแฟรนไชส์ อาจเป็นเพราะแฟรนไชส์เหล่านี้เป็นการขายขาด เก็บเพียงแค่ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า ไม่เก็บเปอร์เซ็นต์รายเดือน ทำให้ไม่มีเงินไปสนับสนุนด้านการทำตลาด การสร้างแบรนด์  

 
 
3.แฟรนไชส์ซอร์มีการตัดสินใจที่ผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นการขายแฟรนไชส์เร็วเกินไป ทั้งที่ธุรกิจก่อตั้งได้ไม่นาน รวมถึงการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่ไม่มีคุณภาพ มองเพียงแค่เขามีเงินก็ขายแฟรนไชส์ให้ 
 
4.แฟรนไชส์ซอร์ไม่มีความซื่อสัตย์ ไม่ให้เกียรติผู้ซื้อแฟรนไชส์ จัดส่งสินค้าและวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานให้แฟรนไชส์ซี เพื่อต้องการรายได้ และลดต้นทุนให้ถูกลง หรือนำเงินที่ได้จากค่า Royalty Fee ไปใช้ในส่วนของตัวเอง 
 


5.แฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถให้บริการแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง หรือขาดการสนับสนุนเรื่องอื่นๆ อาจเกิดจาดการขาดเงินทุนหมุนเวียน นำเงินไปใช้ในทางที่ผิด แทนที่จะเอาไปสนับสนุนช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีให้ประสบความสำเร็จด้วยกัน หรือพอขายแฟรนไชส์ได้มากๆ ก็ดูแลไม่ทั่วถึง เพราะไม่มีความพร้อมด้านทีมงานคอยช่วยเหลือและอื่นๆ 

6.หลอกลวงว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่แอบอ้างคำว่าแฟรนไชส์ไปใช้ในทางไม่ถูก ทำให้คนร่วมลงทุนด้วย ก็ต้องพบกับความล้มเหลว จ่ายเงินไปแล้วไม่มีธุรกิจจริง ไม่มีร้านต้นแบบใดๆ หรือหลอกลวงว่าแฟรนไชส์ของตัวเองมีมาตรฐาน ทำให้คนซื้อแฟรนไชส์เชื่อ ซึ่งตรงนี้เป็นลักษณะของธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ที่แอบอ้างว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์
อ่าน...ย้อนรอย บทเรียนที่คนไทยไม่เคยจำ! แฟรนไชส์ กับ แชร์ลูกโซ่ แตกต่างกัน  
 

แฟรนไชส์ซี
 

1.ไม่ทำตามระบบ การซื้อแฟรนไชส์เป็นการทำตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์ทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการขายการทำงานทุกๆ อย่าง เพราะแฟรนไชส์เป็นการซื้อสูตรสำเร็จของธุรกิจนั้นๆ มา ต้องทำตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์ 
 
2.ไม่ดำเนินธุรกิจตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญเพราะการซื้อแฟรนไชส์มาทำธูรกิจ ถ้าอยากประสบความสำเร็จ แฟรนไชส์ซีจะต้องทำตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์ทุกอย่าง 

 
3.แฟรนไชส์ซีคนนั้นไม่เหมาะกับธุรกิจที่ซื้อมา อาจมองว่าแฟรนไชส์นั้นๆ กระแสมาแรง จึงคิดว่าซื้อมาแล้วจะประสบความสำเร็จ ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้ชอบธุรกิจนั้นเลย พอทำไปได้สักพักก็เบื่อ 
 
4.ไม่มีวินัยทางการเงิน ไม่ทำบัญชีแยกออกจากเงินส่วนตัว หรือนำเงินรายได้จากธุรกิจไปใช้อย่างอื่น
 

5.ขาดเงินทุนหมุนเวียน เพราะต้องมีการซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน 
 
6.แฟรนไชส์ซีทุ่มเทในการบริหารธุรกิจไม่มากพอ ซื้อแฟรนไชส์มาแล้วขี้เกียจทำ ให้คนอื่นทำแทน 
 
หวังว่าปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความล้มเหลวในธุรกิจแฟรนไชส์ข้างต้น น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) และผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี)

เชื่อว่าถ้าหากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ สามารถบริหารธุรกิจและทำตามข้อปฏิบัติข้างต้น รวมถึงการช่วยเหลือกันและกันของทั้ง 2 ฝ่าย มีความซื่อสัตย์ต่อกัน น่าจะช่วยให้ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์อันเดียวกัน ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนครับ 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี ทำธุรกิจ https://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 

Franchise Tips
 
แฟรนไชส์ซอร์
  1. แฟรนไชส์ซอร์ไม่เคยทดลองระบบก่อนขายแฟรนไชส์
  2. แฟรนไชส์ซอร์ขาดเงินทุนสนับสนุนงานแฟรนไชส์
  3. แฟรนไชส์ซอร์มีการตัดสินใจที่ผิดพลาด
  4. แฟรนไชส์ซอร์ไม่มีความซื่อสัตย์
  5. แฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถให้บริการแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  6. หลอกลวงว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์
แฟรนไชส์ซี
  1. ไม่ทำตามระบบ
  2. ไม่ดำเนินธุรกิจตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์
  3. แฟรนไชส์ซีคนนั้นไม่เหมาะกับธุรกิจที่ซื้อมา
  4. ไม่มีวินัยทางการเงิน
  5. ขาดเงินทุนหมุนเวียน
  6. แฟรนไชส์ซีทุ่มเทในการบริหารธุรกิจไม่มากพอ


บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,561
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,288
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด