บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
6.2K
2 นาที
7 มีนาคม 2562
หายสงสัย! เจ้าของแฟรนไชส์ ควรจดบริษัทฯ หรือ เป็นบุคคลธรรมดา


ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลให้กับประเทศไทย มีส่วนช่วยให้ธุรกิจ SMEs ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถขยายกิจการได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถลดข้อจำกัด สร้างความได้เปรียบในด้านแหล่งเงินทุน รวมถึงการสร้างผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ ให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
 
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า ปัจจุบันไทยมีธุรกิจแฟรนไชส์ 1,807 ราย เป็นนิติบุคคล 1,517 ราย และเป็นบุคคลธรรมดา 290 ราย ส่วนใหญ่เป็นประเภทค้าปลีก รองลงมาเป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริการ การศึกษา และความงามและสปา


ภาพจาก goo.gl/images/zoXBLL
 
แต่รู้หรือไม่ว่า การทำธุรกิจแฟรนไชส์ในรูปแบบ “นิติบุคคล” กับ “บุคคลธรรมดา” มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน แล้วแต่ว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละประเภท จะเลือกสร้างระบบแฟรนไชส์ของตัวเองแบบไหน เพราะบางแฟรนไชส์อาจจะเหมาะสำหรับทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล ขณะที่หลายๆ แฟรนไชส์อาจเหมาะสำหรับทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาคุณไปดูว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัท) หรือเป็นบุคคลธรรมดา แบบไหนจะดีกว่ากัน ซึ่งทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน แล้วแต่ว่าจะเลือกแบบไหน


 
แต่เชื่อว่าช่วงเริ่มต้น ส่วนใหญ่นักธุรกิจหน้าใหม่ จดทะเบียนธุรกิจในนามบุคคลธรรมดา มากกว่าการจดเป็นนิติบุคคล และเมื่อทำธุรกิจไปได้ระยะหนึ่ง ก็อาจเกิดคำถามว่าควรจะ “แปลงสภาพ” ธุรกิจของตัวเองจากบุคคลธรรมดาไปเป็นบริษัทจำกัดหรือไม่
 
ธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดา ดีอย่างไร


ภาพจาก goo.gl/images/zGYFqq
 
สำหรับคนที่เริ่มทำธุรกิจด้วยตัวคนเดียว คงจะชอบที่ความคล่องตัวในการตัดสินใจต่างๆ ทางธุรกิจ โดยไม่ต้องปรึกษาใคร รวมถึงการเสียภาษีก็เสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา และหักค่าใช้จ่ายธุรกิจแบบเหมาตามที่สรรพากรกำหนด ไม่ต้องทำบัญชีธุรกิจ เพื่อส่งให้กรมสรรพากรให้วุ่นวาย แล้วก็ไม่ต้องเสียเงินให้กับทางผู้สอบบัญชีทุกๆ รอบบัญชีด้วย
 
ธุรกิจรูปแบบบริษัท หรือนิติบุคล ดีอย่างไร


ภาพจาก goo.gl/images/R52CFk
 
แต่ถ้าหากมองอีกมุม ปัจจุบันนี้การทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล ก็มีข้อดีหลายอย่างเช่นกัน 
 
1.การเป็นนิติบุคคล แม้ว่าจะต้องทำบัญชีส่งสรรพากร แต่ก็จะทำให้ธุรกิจต้องเสียภาษีตามผลกำไรที่เกิดขึ้นจริงตามบัญชี ถ้าปีไหนธุรกิจขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งต่างจากการเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา เพราะถ้าธุรกิจขาดทุน แต่ในทางภาษี ถึงอย่างไรก็จะหักค่าใช้จ่ายได้แค่ตามอัตราเหมาจ่าย กล่าวคือธุรกิจบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษี แม้ว่าจะขาดทุน
 
2.การเสียภาษีของนิติบุคคล จะคิดจากกำไรทางบัญชีเท่านั้น และภาษีที่ต้องจ่ายภายใต้กฎหมายไทยมีอัตราสูงสุด 20%  ซึ่งนี่ต่างจากอัตราภาษีแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่อัตราสูงสุดถึง 35% ซึ่งมากกว่าการเสียภาษีของนิติบุคคล
 
3.การเป็นนิติบุคคล ทำให้ธุรกิจดูมีความน่าเชื่อถือมากกว่าธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา ทำให้สถาบันเงินมีความเชื่อมั่นในการปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจ ซึ่งโอกาสในการได้สินเชื่อที่มากขึ้น ก็หมายถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจที่มากขึ้นด้วย
 
4.การเป็นนิติบุคคล จะทำให้เงินของธุรกิจและเงินเจ้าของธุรกิจแยกออกจากกันชัดเจน ทำให้เกิดความไม่สับสน ระหว่างเงินทั้งสองส่วน ถ้าธุรกิจเป็นแบบธุรกิจบุคคลธรรมดา หากมีการบริหารจัดการไม่ดี อาจทำให้ไม่สามารถควบคุมธุรกิจได้
 
5.การเป็นนิติบุคคล เป็นการจำกัดความรับผิดชอบต่อหนี้สินของบริษัท ตามมูลค่าหุ้นของตัวเองที่ลงไปในบริษัท หรือพูดง่ายๆ คือ ถ้าบริษัทเกิดความเสียหายถึงต้องล้มละลาย คุณในสถานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็จะสูญเสียสินทรัพย์ไปแค่ตามมูลค่าหุ้นเท่านั้น แต่ตัวคุณไม่ได้ล้มละลายตามบริษัทไปด้วย 
 
มาตรการภาษีใหม่ ทำให้ธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาเสียภาษีเพิ่มขึ้น


ภาพจาก goo.gl/images/PyPBGd
 
นอกจากนี้ ข้อพิจารณาเพิ่มเติมสำหรับการแปลงสภาพ ก็คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จากเดิมที่คนทำธุรกิจเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา จะสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 65-85% ได้เปลี่ยนให้อัตราหักค่าใช้จ่ายเหมาลดลงเหลือ 60% เท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ก็คือมาตรการภาษีแบบใหม่นี้ ทำให้ธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีมากขึ้นโดยอัตโนมัติ แม้ว่าจะมีรายได้เท่าเดิม ซึ่งนโยบายนี้เกิดจากการที่รัฐบาล ต้องการให้คนทำธุรกิจมาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกันมากขึ้น
 
คุณจะเห็นได้ว่าในระดับรายละเอียด การที่ธุรกิจเป็นนิติบุคคลนั้นจะมีข้อดีในระยะยาว โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการจะ เติบโตไปอย่างต่อเนื่อง เพราะอย่างน้อยแค่ผลประโยชน์ทางภาษี ที่ได้จากการจดจะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คุ้มค่าแล้ว


ได้เห็นความแตกต่างของการทำธุรกิจในรูปแบบ “นิติบุคคล” และ “บุคคลธรรมดา” กันไปแล้ว ใครที่กำลังอยากทำธุรกิจแฟรนไชส์ หรือมีกิจการเล็กๆ อยู่แล้ว แต่อยากขายแฟรนไชส์ให้คนอื่น ก็ต้องเลือกดูว่าธุรกิจหรือกิจการที่ทำอยู่นั้น เหมาะสำหรับการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือบุคคลธรรมดา ที่สำคัญต้องดูความพร้อมและความสามารถของตัวเองด้วย
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล goo.gl/Ed3nZD
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,566
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,301
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด