บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.5K
2 นาที
19 มีนาคม 2562
แหล่งเงินทุนสำคัญของธุรกิจ

หากตัดสินใจที่จะลงทุนซื้อแฟรนไชส์แล้ว การหาแหล่งเงินทุนเป็นงานที่สำคัญเร่งด่วนอีกอย่างหนึ่งในระยะแรกๆ เว้นเสียแต่แฟรนไชส์ซีจะมีเงินเพียงพอสำหรับการลงทุนทั้งหมด สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์แล้วการขอกู้เงินสถาบันการเงินอาจจะไม่ใช่เรื่องยาก
 
ในปัจจุบันมีสถาบันการเงินและหน่วยงานที่ช่วยเหลือผู้สนใจลงทุนซื้อแฟรนไชส์อยู่ทั่วไป มีสำนักงานอยู่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ในเบื้องต้นผู้ที่สนใจจะขอกู้เงินอาจจะหาข้อมูลผ่านเวปไชต์ของหน่วยงานเหล่านี้ก่อน และเมื่อมีข้อมูลระดับหนึ่งแล้วจึงค่อยขอนัดเพื่อพบเจ้าหน้าที่สินเชื่อต่อไป
 
1.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ ธพว. (เอสเอ็มอีแบงก์)


ภาพจาก goo.gl/images/KrGkrD

เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นตาม พรบ.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2545 โดยมีพันธกิจเป็นผู้สนับสนุนบริการทางการเงิน เพื่อตอบสนองความต้องการของ SMEs โดยเฉพาะ แต่ก็สามารถให้กู้ได้ตั้งแต่ 5 หมื่นบาท จนถึง 100 ล้านบาท

2.ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก (เอ็กซิมแบงค์)

ภาพจาก goo.gl/images/vE71Sk

สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออก อาจจะสะดวกกว่าเพราะมีความชำนาญในการให้กู้ธุรกิจด้านนี้

3.บริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)


ภาพจาก goo.gl/images/2B87aW

คือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล ทำหน้าที่ให้บริการด้านการ ค้ำประกันสินเชื่อในส่วนที่ขาดหลักประกัน ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยบสย.จะช่วยค้ำประกันเงินกู้ให้ผู้ลงทุนที่กู้เงินจากทั้งธนาคารพาณิชย์ของไทยทุกแห่งหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ไม่เกินครึ่งหนึ่งของสินเชื่อรวม และสูงสุดไม่เกิน 40 ล้านบาทต่อโครงการ โดยผู้ขอกู้ต้องเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 1.75 ต่อปี ของวงเงินที่ บสย.ให้การค้ำประกันและเก็บล่วงหน้าเป็นรายปี

4.ธนาคารออมสิน, ธกส. (เหมาะกับธุรกิจที่เข้าโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน)


ภาพจาก goo.gl/images/Z4TeQZ

เนื่องจากรัฐบาลในบางสมัย มีนโยบายช่วยเหลือส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย ในการกู้เงินลงทุนจำนวนไม่มาก (ไม่เกินหนึ่งแสนบาท) หากกู้จากธนาคารของรัฐในช่วงที่มีนโยบายส่งเสริม ก็จะสะดวกรวดเร็ว และได้ดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำด้วย

5.ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินทั่วไป


ภาพจาก goo.gl/images/GQtY5M

ปัจจุบันแทบทุกธนาคารมีการปล่อยกู้ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอี ตัวอย่างเช่น โฆษณาของธนาคารกสิกรไทยที่ว่า กสิกรไทยปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีเต็ม 100% รับเต็ม ๆ 3 ล้านบาท กสิกรไทยหนุนเอสเอ็มอีขนาดย่อมเต็มตัว ออกบริการสินเชื่อค้าคล่องเต็มร้อยกสิกรไทย (K-100% Credit) ให้ธุรกิจขนาดย่อมกู้ได้ 100% ของมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน วงเงิน สูงสุด 3 ล้านบาท รับเงินได้ใน 10 วัน ตั้งเป้าปล่อยกู้ปีนี้ 10,000 ล้านบาท

6.Non-Banks


ภาพจาก goo.gl/images/V5QYza

ก็คือการกู้เงินโดยนอกระบบสถาบันการเงิน ซึ่งบางครั้งนักธุรกิจที่ยังไม่มีชื่อเสียงจำเป็นต้องใช้ เช่น การเป็นเจ้ามือเล่นแชร์ (ไม่ผิดกฎหมายแต่ไม่สามารถฟ้องร้องคดีกันได้กรณีมีปัญหา) การนำหลักทรัพย์เช่นที่ดิน รถยนต์ ไปทำขายฝาก แม้กระทั่งการกู้จากนายทุน ซึ่งมักล้วนแล้วแต่มีต้นทุนการกู้ยืมสูงกว่าในข้อที่ผ่านๆ มา
 
อย่างไรก็ตาม หากยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเขียนโครงการและการหาแหล่งสถาบันการเงิน ยังมีอีกหน่วยงานหนึ่งขอรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอี คือสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่จะให้คำแนะนำปรึกษาได้ฟรี โดยมีเบอร์โทรศัพท์ Call Center คือ 02-6869111
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,020
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,503
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,636
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,573
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด