บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    การเงิน บัญชี ภาษี
8.9K
2 นาที
28 มิถุนายน 2561
ทำธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
 

ต้องยอมรับว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย กำลังได้รับความสนใจจากเจ้าของธุรกิจและคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เพียงแค่เลือกซื้อแฟรนไชส์ที่ดี มีคุณภาพมาตรฐาน ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ก็สามารถประสบความสำเร็จในธุรกิจได้ ส่วนเจ้าของธุรกิจก็สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ใช้เงินลงทุนของตัวเอง 
 
จึงไม่แปลกที่มูลค่าตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์มีมูลค่าการเติบโตสูงถึง 200,000 ล้านบาท คาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 230,000 ล้านบาทในปี 2561 หรือคิดเป็นร้อยละ 15 
 
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน โดย 3 อันดับแฟรนไชส์ที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด ได้แก่ 1) อาหาร 2) เครื่องดื่มและไอศกรีม 3) เบเกอรี่ 
 
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลายๆ คนอาจยังไม่รู้ว่า การทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้ทราบกันครับ 
การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์
 
ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตามรูปแบบของกิจการ และสามารถเข้าสู่ระบบภาษีได้ โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่มีเงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย
 
ขั้นตอนเตรียมธุรกิจแฟรนไชส์
 

อาจเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ เช่น การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบธุรกิจ

1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการหรือไม่ โดยจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายแฟรนไชส์ โดยผู้ขายแฟรนไชส์จะออกใบกำกับภาษีให้ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องจัดเก็บไว้เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
  • ในกรณีที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ ต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย
2.ภาษีศุลกากร 
 
หากมีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากต่างประเทศ เจ้าของแฟรไชส์มีหน้าที่ ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า โดยการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น และศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า
 
การจ้างลูกจ้าง 
 

ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

การจัดหาสถานที่ตั้ง 
 

สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ
 
การจ่ายค่าแฟรนไชส์
 

ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเจ้าของแฟรนไชส์ ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิแฟรนไชส์ เมื่อจ่ายค่าแฟรนไชส์ให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ไปแล้ว 

เมื่อแฟรนไชส์ซีได้เริ่มต้นทำธุรกิจแฟรนไชส์ และเริ่มมีรายได้เข้ามา เราก็มีหน้าที่ในการเสียภาษีดังต่อไปนี้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
 

ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
  • ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
  • ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 
 

ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
  • ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  • ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
  • ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ และออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อส่งมอบสินค้า
  • จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ทั้งหมดเป็นรูปแบบของการเสียภาษีในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งทั้งผู้ขายแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ ต่างต้องมีการเสียภาษีประเภทต่างๆ หากเกิดการซื้อขายและมีรายได้เข้ามาบริษัท โดยหลักๆ แล้ว ทุกๆ ฝ่ายจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล 
 
ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลงทุนสูง ค่าแฟรนไชส์แพง ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ต่างมีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมา 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://www.thaifranchisecenter.com/home.php 
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทย ขายดีทำธุรกิจ https://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 

อ้างอิงข้อมูลจาก http://taxclinic.mof.go.th/ 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,561
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,288
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด