บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.9K
2 นาที
18 มกราคม 2562
ปัญหาของระบบแฟรนไชส์ ทำให้ไทยพัฒนาช้า
 

แม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยม จากผู้ที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ หรือผู้ว่างงานที่สนใจจะมีอาชีพและสร้างรายได้ให้กับตนเอง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีสูตรสำเร็จในการบริหารจัดการทั้งทางด้านการผลิต ระบบการบริหารงาน รูปแบบการบริการ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ การพัฒนาบุคคล 
 
ที่สำคัญ คือ การดำเนินงานด้านการตลาด ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือการบริการ และความมีชื่อเสียงของเจ้าของแฟรนไชส์ เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ผู้ที่ต้องการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความสะดวก ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจมาก่อน ก็สามารถเลือกซื้อแฟรนไชส์เพื่อสร้างอาชีพให้กับตนเองได้ 

 
จริงๆ แล้ว ระบบแฟรนไชส์จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยากกว่าจะสร้างให้เติบโตเข้มแข็งได้ แต่เมื่อสรุปกันให้ดีแล้ว ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จะกลายเป็นกลยุทธ์ ในการช่วยให้ธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วหรือหยุดนิ่ง 
 
แต่พอวิเคราะห์ดูแล้ว แม้ระบบแฟรนไชส์จะช่วยธุรกิจขยายตัวและเติบโต แต่ถ้าดูในเมืองไทยแล้ว กลับพบว่าระบบแฟรนไชส์ของเรายังแข่งขันกับต่างประเทศ หรือบางประเทศในอาเซียนไม่ได้ 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอปัญหาของระบบแฟรนไชส์ ว่าทำไมถึงพัฒนาได้ช้ามากกว่าประเทศบางประเทศในอาเซียน มาดูว่าระบบแฟรนไชส์มีปัญหาอะไรบ้าง 
 
1.ขาดความเข้าใจธุรกิจในระบบแฟรนไชส์
 

ระบบแฟรนไชส์ไทยไม่ได้แยกแยะ หรือมีความเข้าใจในธุรกิจ ที่นำเสนอปัจจุบันว่า อะไรอยู่ในข่าย “ธุรกิจสร้างอาชีพ” ที่วิธีคิดใกล้เคียง แต่เงื่อนไขธุรกิจต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับระบบธุรกิจแฟรนไชส์แท้ๆ 
จากแนวคิดตั้งต้นที่ต่างกัน ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างกัน เมื่อมีการนำเสนอที่มีข้อยกเว้น เช่น ไม่เก็บค่าแฟรนไชส์ ไม่เก็บค่าบริหาร ซึ่งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงบริษัทแม่ แทนที่ธุรกิจที่นำเสนอไปจะเน้นความแตกต่าง เรื่องของการบริหารจัดการที่ดีกว่า ที่ในความเป็นจริงต้องมีความเชี่ยวชาญและการลงทุนมากกว่า 
 
แต่ด้วยความต้องการที่จะแข่งขัน เพื่อการสร้างสาขาทำให้ความเข้าใจในการวางแนวทางการแข่งขันผิดพลาด ยอมตามที่จะปรับระบบให้เป็นไปตามกัน สุดท้ายก็ไม่สามารถสร้างระบบการบริหารที่ถูกต้องขึ้นได้ ขยายสาขาได้แต่ขาดทุนทรัพย์สูบฉีดต่อเนื่อง เพื่อที่จะดูแลสนับสนุนสาขาที่เป็นสมาชิกก็เกิดปัญหาแล้วต้องล้มเลิกกันไป
 
2.ความรู้ในการจัดการและบริหารยังไม่ชัดเจน 
 

ผู้ประกอบการยังขาดหลักวิธีการพัฒนาไปสู่จุดหมายที่ต้องการ ในระหว่างทางต้องการแค่เพียงขยายสินค้า และต้องการสร้างสาขาให้มาก ในระยะเวลาสั้นที่สุดเพื่อหวังรายได้จากการขายสินค้า ก็คือ พยายามเพิ่มสาขาที่เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้ามากกว่าการสร้างคุณภาพการจัดการของธุรกิจ ด้วยวิธีนี้ไม่ว่าการจัดตั้งจะประสบความสำเร็จ ในแง่การขาย ขยายสาขาเพิ่มได้อย่างดีก็จะมีปัญหาต่อมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษาคุณภาพสินค้าไม่ได้ดูแลหรือดูไม่ทั่วถึง 
 
ทำให้สมาชิกไม่เข้าใจธุรกิจเพียงพอ สุดท้ายก็มีการปิดตัวลง และส่งผลกระทบให้ตราที่ใช้เป็นร้านค้าไม่มีภาพพจน์ที่ดีพอ และกรณีนี้บางครั้งมักจะลงท้าย ด้วยการพัฒนาตราบนตัวสินค้าแทน และผลักดันระบบค้าส่งเต็มที่ แทนรูปแบบแฟรนไชส์ที่พยายามมาแต่เดิม ซึ่งในบางรายก็พอใจที่จะสร้างแนวทางของธุรกิจตัวเองที่เปลี่ยนไปดังกล่าว 
 
กลายเป็นว่าธุรกิจแฟรนไชส์นั้น เป็นบันไดขั้นแรกของการพัฒนาธุรกิจขายส่ง ที่ช่วยสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักเท่านั้น จับไม่โดนตัวประโยชน์ของการขยายเครือข่าย
 
3.แฟรนไชส์เป็นวิธีการขยายธุรกิจ คนเข้าใจว่าเป็นกระบวนการเริ่มธุรกิจ 
 

การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์นั้น เป็นอีกขีดขั้นของความสามารถธุรกิจ เป็นวิธีการต่อยอดขยายงานมากกว่าจะเป็นการเริ่มต้นการสร้างธุรกิจ จากไม่มีอะไรมาก่อน แฟรนไชส์ต้องมีการพิสูจน์เชิงปฏิบัติจริงให้ได้เสียก่อนว่า ธุรกิจนั้นสามารถสร้างกำไรได้จริง ทำให้อายุเฉลี่ยของธุรกิจที่ดำเนินการแฟรนไชส์ที่ไปได้ จึงมักจะมีระยะเวลายาวนานกว่าธุรกิจ ที่ยังไม่มีความสำเร็จที่เห็นชัด 
 
ดังนั้น การส่งเสริมผิดทาง ที่ไปผสมการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ กับการสร้างนักธุรกิจเกิดใหม่ จึงจำเป็นต้องจัดคัดแยกให้เห็นชัด และปริมาณธุรกิจที่จะปรับตัวเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ย่อมมีจำนวนน้อยกว่าการสร้างนักธุรกิจใหม่ขึ้นมา 
 
4.การขาดแหล่งเงินทุน สำหรับแฟรนไชส์ซีเป้าหมาย 
 

ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องการผู้มีนักลงทุนที่มีเงินลงทุนในระยะยาว แต่นักลงทุนรุ่นใหม่มักจะขาดเงินทุนเริ่มต้น แหล่งเงินทุนที่เป็นสถาบันการเงิน ยังไม่เข้าใจหรือขาดความเชื่อมั่นในธุรกิจแฟรนไชส์ปัจจุบัน หรือธุรกิจที่เรียกว่าแฟรนไชส์ 
 
ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการออกแบบธุรกิจเล็กเกินไป ไม่เหมาะกับกระบวนการธุรกิจการเงินพอ ถ้ากระบวนการสนับสนุนหรือรูปแบบการให้กู้ไม่ชัดเจนเพียงพอ ก็ทำให้แฟรนไชส์ต้องอาศัยเวลาพัฒนาตัวเองนานขึ้น เนื่องจากต้องใช้ความสามารถในการลงทุนของแฟรนไชส์ซีเองเป็นหลัก
 
สำหรับแฟรนไชส์ซีที่มีเงินในการลงทุน ก็ต้องการระบบธุรกิจที่สนับสนุนค่อนข้างมาก ถ้าหากการวางระบบผิดพลาด โดยไม่มีรายรับในตัวธุรกิจที่ลงทุนควรเกิดขึ้น แต่จะให้มีค่าใช้จ่ายในการสนับสนุน เช่น ค่าบริหาร อย่างนี้ก็เห็นทีจะตกลงกันยาก ความขัดแย้งทางธุรกิจจากความคาดหวัง จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้น ดังนั้น แฟรนไชส์รายใหม่จะเกิดปัญหา 
 
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาแฟรนไชส์ของคนไทย ที่พัฒนาอย่างช้าๆ ต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะต้องใช้การเรียนรู้ความเข้าใจของนักธุรกิจ นักลงทุนเองเป็นที่ตั้ง รวมถึงการที่ให้ภาครัฐเข้ามาจัดกระบวนการที่ถูกต้องมากขึ้น จะทำให้ระบบธุรกิจแฟรนไชส์น่าเชื่อถือ ส่งผลให้การปรับตัวธุรกิจเป็นในทิศทางที่ดีกว่านี้มากขึ้น 
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: 
@thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 

Franchise Tips
  1. ขาดความเข้าใจธุรกิจในระบบแฟรนไชส์
  2. ความรู้ในการจัดการและบริหารยังไม่ชัดเจน 
  3. แฟรนไชส์เป็นวิธีการขยายธุรกิจ คนเข้าใจว่าเป็นกระบวนการเริ่มธุรกิจ 
  4. การขาดแหล่งเงินทุนสำหรับแฟรนไชส์ซีเป้าหมาย 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,674
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,785
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,911
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด