บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ไอเดียธุรกิจแฟรนไชส์
3.7K
2 นาที
15 มิถุนายน 2561

เลือกแฟรนไชส์อย่างไรไม่ให้ตกม้าตาย


ปัจจุบันการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยข้อดีคือให้ผู้ลงทุนไม่ต้องเริ่มนับจากศูนย์ สามารถต่อยอดธุรกิจได้ทันที อีกทั้งระบบแฟรนไชส์ยังสนับสนุนในเรื่องการส่งเสริมการตลาด การช่วยเหลือในการเปิดร้าน การควบคุมคุณภาพสินค้า และการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง มองในด้านหนึ่งก็เหมือนจะมีแต่ข้อดี แต่ในความเป็นจริงก็มีไม่น้อยที่ไปไม่รอดในการลงทุนกับแฟรนไชส์
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เกิดจากระบบแฟรนไชส์แต่มาจากตัวบุคคลเองที่ขาดทักษะในการเริ่มต้นทำธุรกิจรวมถึงการเลือกแฟรนไชส์ที่ไม่เหมาะสมกับตัวเองเป็นผลให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างที่ควรจะเป็นด้วยเหตุนี้ลองมาดูวิธีการที่ถูกต้องว่าก่อนเลือกแฟรนไชส์นั้นควรศึกษาอะไรบ้างจะได้ไม่ต้องตกม้าตายโดยไม่จำเป็น
 
1.ความน่าเชื่อถือของแฟรนไชส์ที่เลือก
 

แม้การลงทุนนั้นควบคู่กับความเสี่ยงซึ่งแฟรนไชส์ที่มีในเมืองไทยนั้นมากกว่า 550 แบรนด์แยกตามธุรกิจหมวดหมู่ต่างๆ และแม้ว่าระบบแฟรนไชส์จะมีข้อดีที่เกื้อหนุนให้เราลงทุนง่ายขึ้นแต่ในอีกด้านหนึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ก็คือภาพรวมที่คนเรามักมองเหมารวม

ดังนั้นก่อนซื้อแฟรนไชส์ใดๆก็ตามควรศึกษาความน่าเชื่อถือ ความน่าไว้วางใจ รวมถึงข่าวคราวของแฟรนไชส์ทั้งในแง่ดีและแง่ลบ รวมถึงประเมินว่ามีความเหมาะสมจะซื้อหรือไม่ หากดูแล้วไม่น่าเชื่อถือ หรือสอบถามจากผู้ที่เคยลงทุนแล้วพบปัญหา แม้จะเป็นการลงทุนไม่สูงแต่ก็ไม่ควรเสี่ยง อาจตกม้าตายโดยไม่จำเป็นเช่นกัน
 
2.อย่าวัดผลจากสาขาของแฟรนไชส์อย่างเดียว
 

หลายคนใช้เกณฑ์การมีสาขาแฟรนไชส์จำนวนมากมาเป็นตัวตัดสินว่าหากเราลงทุนบ้างก็ต้องขายได้ขายดีเหมือนที่เขาสามารถขยายสาขาได้มากมาย

ขอแนะนำว่าหากคิดใช้ข้อนี้เป็นเกณฑ์เราควรไปสอบถามข้อมูลโดยตรงจากสาขาของแฟรนไชส์ที่ต้องการว่าแท้ที่จริงแล้วเขามีความเสี่ยงในการลงทุนอย่างไรบ้าง เขาต้องมีค่าใช่จ่ายมากน้อยแค่ไหน และคำนวณแล้วจะคุ้มค่ากับการลงทุนอย่างไร รวมถึงเจ้าของแฟรนไชส์มีให้การช่วยเหลืออย่างไร ข้อมูลเหล่านี้ต้องศึกษาให้รอบด้านก่อนการตัดสินใจทุกครั้ง
 
3.รู้จักการคาดคะเนทิศทางการตลาดในอนาคต
 

ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ยากแต่ก็ควรทำอย่างแฟรนไชส์กาแฟจะเห็นว่ามีการลงทุนเกิดขึ้นมาก เพราะแนวโน้มของธุรกิจนี้ลูกค้าก็มีมากเช่นกันแม้จะเปลี่ยนไปกี่ยุคสมัยคนไทยและคนทั่วโลกก็ยังนิยมดื่มกาแฟกันเช่นเดิม

หากถามว่าเหมาะสมลงทุนหรือไม่ในเรื่องตัวสินค้าสอบผ่านที่เหลือคือกลยุทธ์การบริหารจัดการ ที่เป็นตัวชี้วัดความอยู่รอด แต่ในบางแฟรนไชส์ที่เป็นสินค้าแตกต่างออกไปก่อนลงทุนก็ควรคำนวณความเสี่ยงว่าหากปัจจุบันเป็นที่นิยมแล้วในอนาคตจะยังเป็นที่น่าสนใจอยู่หรือไม่
 
4.ทำเลคือตัวแปรสำคัญ
 

เราจะเห็นว่าแทบทุกแฟรนไชส์มีการเซตระบบบริหารจัดการ มีการพัฒนารูปแบบธุรกิจและพร้อมส่งเสริมเราทุกด้านแต่ที่แฟรนไชส์ซอเองก็ยังหาให้เราไม่ได้คือ “ทำเล” แม้บางแฟรนไชส์จะสามารถแนะนำหรือช่วยวิเคราะห์ทำเลที่เหมาะสมได้แต่การเลือกทำเลเบื้องต้นก็เป็นหน้าที่ของผู้ลงทุน และสิ่งนี้คือตัวแปรที่สำคัญที่สุดของการลงทุน แม้จะเป็นแฟรนไชส์ยอดฮิตชื่อดังแค่ไหนแต่ถ้าไม่ได้อยู่ในทำเลทีดี่คนก็ย่อมไม่สนใจ บางครั้งเราอาจต้องยอมเสียค่าเช่าที่แพงแต่คำนวณแล้วคุ้มค่ากว่าการได้ค่าเช่าถูกแต่อยู่ในมุมอับคนไม่พลุกพล่าน ซึ่งเสี่ยงต่อการขาดทุนเป็นอย่างมาก
 
5.ความช่วยเหลือจากเจ้าของแบรนด์
 

ในระบบแฟรนไชส์เป็นเหมือนครอบครัวเดียวกัน ดังนั้นเมื่อแฟรนไชส์ซีมีปัญหาเจ้าของแบรนด์ที่เป็นแฟรนไชส์ซอต้องให้การช่วยเหลือ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะระบุในข้อสัญญาว่ามีการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในการเปิดร้าน  สามารถปรึกษาได้ตลอดเวลา เราควรศึกษาจากผู้ลงทุนในธุรกิจนี้มาก่อนว่าแท้ที่จริงเป็นไปตามที่พูดถึงหรือไม่ หากไม่ใช่ขอแนะนำว่าไม่ควรเลือกแฟรนไชส์ที่ว่านี้เด็ดขาด
 
6.ศึกษาสัญญาให้ละเอียด
 

แฟรนไชส์ที่มีการวางระบบอย่างเป็นมาตรฐานจะต้องมีการเซ็นสัญญาระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์กับผู้ลงทุน โดยในสัญญาต้องระบุชัดเจนว่ามีการเสียค่าอะไรบ้างในเบื้องต้น รวมถึงมีการเก็บค่าธรรมเนียมรายปีอย่างไร ส่วนแบ่งยอดขายเท่าไหร่ และมีสัญญาปลีกย่อยที่สำคัญบ้าง การศึกษารายละเอียดให้เข้าใจจะช่วยให้ไม่เกิดปัญหาฟ้องร้องกันในภายหลังหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกระทำผิดสัญญา
 
7.อย่าเลือกแฟรนไชส์เพราะราคาถูกเป็นหลัก
 

เป็นความจริงที่เราต้องยอมรับว่าคนยุคนี้ต้องการลงทุนกับแฟรนไชส์ที่ราคาไม่แพงมาก โดยบางทีไม่เลือกว่าเป็นแฟรนไชส์อะไรขอให้ราคาถูกใจเป็นใช้ได้ แต่ในข้อเท็จจริงแล้วการซื้อแฟรนไชส์ที่ราคาไม่สูงใช่จะการันตีความสำเร็จได้เสมอไป บางแฟรนไชส์ซื้อมาถูกจริง แต่ขายแล้วขายเลยคนลงทุนจะเป็นอย่างไรก็ไม่สนใจ ต่างกับแฟรนไชส์ที่อาจต้องใช้เงินลงทุนมากขึ้น

มีการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ แต่แฟรนไชส์เหล่านี้ก็พร้อมจะดูแลและเอาเงินที่ได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมเหล่านี้มาเป็นต้นทุนในการบริหารจัดการและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ส่งให้กับแฟรนไชส์ซีไปทำการตลาด ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่เราต้องมองในมุมกว้างใช่แต่จะเลือกแฟรนไชส์ราคาถูกเพียงอย่างเดียว
 
อย่างไรก็ตามการจะเลือกซื้อแฟรนไชส์ใดให้ประสบความสำเร็จต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบรวมกัน การเป็นแฟรนไชส์ราคาถูกก็มีข้อดี แฟรนไชส์ที่ราคาแพงก็มีข้อดี สิ่งสำคัญคือการดูแลของแฟรนไชส์ว่าปฏิบัติอย่างไรต่อผู้ลงทุนซึ่งเราต้องมีข้อมูลเหล่านี้ชัดเจนจึงจะทำให้เรารอดพ้นจากการตกม้าตายได้ง่ายขึ้น
 

SMEs Tips 
  1. ความน่าเชื่อถือของแฟรนไชส์ที่เลือก
  2. อย่าวัดผลจากสาขาของแฟรนไชส์อย่างเดียว
  3. รู้จักการคาดคะเนทิศทางการตลาดในอนาคต
  4. ทำเลคือตัวแปรสำคัญ
  5. ความช่วยเหลือจากเจ้าของแบรนด์
  6. ศึกษาสัญญาให้ละเอียด
  7. อย่าเลือกแฟรนไชส์เพราะราคาถูกเป็นหลัก
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่  goo.gl/Io5k2S
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,354
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,513
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,262
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,228
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด