บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
7.0K
2 นาที
15 มกราคม 2562
ทำไมแฟรนไชส์ลงทุนต่ำ มีโอกาสเจ๊งสูง!


ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นอีกรูปแบบการดำเนินธุรกิจหนึ่ง ที่เจ้าของกิจการ เจ้าของธุรกิจหลายๆ คนกระโดดเข้ามาทำ เพราะเห็นว่าขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ขณะที่คนอยากมีธุรกิจของตัวเอง มองเพียงว่าแค่มีเงินลงทุนก็สามารถเปิดร้าน หรือเป็นเจ้าของกิจการได้แล้ว ใครที่คิดแบบนี้ก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด

เพราะที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีธุรกิจแฟรนไชส์เกิดขึ้น หรือเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ก็มีธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ ปิดตัวลงไปหลังจากขายได้ไม่นาน ยิ่งเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่ใช้เงินลงทุนต่ำ ค่าแฟรนไชส์ไม่ถึงหลักแสนบาท แล้วอยากรู้หรือไม่ว่า เหตุผลหรือว่าทำไม? ธุรกิจแฟรนไชส์ลงทุนต่ำ โอกาสเจ๊งจึงมีสูง! วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะเล่าให้ฟัง
 
1.กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีไม่มีคุณภาพ


ภาพจาก goo.gl/images/mePWyY


โดยส่วนใหญ่แล้ว แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ราคาหลักหมื่น หลักพัน มีโอกาสเจ๊ง โดยปัญหาสำคัญมาจาก กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานเข้ามาเป็นสมาชิก เห็นคนซื้อแฟรนไชส์จ่ายเงินค่าแฟรนไชส์เข้ามา แฟรนไชส์ซอร์ก็รีบขายเลย โดยไม่ดูให้ดีว่า คนซื้อแฟรนไชส์เหล่านั้น เหมาะสมที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ติดป้ายแบรนด์ของตัวเองหรือไม่
 
พอคนซื้อแฟรนไชส์มีจำนวนเยอะขึ้น สาขามีมากมาย กระจัดกระจายทั่วทุกพื้นที่ สุดท้ายแฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถดูแลสาขาแฟรนไชส์ได้อย่างทั่วถึง ส่งของ ส่งวัตถุดิบไม่ทันบ้าง จนเกิดปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดจากการบริหาร และควบคุมสาขา 

2.ขยายสาขาเร็ว ดูแลไม่ทั่วถึง
 

ภาพจาก goo.gl/images/uAtTZy
 
ปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้น สาเหตุหลักๆ มาจากการขยายกิจการ หรือสาขาเร็วเกินไป แม้ว่าการเติบโตเป็นเรื่องดี แต่ต้องไม่เร็วไปและไม่รีบร้อนจนเกินไป เหมือนเราโตเกินความสามารถของธุรกิจ หรือโตเกินขอบข่ายของการบริหารจัดการ เวลามีใครสักคนเปิดร้านสักร้าน เริ่มขายดี จะเริ่มมีคนถามกันว่า ขยายร้านเปิดสาขาไหม รวมไปถึงบางคนขายแฟรนไชส์เลย
 
เรื่องแฟรนไชส์มีคนเข้าใจผิดพอสมควร ลองนึกภาพ 7-Eleven, KFC เมืองนอก ที่มีระบบในการบริหารจัดการทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่การใช้ชื่อเดียวกัน หรือแค่สูตรเดียวกัน เพราะแฟรนไชส์จริงๆ คือระบบการตลาด การดำเนินงาน และการเงิน 
 
3.หารายได้จากค่าแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว

จริงๆ แล้วแฟรนไชส์ซอร์ ต้องมีระบบการบริหารจัดการสาขาที่ดี ไม่ใช่เอาแต่เพียงเก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว แล้วไม่ทำอะไรให้เลย คอยแต่จะขายสินค้าวัตถุดิบให้ เพราะจริงๆ แล้วค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า หรือค่าแฟรนไชส์นั้น ไม่ใช่เครื่องมือของแฟรนไชส์ซอร์ในการหารายได้ แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงาน เพื่อที่จะให้เกิดร้านสาขาในระบบดีๆ เพิ่มขึ้น 


ภาพจาก goo.gl/images/Bc9ZgE
 
ดังนั้น กำไรของธุรกิจแฟรนไชส์ อยู่ที่การวางระบบให้สาขาแฟรนไชส์ซีสามารถสร้างกำไร มียอดขายสูงขึ้น เพื่อที่จะให้แฟรนไชส์ซีจ่ายเงินส่วนแบ่งในการบริหารกลับเข้ามา หรือเรียกว่า Royalty Fee นั่นคือ กำไรของธุรกิจแฟรนไชส์ของจริง 
 
ถ้าเน้นแฟรนไชส์แบรนด์ไหน เน้นการขายสินค้า การให้เช่าป้าย หรือการขายสูตรลับ บางทีเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เพราะการสร้างระบบแฟรนไชส์ต้องบริหารให้สาขาอยู่รอด มีกำไร อย่าคิดเพียงเอาตัวรอดไปชั่วคราว จะไม่ยั่งยืน

 
สอดคล้องกับ ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ประธานที่ปรึกษา บริษัท บิสิเนส โค้ช แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด ได้ระบุไว้ในงานสัมมนา พบว่าจากงานวิจัย “ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลงทุนต่ำกว่า 1 แสนบาท จะล้มเหลวไม่เกิน 3 ปีแรกที่ลงทุน” 


ภาพจาก goo.gl/images/8phqtA
 
เพราะแฟรนไชส์เหล่านี้ เก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าครั้งเดียวจบ หลักพัน หลักหมื่น เสร็จแล้วขายของ ขายวัตถุดิบ ไม่ส่งเสริมการขาย การตลาดในวันเปิดร้าน หรือสร้างกระแสให้ร้านสาขาแฟรนไชส์ซี ยิ่งอยู่ไกลก็ต้องมีค่าเครื่องบิน ค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าเช่ารถ ค่าแรง ทีมงาน และอื่นๆ แล้วคุณคิดว่าค่าแฟรนไชส์แรกเข้าที่แฟรนไชส์ซอร์ได้รับหลักพัน หลักหมื่น จะเพียงพอหรือ 
 
แฟรนไชส์ที่ลงทุนสูงๆ ค่าแฟรนไชส์แรกเข้าหลักแสนขึ้นไปจนถึงหลักล้านบาท จะคิดค่าแฟรนไชส์จากค่าใช้จ่ายในส่วนเหล่านี้ด้วย รวมถึงการทำการตลาดต่อเนื่องให้กับร้านค้า การจัดการตลาดที่เป็นการจัดทำการตลาดทางตรง การจัดเตรียมเอกสารส่งทางจดหมาย จัดอย่างไร จำนวนเท่าไร การจัดพิมพ์ และการจัดส่ง เรื่องแบบนี้ไม่ได้มาฟรีๆ ต่างก็มีค่าใช้จ่าย ทั้งการออกแบบทีมงานที่รับผิดชอบ แม้จะทำเป็นภาพรวม แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิดเป็นค่าใช้จ่ายไว้แล้วกับแฟรนไชส์ซี
 
ดังนั้น จะเห็นว่าแฟรนไชส์ที่ลงทุนต่ำ เก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้าครั้งเดียวจบ ไม่เก็บเปอร์เซ็นต์ของยอดขายในแต่ละเดือนจากแฟรนไชส์ซี จะไม่สามารถบริหารจัดการในเรื่องเหล่านี้ ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ บางรายขายแล้วขายเลย ก็มีให้เห็นกัน 

#ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้รวบรวมธุรกิจ #แฟรนไชส์ แยกตามหมวดหมู่ ดังนี้ (ใครสนใจแฟรนไชส์กลุ่มไหน คลิกเข้าไปเลือก เพื่อขอข้อมูลการลงทุนได้ทันที!)
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise 

 

Franchise Tips
  1. กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีไม่มีคุณภาพ
  2. ขยายสาขาเร็ว ดูแลไม่ทั่วถึง
  3. หารายได้จากค่าแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,701
ส่อง 76 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
6,112
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,753
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,649
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
860
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
833
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด