บทความทั้งหมด    บทความค้าขาย    การบริหารจัดการร้านค้า    บริหารสต็อก
6.1K
3 นาที
14 กันยายน 2561
10 เทคนิคลงทุนร้านค้าปลีก ไม่ต้องเสี่ยงขาดทุนอีกต่อไป

 
เป็นกระแสที่ดังอยู่พักใหญ่สำหรับข่าวการปิดตัวของบรรดาร้านค้าปลีก หรือการยุบสาขาของกิจการในต่างประเทศโดยเฉพาะในอเมริกาที่ว่ากันว่าปิดตัวไม่ต่ำกว่า 3,500 สาขา แม้แต่ร้านค้าปลีกในประเทศไทยเองก็มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมยุคใหม่ทำให้ร้านค้าปลีกที่เคยรุ่งโรจน์ในอดีตปิดตัวกันไปไม่น้อยเช่นกัน
 
อย่างไรก็ดี www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าโครงสร้างของร้านค้าปลีกในเมืองไทยกับต่างประเทศมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควรตรงกับผลสำรวจของ Nielsen Thailand ที่รายงานว่า จำนวนร้านโชห่วยในประเทศไทยช่วง10 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีตัวเลขผู้ประกอบการเข้า-ออกที่เป็นบวกมากกว่าติดลบ นั่นหมายถึงสัญญาณที่ดี โดยจำนวนร้านค้าค่อยๆ เพิ่มจำนวนจาก 300,000 ร้านค้า มาเป็น 400,000 ร้านค้าในปัจจุบัน
 
ดังนั้นเราต้องแยกแยะเหตุผลในการปิดกิจการของร้านค้าปลีกให้ชัดเจน บางคนปิดกิจการเพราะไม่มีลูกหลานมาทำต่อ บางคนปิดกิจการเพราะไม่จำเป็นต้องทำลูกหลานโตทำงานได้หมดแล้ว  ส่วนที่ปิดกิจการเพราะไปไม่ไหวไปไม่รอด ในความเป็นจริงอาจจะมีเป็นส่วนน้อยเพราะฐานลูกค้าของร้านค้าปลีกส่วนใหญ่ยังแข็งแกร่ง
 
แต่ใช่ว่าเห็นด้านดีและตัวเลขที่เป็นบวกเช่นนี้จะไม่คิดปรับปรุงธุรกิจร้านค้าปลีกตัวเอง อันนี้ก็คงไม่ใช่หนทางที่ดีนัก ด้วยสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงไปมีการใช้เทคโนโลยีในการทำธุรกิจมากขึ้น รวมถึงตลาดออนไลน์ที่มาแรง

หากร้านค้าปลีกยังมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองเคยประสบความสำเร็จอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ธุรกิจพังไม่เป็นท่า ดังนั้นลองมาดู 10 เทคนิคการลงทุนร้านค้าปลีกในยุคนี้ว่าเราควรทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ต้องเสี่ยงขาดทุนอีกต่อไป
 
1.สร้างกำลังใจให้ตัวเองก่อน
 
ภาพจาก  goo.gl/Pj69Qr

สำหรับร้านค้าปลีกหากเจ้าของกิจการมัวแต่คิดว่าไม่สามารถต่อสู้กับร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ได้ กำลังใจที่จะทำร้านค้าคงไม่มี เพราะการคิดในแง่ลบเพียงอย่างเดียวจะก่อให้เกิดความกลัวที่จะผิดพลาด ล้มเหลว และแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับทัศนคติไม่ออก แต่เมื่อใดที่เจ้าของร้านรู้สึกภูมิใจในกิจการของตนเอง ความรู้สึกพอใจในสิ่งที่มีจะช่วยลดความเครียด และหันมาโฟกัสการทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้นได้
 
2.บริหารจัดการธุรกิจใหม่
 
ภาพจาก goo.gl/HRQGLh

มีอะไรบ้างที่ร้านค้าปลีกควรปรับปรุงให้สู้ร้านสะดวกซื้อได้ เริ่มจาก การจัดทำบัญชีสินค้า เพื่อให้รู้ต้นทุนตัวเองอย่าใช้เพียงแค่ความจำเหมือนในอดีต การทำสต็อกยังมีข้อดีที่ทำให้เรารู้ว่าสินค้าตัวไหนขายดี หรือขายไม่ดีจะได้คำนวณการสั่งเข้าสินค้าในร้านได้ และเรื่องสำคัญอีกประการคือการจัดเรียงสินค้า ควรแบ่งเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบให้ง่ายต่อการหาสินค้า มีหลักการวางสินค้าง่ายๆ คือ มีสินค้าอะไรที่ต้องใช้ด้วยกันก็วางใกล้กัน เช่น ผงซักฟอกกับน้ำยาปรับผ้านุ่ม แชมพูกับครีมนวดผม เป็นต้น ส่วนวิธีการเรียงสินค้าอาจจะใช้การเรียงตามสรีระร่างกาย เช่น จัดวางสินค้าลงมาจากใบหน้า, ศีรษะ, ลำตัว เป็นต้น
 
3.นำสินค้าที่ตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่มาขาย
 
ภาพจาก  goo.gl/c3Y68R

โดยทั่วไปเราจะเลือกสินค้าวางในร้านจากความคิดตัวเองที่คิดว่าน่าจะขายได้ แต่จะดีกว่า ถ้าลองสังเกตว่ารอบๆ ร้านเรามีกลุ่มคนหรือสถานที่สำคัญรอบๆ อยู่หรือไม่ ปกติแล้วร้านค้าปลีกชุมชนหนึ่งร้านจะสามารถรองรับครัวเรือนประมาณ 100-200 ครัวเรือน แต่ถ้าบริเวณร้านค้ามีแหล่งชุมชน เช่น โรงเรียน, โรงงาน, โรงพยาบาล หรือหอพัก การคัดเลือกสินค้าที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มคนเหล่านี้มาวางขายจะเพิ่มโอกาสทางการขายได้อีกทางหนึ่ง   
 
4.สร้างความประทับใจให้เกิดขึ้น
 
ภาพจาก goo.gl/e2tPKv

เรียกว่าเป็น First Impression ที่ร้านค้าปลีกในอดีตไม่ค่อยคิดถึง เราต้องให้ความสำคัญกับความสะอาด  ความสว่างของแสงไฟ ป้ายร้านที่โดดเด่น  และถ้าจะให้ดียุคนี้ต้องเพิ่มเติมความสะดวกสบายอื่นๆ เช่นมีตู้เอทีเอ็ม ตู้จำหน่ายน้ำดื่ม ตู้เติมเงิน ฯลฯ ซึ่งจะเพิ่มความประทับใจและทำให้ลูกค้าจดจำร้านค้าของเราได้ง่ายขึ้น
 
5.ใช้จุดแข็งสร้างร้านตัวเองให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน
 
ภาพจาก goo.gl/3bp7kU

เราอาจเคยได้ยินคำว่า “สภากาแฟ” นั้นคือจุดแข็งของร้านค้าปลีกในสมัยก่อนที่คนมักมานั่งพูดคุย ปรึกษา กลายเป็ฯแหล่งรวมข่าวสารในหมู่บ้านที่ใครอยากรู้อะไรก็มักมาถามที่ร้านค้าปลีก ในยุคนี้ก็เช่นกันเราต้องขยายจุดแข็งนี้ให้ดียิ่งขึ้น เช่นการจัดพื้นที่สำหรับใส่บาตรในตอนเช้า, การมีโต๊ะหินอ่อนหน้าร้านให้คนมานั่งอ่านหนังสือพิมพ์ หรือการให้ร้านค้าเป็นที่ประชุมของชุมชน เป็นต้น
 
6.ราคาต้องชัดเจน
 
ภาพจาก goo.gl/EFbtYX

เอาจุดแข็งของร้านสะดวกซื้อมาให้กับร้านค้าปลีกได้โดยเฉพาะการติดป้ายราคาที่คนส่วนใหญ่อยากรู้ว่าสินค้าชิ้นนี้ราคาเท่าไหร่ จะได้คำนวณได้ว่าควรซื้อไม่ควรซื้อ  การไม่ติดป้ายราคาเหมือนที่เคยทำในอดีตก็จะทำให้คนรู้สึกไม่เชื่อมั่นว่าเราจะขายเกินราคาไหม จะขายแพงเกินไปหรือเปล่า ทำให้คนไม่กล้าตัดสินใจซื้อสินค้า
 
7.ยุคนี้ต้องมีโปรโมชั่นและกิจกรรมให้ร่วมสนุก
 
ภาพจาก goo.gl/aCH4hZ

เราสังเกตว่าร้านสะดวกซื้อมักใช้กลยุทธ์การตลาดพวกโปรโมชั่น หรือสะสมแสตมป์แลกของรางวัล ก็กระตุ้นให้คนมาซื้อสินค้าได้มาก ในฐานะร้านค้าปลีกเราก็ปรับตัวใช้กลยุทธ์เหล่านี้ได้เช่นกัน แต่ต้องเป็นโปรโมชั่นที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่นการสะสมแต้มเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อของครั้งต่อไป หรือการให้ของขวัญวันเกิดแก่ลูกค้าที่มาซื้อเป็นประจำ ซึ่งการจดจำข้อมูลลูกค้าได้ก็ถือเป็นการทำให้ลูกค้าประทับใจได้อีกทางหนึ่ง
 
8.เพิ่มการตลาดออนไลน์
 
ภาพจาก goo.gl/qWfaVu

เป็นจุดอ่อนที่ทำให้ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่ไปไม่รอด ยุคนี้การโฆษณามีผลมาก และการทำตลาดในโลกออนไลน์ก็ไม่ได้เสียหายอะไรนัก ตรงกันข้ามจะช่วยเพิ่มยอดขายให้เราได้ด้วย แต่ทั้งนี้เราต้องมีวิธีบริหารจัดการที่ดี มีการจัดส่งของที่มีคุณภาพและตรงเวลา  ซึ่งหากร้านค้าปลีกรู้จักผนวกเอาเทคโนโลยีโซเชี่ยลมาให้ด้วย ยังไงก็ไม่มีวันเจ๊งแน่นอน
 
9.เพิ่มช่องทางการชำระเงินที่ทันสมัย
 
ภาพจาก goo.gl/HpRNSJ

ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่มักมีสโลแกนของร้านว่า จ่ายสด งดเชื่อ เบื่อทวง นั้นคือความจริงของการค้าในสมัยก่อนที่ใช้เงินสดเป็นหลัก แต่ยุคนี้มีนวัตกรรมทางการเงินมากมายที่ลูกค้าไม่ต้องพกเงินสด ซึ่งก็เป็นร้านค้าที่ต้องก้าวตามเรื่องนี้ให้ทันมีการติดตั้งเครื่องชำระเงินทั้งแบบที่เป็นแอพพลิเคชั่น หรือเครื่องรูดบัตรต่างๆ  อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากแต่จำเป็นต้องทำหากจะปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้ายุคใหม่
 
10.สร้างพันธมิตรให้ธุรกิจแข็งแกร่งขึ้น

ภาพจาก goo.gl/p7ZhJb

การเลือกเข้าเป็นพันธมิตรกับซัพพลายเออร์รายใหญ่ก็เป็นอีกทางเหลือหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งที่ผ่านมาทางบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ก็มีการจัดทำโครงการในลักษณะดังกล่าว ภายใต้ชื่อ ร้านติดดาวร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการติดป้ายร้านติดดาว และมีวัสดุตกแต่งร้านที่เหมือนกันทั่วประเทศ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการทำ In-Store Media, ทำคาราวาน วิทยุชุมชน, โฆษณาโทรทัศน์, ทำสื่อสนับสนุนนอกร้าน รวมไปถึงการทำบิลบอร์ดและโปสเตอร์ ทำให้ธุรกิจค้าปลีกเราเติบโตขึ้นได้แน่นอน
 
จะเห็นได้ว่าสารพัดวิธีในการเปลี่ยนตัวเองของร้านค้าปลีกนั้นมีทั้งการเสริมจุดแข็งตัวเองให้แกร่งยิ่งขึ้นหรือการลบจุดอ่อนตัวเองให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ของผู้ลงทุนว่าจะจริงจังในการปรับเปลี่ยนนี้แค่ไหน ร้านค้าปลีกยังเป็นธุรกิจที่อยู่ได้ เพียงแต่หากไม่รู้จักปรับตัวก็คงอยู่ยาก โอกาสในการเจ๊งหรือไม่เจ๊งอยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้ลงทุนล้วนๆ
 

SMEs Tips
  1. สร้างกำลังใจให้ตัวเองก่อน
  2. บริหารจัดการธุรกิจใหม่
  3. นำสินค้าที่ตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่มาขาย
  4. สร้างความประทับใจให้เกิดขึ้น
  5. ใช้จุดแข็งสร้างร้านตัวเองให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน
  6. ราคาต้องชัดเจน
  7. ยุคนี้ต้องมีโปรโมชั่นและกิจกรรมให้ร่วมสนุก
  8. เพิ่มการตลาดออนไลน์
  9. เพิ่มช่องทางการชำระเงินที่ทันสมัย
  10. สร้างพันธมิตรให้ธุรกิจแข็งแกร่งขึ้น
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ goo.gl/UraBZ4
 
บทความค้าขายยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ทีมไหน! หา"ทำเล"ก่อนทำธุรกิจ vs เลือก "ธุรกิจ" ก..
406
บทความค้าขายมาใหม่
บทความอื่นในหมวด