บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
10K
3 นาที
24 กรกฎาคม 2561
ประวัติศาสตร์แฟรนไชส์ ที่โลกต้องรู้!

 
เชื่อว่าหลายๆ คนอาจคิดว่า “เรย์ คร็อกซ์” แห่งแมคโดนัลด์ เป็นบิดาของระบบแฟรนไชส์ของโลก แต่จริงๆ แล้ว รูปแบบของแฟรนไชส์โลก ได้ริเริ่มมาก่อนหน้านี้แล้ว วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ 
 
รูปแบบของแฟรนไชส์โลก เริ่มมาจากบริษัททำรางรถไฟ และบริษัทสาธารณูปโภค ที่พยายามหาทางเร่งการเติบโตของบริษัทฯ โดยการขายสิทธิ์ที่ได้รับสัมปทาน รวมทั้งขายชื่อของกิจการ และขายระบบการทำงานของตัวเองให้ผู้อื่น ด้วยวิธีนี้เอง เกิดผลดีเกินคาด หน่วยงานแห่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กันนี้ ขยายตัวอย่างรวดเร็วจากเมืองหนึ่งสู่อีกเมืองหนึ่ง 
 
อย่างไรก็ตาม ระบบแฟรนไชส์เริ่มมีเค้าโครงที่ชัดเจนขึ้นมาระดับหนึ่ง โดยบริษัท ขายจักร ซิงเกอร์ ในปี 1850 ซิงเกอร์นั้นเป็นผู้ให้ความรู้ระบบการค้าปลีกแก้ร้านลูกข่ายเป็นครั้งแรก 
ซึ่งถือเป็นต้นแบบเสมือนเป็นแฟรนไชซอร์ ซิงเกอร์นั้นใช้วิธีสร้างเครือข่ายการขายปลีกด้วยระบบพนักงาน และการเป็นดีลเลอร์ ซึ่งกลุ่มที่เป็นเครือข่ายเหล่านี้ จะต้องจ่ายค่าสิทธิ์ในการเป็นผู้จัดจำหน่าย ในระดับภูมิภาค 
 
และถึงแม้ว่าการจัดการในระบบของซิงเกอร์จะไม่สมบูรณ์ และไม่ประสบความสำเร็จนักหลังจาก 10 ปี การดำเนินงานรูปแบบนี้ขาดความต่อเนื่อง แต่ก็นับได้ว่า ซิงเกอร์ คือผู้หว่านเมล็ดพันธ์ของระบบแฟรนไชส์ให้กับ ผู้สร้างระบบแฟรนไชส์ใหม่ ในอนาคตได้นำวิธีต้นแบบนี้ไปใช้ จนกลายเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกในที่สุด
 
อุตสาหกรรมรถยนตร์ ปั้มน้ำมัน และผู้ผลิตเครื่องดื่ม คือ เป็ปซี่และโคคา โคล่า คือผู้ที่จูนระบบของแฟรนไชส์มาปรับใช้ในช่วงระหว่างท้ายของ ทศวรรษที่ 1800 จนถึงต้นศตวรรษที่ 19 อันเนื่องมาจาก การขาดแคลนช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าของ พวกเขา บริษัทฯเหล่านี้ไม่มีเงินทุนมากพอ ที่จะซื้อทรัพย์สิน สร้างโรงงาน หรือลงทุนเปิดร้านค้าจำนวนมาก เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า หรือลงทุนจ้างผู้จัดการเสมียน และพนักงาน 
 
อย่างเช่นในกรณีของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ระบบการขนส่งทางไกลนั้น ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่ายเกินไป ดังนั้น แทนที่จะส่งสินค้าไปสต๊อกไว้ ก็เกิดการใช้วิธีขายแฟรนไชส์ให้ใครก็ตามที่จะสามารถรับผิดชอบ การดำเนินงาน รวมทั้งสามารถคิดวิธีการ การกระจายสินค้าได้ 
 
วิธีการขยายธุรกิจปั้มน้ำมัน และเครื่องดื่มบรรจุขวดที่เรียกว่า "Product Franchise" ที่ให้สิทธิ์การผลิต และตราสินค้าเพียงรายเดียว ในการขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในอาณาเขตที่ระบุ ซึ่งวิธีนี้ได้รับความสำเร็จมากจนทำให้ บรรยากาศของระบบแฟรนไชส์โดดเด่นขึ้น แต่วิธีการให้สิทธิตัวผลิตภัณฑ์ (Product Franchise) นี้ ก็เริ่มเสื่อมถอยลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการเติบโตของระบบ แฟรนไชส์ได้เข้ามาแทนที่ ที่เรียกกันว่า "Business Format Franchise" หรือ แฟรนไชส์เต็มรูปแบบ 
 
เรย์ คร็อก ผู้ปฏิวัติระบบแฟรนไชส์โลก 
 
 
ภาพจาก goo.gl/nf1zge

อย่างไรก็ตาม บรรยากาศแฟรนไชส์ได้ถูกเติมพลังอย่างรวดเร็ว เมื่อ เรย์ คร็อก ได้นำแมคโดนัลด์เข้ามาในกลางปี 1950 โดยการสังเกตรูปแบบฟาสต์ฟู้ดแฟรนไชส์ 

ในระหว่างที่เขาเดินทางไปยังเมืองต่างๆ ในช่วงที่เขาเป็นเซลล์แมน คร็อกนั้นได้เข้าถึงระบบแฟรนไชส์ และมองเห็นจุดอ่อน และจุดแข็งของระบบนี้ เขาใช้มันมาทำการสร้างแมคโดนัลด์ จากการใช้แฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบ (Business Format Franchise) นี้เอง 
 
เขาประสบความสำเร็จอย่างสูง ในการสร้างธุรกิจเล็กๆ ให้เป็นธุรกิจขนาดมหึมาที่หลุดจากการเป็นเพียงภัตตาคาร แฮมเบอร์เกอร์ คร็อกนั้นคือผู้ที่มีผลกระทบต่อการตื่นตัวที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ผู้คน และบริษัทฯทั้งหลาย ได้คิดถึงการขยายธุรกิจด้วยวิธีแบบเขา
 
ในขณะที่มหาชนได้เห็น และยอมรับว่า เรย์ คร็อก คือราชาแห่งแฮมเบอร์เกอร์ และเป็นแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ธรรมดาเลยเหนือสิ่งอื่นใด เรย์ คร็อก ไม่ใช่คนที่ประดิษฐ์ แฮมเบอร์เกอร์ แมคโดนัลด์ (เจ้าของที่คิดสูตรอาหาร เป็น 2 พี่น้องตระกูล แมคโดนัลด์) เขาไม่ใช่คนสร้างร้านฟ้าสต์ฟู้ด ไม่ใช่ผู้คิดระบบแฟรนไชส์ แต่เขาคือผู้ที่ทำให้มันดีขึ้น สู่การยกระดับที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน 
 
แล้วหลังจากนั้น เขาก็ขายมันทั้งคอนเซ็ปต์ จากร้านแฮมเบอร์เกอร์ 1 แห่ง ที่ตั้งอยู่กับที่ สู่ที่เรียกกันว่า แฟรนไชส์ซี และเกิดขึ้นตลอดทั่วทั้งอเมริกา คร็อกคือผู้ประยุกต์ระบบแฟรนไชส์ เขาเปรียบเสมือนนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ของอเมริกา 
 
ก่อนหน้านี้ก็คือ เฮนรี่ ฟอร์ด ผู้ที่ประยุกต์การผลิตรถยนต์ อันเป็นสาเหตุเดียวกันที่บุคคลทั้ง 2 กลายเป็นผู้ที่ถูกล่าวขานถึงความสำเร็จ ที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อโครงสร้าง เศรษฐกิจของอเมริกา 
 
ประวัติแฟรนไชส์แต่ละยุค


โมเดลธุรกิจแบบแฟรนไชส์เริ่มในสมัยยุคกลางรัฐบาลท้องถิ่นได้มอบอำนาจให้โบสถ์และบุคคลสำคัญรักษาความเป็นระเบียบและจัดเก็บภาษีราษฎร รัฐบาลให้สิทธิ์แก่โบสถ์และบุคคลสำคัญในพื้นที่ต่างๆ ให้ระดมความคิดและทำกิจกรรมทางธุรกิจ แฟรนไชส์แรกจึงเป็นการจ่ายภาษีของราษฎรในพื้นที่ต่างๆ เพื่อที่จะได้รับการปกป้อง
 
ยุคอาณานิคม
 
ลอร์ดท้องถิ่นจะให้สิทธิแก่ประชาชนในการถือครองตลาดเรือ ค้าขายสินค้า หรือแม้แต่การล่าสัตว์ในยุคนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ยังเป็นการเก็บภาษีของประชาชนเพื่อรับการปกป้องจากขุนนางและกษัตริย์

ปีทศวรรษ 1840

ในยุคนี้มีนักต้มเบียร์ชาวเยอรมันชื่อ สพาเท็น ร้านเบียร์ท้องถิ่น เจ้าของโรงเตี๊ยมต่างต้องการเบียร์นี้มาขาย จึงได้จ่ายเงินเพื่อใช้ชื่อแบรนด์ของเบียร์นี้มาขายในร้านของตน

ปีทศวรรษ 1880

แฟรนไชส์ในยุคปัจจุบันเริ่มมาจากยุคนี้ นายไอแซค เมอร์ริท ผู้ก่อตั้ง ไอ.เอ็ม. ซินเกอร์ แอนด์ คอมแพนนี และ เป็นผู้ประดิษฐ์จักรเย็บผ้าที่มีชื่อเสียง เขาได้จดสิทธิบัตรของจักรเย็บผ้านี้และได้ขายให้ผู้ที่ต้องการ รวมทั้งสอนวิธีการใช้จักรเย็บผ้านี้ด้วย

 
ปลายทศวรรษ 1800
 
ผู้ผลิตรถยนต์ต้องการหาทางจำหน่ายรถยนต์ หนึ่งในแนวทางใหม่ในการจำหน่ายรถยนต์ คือ ในปีค.ศ. 1896 , วิลเลียม แมทซ์เกอร์ สร้างและเปิดตัวแทนจำหน่ายรถยนต์แห่งแรกในเดทอย มิชิแกน เมื่อเวลาผ่านไปตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เริ่มเพิ่มขึ้นทุกหนทุกแห่ง ทำให้เฮนรีฟอร์ดและผู้จำหน่ายรถยนต์รายอื่นๆ ขยายตัวเป็นเครือข่ายแฟรนไชส์เพื่อจำหน่ายรถยนต์ของตน  

 
เริ่มทศวรรษ 1900

ประชาชนจำนวนมากซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้น บริษัทน้ำมันก็เปิดสถานีเติมน้ำมันเพิ่มมากขึ้น บ้างก็เกิดขึ้นมาเป็นแฟรนไชส์ เช่น ยี่ห้อเชฟรอน ที่ยังเป็นแฟรนไชส์อยู่ทุกวันนี้ แฟรนไชส์ร้านอาหารก็เริ่มเกิดขึ้นในปีนี้
 
ปีทศวรรษ 1960
 
เรย์ ครอก เป็นผู้ให้กำเนิดแฟรนไชส์ McDonald ที่แรกในปี ค.ศ.1955 ใน เดส เพลนเนส และขยายสาขาถึง 500 สาขาใน 8 ปี ในปัจจุบันมีมากกว่า 34,000 สาขา

ปีทศวรรษ 1970 ถึง 1990
 
แฟรนไชส์บูมมากในปลายปี ศตวรรษ 1950 ถึงจบปีศตวรรษ 1960 แฟรนไชส์เริ่มมีปัญหาในปีศตวรรษ 1970 เพราะ สูญเสียการสนับสนุนแฟรนไชส์ที่ขายออกไป บวกกับบางแฟรนไชส์ถูกบิดเบือนความจริงบางอย่างหลังจากผ่านช่วงแก้ไขปัญหามาแล้ว แฟรนไชส์กลับมาเริ่มต้นอีกครั้งในปลายศตวรรษ 1980 และต้นศตวรรษ 1990
 
ปีทศวรรษ 2000 และอื่นๆ
 
รูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและปรับตัวให้เข้ากับความต้องการอยู่เสมอ

 
ความจริงที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน! แฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกา

คาดคะเนว่ามี แฟรนไชส์ 3,383 สาขา ที่ดำเนินการในสหรัฐ ในปลายปี 2018 คาดคะเนว่าจะมีแฟรนไชส์ซี่เปิดดำเนินการแล้วกว่า 759,236 สาขา โดย 50% เป็นแบรนด์แฟรนไชส์ท้องถิ่น 34 % เป็นแบรนด์แฟรนไชส์ภูมิภาคอื่น ทั้งนี้ 1 ใน 7 ธุรกิจในอเมริกาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งนั้น
 
ไอเอฟเอ คาดคะเนว่าจำนวนแฟรนไชส์จะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 1.6% ในปี 2017 และการจ้างงานของแฟรนไชส์จะเพิ่มขึ้น 3.7% ในปี 2018

โดยเฉลี่ยแล้ว มีแบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์เกิดใหม่ 1-2 แฟรนไชส์ในแต่ละวัน
 
เฉลี่ยมี 300 แบรนด์ ที่เพิ่งเริ่มต้นในระบบแฟรนไชส์ใหม่ต่อปี ประมาณ 53% ของแฟรนไชส์ทั้งหมดในสหรัฐถูกควบคุมแบบหลายหน่วยงาน 29 อุตสาหกรรมใช้ระบบแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่กระจายสินค้าออกไปกว่า 226 สาขา
 
รูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ทำให้มีการจ้างงาน 7.6 ล้านงาน และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 674.3 พันล้านดอลล่าร์ สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ เช่น 2.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสหรัฐ (GDP)
 
สำหรับสถิติธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร 37% และธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทอื่นๆ 63% โดยเฉลี่ยแล้วใช้งบประมาณลงทุนในธุรกิจแฟนไชส์ต่ำกว่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 8,335,730 บาท อาจกล่าวได้ว่าระบบแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกา ไม่ได้ถูกขับเคลื่อนโดยธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร
 
แตกต่างจากตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ที่ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มอาหารมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด คิดเป็นสัดส่วนกว่า 23% รองลงมาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์เครื่องดื่มและเบเกอรี่ โดยในปี 2560 ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์มีมูลค่าการเติบโตสูงถึง 200,000 ล้านบาท คาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 230,000 ล้านบาท ในปี 2561 หรือคิดเป็นร้อยละ 15 
 
จะเห็นได้ว่าระบบแฟรนไชส์ของโลก มีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ว่ากันว่าระบบแฟรนไชส์เริ่มมีเค้าโครงจากบริษัทขายจักร คือ ซิงเกอร์ โดยบริษัทแห่งนี้เป็นผู้ให้ความรู้ระบบการค้าปลีกแก่ร้านค้าลูกข่ายเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1850 (พ.ศ.2393)  
 
ขณะที่ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย มีการริเริ่มมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ธุรกิจแรกๆ ที่พยายามผลักดันการขยายงานรูปแบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจด้านอาหารและร้านค้าแบบมินิมาร์ท โดยแรกๆ คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักแฟรนไชส์มากนัก 
 
จะรู้ก็เฉพาะกลุ่มคนที่มีฐานะทางการเงินดีไปเที่ยวต่างประเทศ จนกระทั่งร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 เริ่มเปิดในเมืองไทย ดูเหมือนจะเป็นแฟนไชส์แรก ที่เข้ามาขยายกิจการหลายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์ แตกต่างจากสหรัฐอเมริกาที่มักเป็นธุรกิจ Fast Food และการเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างมีตลาดกว้าง ทำให้ 7-11 ได้รับความนิยมและขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://bit.ly/2AywOvr
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี ทำธุรกิจ https://bit.ly/2Jatqq2
 

ที่มา: https://goo.gl/PPoieH
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,674
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,785
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,911
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด