บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ไอเดียธุรกิจแฟรนไชส์
5.8K
2 นาที
10 กรกฎาคม 2561
8 ขั้นตอนเลือกซื้อแฟรนไชส์อย่างมีประสิทธิภาพ 
 

ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นช่องทางการทำธุรกิจอย่างหนึ่ง ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารธุรกิจตามระบบแฟรนไชส์ ที่กำหนดโดยเจ้าของแฟรนไชส์เอง โดยเจ้าของแฟรนไชส์จะให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการให้ใช้เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า ข้อมูลลับ และทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของแฟรนไชส์ 
 
ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี จะต้องเป็นธุรกิจที่พิสูจน์แล้วว่า สามารถทำกำไรได้ และคืนทุนได้ ต้องสามารถพิสูจน์ได้ด้วยในตัวของธุรกิจนั้นๆ เช่น มีแบรนด์ได้รับความนิยม มีสูตรลับที่ถ่ายทอดได้ และมีระบบการบริหารจัดสาขาที่มีมาตรฐาน 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอ 8 ขั้นตอน ในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) เชื่อว่าน่าจะเป็นความฝันของหลายคน ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง โดยไม่เสียเวลาสร้างธุรกิจเอง 
 
1.หาข้อมูลแฟรนไชส์ที่ชอบ 
 

 

ก่อนอื่นเลยต้องถามตัวเองว่า สนใจธุรกิจประเภทไหน เพราะแฟรนไชส์แบ่งออกเป็นหลายธุรกิจ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จึงต้องรู้ว่าตัวเองชอบหรือสนใจธุรกิจประเภทใด แล้วศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ 

ทั้งจากเจ้าของแฟรนไชส์ เว็บไซต์ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ สมาคมแฟรนไชส์ต่างๆ รวมถึงสถาบันการเงิน และงานแสดงสินค้าแฟรนไชส์ต่างๆ ที่สำคัญผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ ควรหาโอกาสทดลองซื้อสินค้าหรือใช้บริการแฟรนไชส์ที่สนใจด้วย
 
2.มองหาทำเลที่ตั้งแฟรนไชส์ 
 

ปัจจุบันทำเลถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ควรศึกษา มองหาทำเลที่มีศักยภาพไว้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ เพราะบางแฟรนไชส์จะพิจารณาก่อนว่า ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์มีทำเลหรือไม่ แต่บางแฟรนไชส์ช่วยประสานเรื่องทำเลเพื่อผู้ลงทุน รวมถึงสามารถนำเสนอทำเลที่ดี สำหรับผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ด้วย 
 
3.ติดต่อพูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์
 

หลังจากมีทำเลที่ตั้งในดวงใจแล้ว ควรเลือกแฟรนไชส์ในดวงใจมาอย่างน้อย 3 แฟรนไชส์ จากนั้นลองติดต่อขอข้อมูลสอบถามรายละเอียดในการลงทุน และค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงรูปแบบการแบ่งผลตอบแทน และเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ
 
4.วิเคราะห์เปรียบเทียบแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์
 

ให้ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ลองวิเคราะห์และเปรียบเทียบ ทั้งรูปแบบการลงทุน ยอดเงินที่ต้องใช้ในการลงทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ สัดส่วน และวิธีการแบ่งผลตอบแทน รวมถึงระยะเวลาในการคืนทุนของแฟรนไชส์แต่บะแบรนด์หลังจากพูดคุยแล้ว
 
5.เริ่มดำเนินการเจรจาซื้อแฟรนไชส์ที่เลือก


มาถึงตอนนี้ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์คงมีข้อมูลเพียงพอ จนสามารถตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ที่ตรงกับความต้องการของตัวเองได้ จากนั้นควรเริ่มเจรจาเพื่อซื้อแฟรนไชส์ นำข้อมูลเชิงลึกมาประกอบการตัดสินใจ

สอบถามแฟรนไชส์ซีของแฟรนไชส์แบรนด์นั้นๆ ทั้งยังดำเนินธุรกิจอยู่และเลิกกิจการไปแล้ว รวมถึงเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงาน และกระบวนการบริหารจัดการร้านค้าแฟรนไชส์ โดยพึงระลึกไว้เสมอว่า ต้องศึกษาสัญญาแฟรนไชส์ให้ละเอียด มีความเป็นธรรมกับแฟรนไชส์ซีหรือไม่ 
 
6.หาแหล่งเงินลงทุน
 

ถ้าหากผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ไม่เงินทุนส่วนตัวมากพอ อย่างแรกต้องพิจารณว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจนั้น ต้องใช้วงเงินในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน ทั้งแต่ช่วงก่อตั้งกิจการ รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้ในกิจการ

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องประเมินเงินทุนส่วนตัว หรือเงินเก็บที่คุณมี อย่างน้อยๆ ควรมีประมาณ 20% ของเงินลงทุนทั้งหมด ทั้งนี้ หากพิจารณาแล้วพบว่าต้องการเงินลงทุนส่วนเพิ่ม ในขั้นตอนนี้ให้ก็ลองปรึกษาธนาคารพาณิชย์ ที่ปล่อยสินเชื่อให้หับธุรกิจแฟรนไชส์ 
 
7.ดำเนินการของสินเชื่อ
 

ปัจจุบันมีหลานธนาคารพาณิชย์ ที่ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ โดยจะมีวงเงิน คิดอัตราดอกเบี้ยให้เสร็จสรรพ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ผ่านการพิจารณาและคัดเลือกจากเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์การันตี หรือค้ำประกันให้) ก็จะได้รับการเดินเรื่องขอสินเชื่อกับทางธนาคารนั้นๆ ได้เลย โดยแต่ละธนาคารจะมีรายชื่อธุรกิจแฟรนไชส์หลากหลายแบรนด์เข้าร่วมโครงการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ผ่านการคัดเลือกจากเจ้าของแฟรนไชส์  
 
เลือกเลย! 100 ธุรกิจแฟรนไชส์ ลงทุนไม่เกิน 50,000 (โครงการสร้างอาชีพเพื่อผู้มีรายได้น้อย) www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=3693 
 
8.เตรียมพร้อมก่อนเปิดกิจการ
 

หลังจากได้รับการคัดเลือกจากเจ้าของแฟรนไชส์แล้ว ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องเข้ารับการฝึกอบรมการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ตามมาตรฐานที่แฟรนไชส์ต่างๆ กำหนดไว้ รวมถึงสรรหาบุคลากรที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจการ 
 
กรณีประสบปัญหาด้านบุคลากร ทางแฟรนไชส์ซอร์หลายๆ แบรนด์จะช่วยดำเนินการสรรหา และฝึกอบรมบุคลากรให้เลย โดยในช่วงแรกของการดำเนินกิจการ เกือบทุกแฟรนไชส์จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ มาช่วยดูแลและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจการ เปรียบเสมือนเป็นพี่เลี้ยงให้แฟรนไชส์ซี หากเกิดปัญหาก็สามารถขอคำปรึกษาจากแฟรนไชส์ซอร์ได้ตลอดเวลา 
 
ทั้งหมดเป็น 8 ขั้นตอนในการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องแฟรนช์มาก่อน เพียงแต่ถ้าสนใจลงทุนแล้ว ก็ค่อยศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อให้ได้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบ และมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 

Franchise Tips
  1. หาข้อมูลแฟรนไชส์ที่ชอบ 
  2. มองหาทำเลที่ตั้งแฟรนไชส์ 
  3. ติดต่อพูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์
  4. วิเคราะห์เปรียบเทียบแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์
  5. เริ่มดำเนินการเจรจาซื้อแฟรนไชส์ที่เลือก
  6. หาแหล่งเงินลงทุน
  7. ดำเนินการของสินเชื่อ
  8. เตรียมพร้อมก่อนเปิดกิจการ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
7 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567
6,336
รวม 10 แฟรนไชส์ขายดี หน้าร้อน เป็นเจ้าของร้านได้..
875
แฟรนไชส์ธุรกิจยานยนต์ ยอดขายโต ยอดบริการโตกว่า!
536
เจาะใจ! แฟรนไชส์ซี “คาเฟ่ อเมซอน” พร้อมเทคนิคสมั..
502
จริงมั้ย? ลงทุนแฟรนไชส์ ไก่ย่าง 5 ดาว ได้ไม่คุ้ม..
500
แฉ! ทุกข์แฟรนไชส์ซี ทำไมเลิกสัญญาแฟรนไชส์ ยากกว่..
481
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด