บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    เรื่องราวความสำเร็จ
5.2K
2 นาที
23 มิถุนายน 2550
บาห์เรน : ธุรกิจเบ่งบานแห่งตะวันออกกลาง 
 
วันที่ผมสัมผัสเมืองแห่งนี้สิ่งที่ยากที่สุด คือการออกเสียงชื่อของประเทศที่ชาวพื้นเมือง จะออกเสียงอาร์ที่ต่างจากสำเนียงตามลิ้นคนไทย เมื่อเรียกชื่อจะต้องออกเสียงด้วยเสียง บา-ห- เรน คำว่าเรนนั้นต้องเป็นอาร์ที่อยู่ในลำคอแบบเสียงอาร์ในภาษาฝรั่งเศษ ซึ่งสำหรับผมจนแล้วจนรอดก็ทำไม่ได้ แน่นอนครับก็เลยต้องจบลงด้วยสำเนียงเราๆมากว่า บา-เรน ตามเดิม
 
ถ้ายกประเทศเล็กๆนี้มาให้ดูก็คงจะเห็นได้ว่า พื้นที่ทั้งหมดเป็นเกาะนั่นเองสภาพที่มีทะเลล้อมรอบท่ามกลางเหล่าประเทศที่เป็น ทะลทรายอากาศร้อนแบบตะวันออกกลางจึงดูแปลกไป บาห์เรนนั้นในภาษาอาราบิค ที่เรามักเรียกว่า ภาษาอาหรับ มีความหมายแปลตรงตัวว่า ทะเลทั้งสอง (Two Seas) ก็คงเพราะด้วยมีทะเลล้อมทำให้ธรรมชาติแบ่งประเทศ บาหเรน ออกจากอีกสองประเทศคืออาหรับและอิหร่านนั่นเอง และอีกนัยยะก็คือความเป็นประเทศที่มีทั้งน้ำจืดบนบก และขยับไปอีกนิดก็เป็นน้ำเค็มคือทะเลนั่นแหละ ความที่เป็นประเทศที่มีสองทะเลจึงกลายเป็นประเทศแห่งสองทะเลตามคำแปลของ “บาห์เรน” 
 
ประเทศที่ใกล้ชิดกับบาหเรนมากที่สุดน่าจะเป็น ซาอุดิอาราเบีย ที่สามารถสร้างสะพานขนาดใหญ่เชื่อมประเทศทั้งสองเข้าหากัน ซึ่งแต่เดิมนั้นการไปมาหาสู่การทำการค้ายังไม่สะดวก อย่างทุกวันนี้ตัวสะพานที่กลายเป็นถนนที่เรียกว่า คอร์สเวย์ เชื่อมประเทศไปมาหาสู่กันนี้เริ่มเปิดใช้งานล่าสุดเมื่อช่วง ธันวาคม ปี 1986 มานี่เอง และปัจจุบันก็ยังกำลังสร้างทางด่วนเชื่อมกับ ประเทศกาตาร์ที่เพิ่งจัดเอเซี่ยนเกมส์ไปเมื่อเร็วนี้ด้วย เรียกได้ว่า คนรวยทำอะไรไม่น่าเกียจได้เลยสำหรับกรณีนี้.....
 
บาห์เรน ถือว่าเป็นประเทศที่เป็นเกาะมีขนาดพื้นที่ของประเทศสูงสุดประมาณ 711 ตารางกิโลเมตร โดยมีประชากรเพียง 724,645 คนและมีอัตราขยายตัวปีละ 1.45% ดังนั้นชีวิตความเป็นอยู่จึงต้องอาศัยคนชาติอื่นเข้ามาทำงาน เป็นทั้งประเภทคนงานทั้งมีฝีมือและไร้ฝีมือ ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้างจนกระทั่งถึงการบริหารงานในธุรกิจ คนที่เข้าไปอยู่ทำงานในบาห์เรนนั้นจะมีตั้งแต่ คน อิยิป คนอินเดีย อินโดนีเซีย ส่วนไทยนั้นยังมีไม่มากมากนัก และอีกมากมาย คนบาหเรนที่เป็นคนพื้นเมืองจะใช้ภาษาทางการเป็นภาษาอาหรับและมีภาษาอังกฤษ เป็นภาษารองลงมาแต่ใช้กันอย่างกว้างขวางสบายๆ เนื่องจากถือว่าเป็นเมืองการค้าแห่งหนึ่งของตะวันออกกลางเช่นเดียวกับ ดูไบด้วย 
 
บาห์เรน นั้นมีเมืองหลวงชื่อ มานามา Manama โดยทั้งประเทศมีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 5 เขต คือ เมืองหลวงคือ มานามา และเขตกลางที่เรียกว่า Central ต่อมาก็คือ มูฮารัค Muharraq และอีกสองเขต คือเขตเหนือและเขตใต้ 
 
วิธีการบริหารประเทศของประเทศที่มีขนาดเล็กและเป็นเกาะนั้นไม่รู้เลียนแบบกัน หรือเปล่าที่พยายามสร้างจุดดึงดูดในแง่การค้าให้มากที่สุด และเรื่องหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือคือ เรื่องของภาษี 
 
การจัดเก็บระบบภาษีที่นี้จะไม่มีการเก็บยิบย่อยมากมายตามอย่างประเทศสารขันธ์ อย่างเช่นไม่มีการจ่ายภาษีรายได้ส่วนบุคคล ไม่มีภาษีด้านมรดก หรือการจัดเก็บภาษีที่เกิดจากการเงินฝาก และยกเลิกระบบภาษีอีกหลายแบบ รวมทั้งไม่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกว่า VAT แบบบ้านเราด้วย ที่จะมีหลักๆก็คือภาษีนำเข้าบ้างเท่านั้น 
 
นโยบายดังกล่าวถือว่าเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับ การเป็นประเทศเปิดทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของ บาหเรนนั้นเติบโตสูงมากๆ และด้วยทฤษฎีทางการค้าที่เน้นการเปิดโอกาสการลงทุนของต่างชาติได้เต็มที่ บาห์เรนจึงอนุญาติให้ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นส่วนได้ 100 % ไม่ต้องอาศัยนอมินีให้มีปัญหา

การแลกเปลี่ยนเงินตราค่อนข้างเปิดกฎข้อบังคับมีไม่มาก ส่วนค่าของเงินของบาห์เรนนั้นเราเรียกว่า เงินดีนาร์ Bahraini Dinar ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนแบบนักท่องเทียวแบบผมก็จะคิดง่ายๆว่า หนึ่งดีนาร์ก็เท่ากับหนึ่งร้อยบาทบ้านเรา เพราะหนึ่งเหรียญดีนาร์ก็จะเท่ากับ 2.6 เหรียญสหรัฐพอแปลงเป็นเงินไทยก็ตกราว 95 -98 บาทคิดง่ายก็เลยตบไปที่หนึ่งร้อยจะได้ซื้อของทำให้คิดยากขึ้นอีกนิด 
 
ด้วยที่ว่าคนพื้นเมืองที่นี่มีน้อยก็เลยต้องรักษากันมากหน่อย การทำงานทำการจะมีคนจากประเทศอื่นมาจัดการให้โดยตลอด เฉพาะแรงงานที่เข้าไปอยู่ใน “บาห์เรน” ก็ไม่น้อยกว่า สามถึงสี่แสนคนเข้าไปแล้ว กว่า 30% จึงกลายเป็นคนพลัดถิ่นเข้าไปอยู่เสียมาก ชีวิตในบาห์เรนเป็นประเทศที่เปิดกว้างมาก ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นชาวตะวันออกกลางที่อยู่ใกล้เคียงกัน บ้านนี้เมืองนี้มีทีวีสองช่องที่ถ่ายทอดสัญญาณและมีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกว่า 8 เล่ม

ถนนหนทางเรียกได้ว่าแจ๋ว ขับเร็วๆอาจจะบินได้ไปด้วย รถแท็กซี่มีให้เห็นตลอดแม้ว่าบางคันจะปิดแอร์และเปิดหน้าต่าง ให้ผู้โดยสารกินลมไปเรื่อยๆก็ถือว่าการบริการยังเข้าข่ายเป็นมาตรฐานครับ การเดินทางติดต่อทั้งทางรถ ทางเครื่องบินที่มีสนามบินที่ทันสมัยอย่างมาก และยังมีมาตรการการลงทุนอีกมากที่ต้องการกระตุ้น การเข้ามาลงทุนของคนต่างบ้านต่างเมือง 
 
การสร้างตลาดในตะวันออกกลางนั้นสำหรับประเทศของเราน่าจะมีโอกาสอยู่เพราะ เราเป็นประเทศที่ไม่ไกลจากพื้นที่เขามาก ความคุ้นเคยในเรื่องวัฒนธรรมและความพอใจส่วนตัว ของการท่องเที่ยวในบ้านเรานั้นเป็นสิ่งที่คนบาหเรนรู้จักเข้าใจ ความรู้สึกดีๆยังมีอยู่ อีกอย่างในฐานะที่เป็นประเทศตะวันออกกลาง ทียังไงก็ยังมีปัญหากับประเทศใหญ่แบบอเมริกาอยู่ เมื่อเป็นอย่างนี้ธุรกิจของอเมริกันนั้น จะไม่ค่อยตั้งเป้าเข้าไปขยายงานในพื้นที่นี้มากนัก 
 
ดังนั้นโอกาสที่จะไปเจอคู่แข่งเจ้าใหญ่รายเจ๋ง ก็น้อยลงไป จึงเปิดโอกาสสวยๆให้เราบ้าง 

ความรู้สึกของการสัมผัสกับประเทศบาห์เรนที่ไม่เคร่งครัดในการ ปฏิบัติตามหลักศาสนามากนักยังทำให้รู้สึกไม่ยากที่จะปรับตัว ความคิดทางการค้าของประเทศที่สร้างความเป็นสากลทำให้เปิดกว้าง แน่นอนในโอกาสแบบนี้ถ้าหลายคนมีโอกาสวันนี้ ธุรกิจที่บาห์เรน กำลังเบ่งบานและรอรับนักลงทุนมือดีอยู่ครับ 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,767
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,882
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,918
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,254
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด