บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.6K
2 นาที
21 มีนาคม 2562
ช่องทางโฆษณาและการส่งออกแฟรนไชส์

แฟรนไชส์ซอร์อาจจะเลือกช่องทางใดช่องทางหนึ่งหรือหลายๆช่องทาง เป็นช่องทางโฆษณาให้ไปถึงผู้ที่สนใจลงทุนซื้อแฟรนไชส และเพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่แฟรนไชส์ซอร์เอง ควรที่จะสมัครเป็นสมาชิกสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทยให้เรียบร้อย ก่อนเริ่มการขายแฟรนไชส์ (และในอนาคตต้องไปขอจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนด้วยเมื่อ พรบ.ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ออกบังคับใช้) ช่องทางโฆษณาขายแฟรนไชส์ที่นิยมใช้ เช่น

1.ทางสิ่งพิมพ์


ภาพจาก goo.gl/images/QcTpny

เช่น นสพ., นิตยสาร ติดโปสเตอร์ตามแหล่งชุมชน ฯลฯ

2.จัดงานแถลงข่าว


โดยอาจจ้างออร์แกไนเซอร์มาจัดงาน เพื่อให้ได้รูปแบบงานเป็นมาตรฐาน

3.ทางวิทยุ หรือทีวี


ภาพจาก youtu.be/CZIMUEcQyrQ

โดยบางครั้งอาจจะพ่วงไปกับโฆษณาขายสินค้าหรือบริการ
 
4.ออกบูธ


โดยหาสถานที่เหมาะสม เช่น ห้างสรรพสินค้า, สถานีรถไฟฟ้า ฯลฯ

5.ทำไดเร็กเมล

การทำไดเร็กเมลเพื่อส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือแจกในบริเวณที่เหมาะสม

6. ร่วมงานแสดงของรัฐบาล หรือเอกชน

 

ซึ่งการร่วมงานแสดงสินค้า มักจะมีมีงานใหญ่ๆ อยู่ปีละประมาณ 2-3 ครั้ง

7.โฆษณาทางอินเตอร์เน็ต


ภาพจาก thaifranchisecenter.com

เป็นการโฆษณาผ่านเวปไซต์ต่างๆ เพื่อให้คนทั่วไปที่สนใจแฟรนไชส์ได้ทราบถึงรายละเอียดข้อมูลต่างๆ โปรโมชั่น รวมถึงค่าแฟรนไชส์ ตลอดจนทำลิงค์ไปยังเวปไซต์ที่เกี่ยวข้อง

8.สื่ออื่นๆ


เช่น คัทเอ้าท์, โฆษณาบนถุงสินค้าของตนเอง, ข้างรถส่งของ ฯลฯ

การทำการโฆษณาขายแฟรนไชส์อีกวิธีหนึ่งที่นิยมจัดทำกันมากคือ การจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจลงทุนทำแฟรนไชส์ฟรี ถึงแม้ว่ามีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง แต่ก็ทำให้มีโอกาสในการทำความเข้าใจกับผู้ที่สนใจลงทุน
 
การส่งออกแฟรนไชส์


ภาพจาก goo.gl/sz4Snw

คนไทยควรจะยอมรับความจริงว่า ทุกวันนี้ผู้บริโภคชาวไทยได้บริโภคสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศมากมาย ผ่านธุรกิจที่ชาวต่างประเทศมาลงทุนเอง หรือผ่านธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนไทยเข้าไปซื้อแฟรนไชส์เพื่อรับสิทธิ์ขยายกิจการในประเทศไทยจำนวนมาก ธุรกิจเหล่านี้ทำกำไรให้แก่บริษัทแม่ในต่างประเทศปีละมหาศาล ทั้งที่ในธุรกิจประเภทเดียวกันนี้มีสินค้าหรือบริการที่เป็นกิจการของคนไทยอยู่ด้วย แต่ธุรกิจที่มาจากต่างประเทศกลับมีข้อได้เปรียบและทำกำไรได้ดี

อย่างไรก็ตามในยุคโลกาภิวัฒน์และโลกเสรีที่ไร้พรมแดนนี้ เราคงไม่สามารถปกป้องธุรกิจของคนไทยด้วยวิธีกีดกันทางการค้าได้ เนื่องจากประเทศไทยได้ยอมรับและเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์การการค้าโลก ดังนั้น ทางแก้ไขก็คงมีอยู่หลายวิธี นอกจากจะต้องเรียกร้องให้ธุรกิจของไทยปรับตัวเข้าแข่งขันแล้ว ก็ต้องหาทางส่งออกธุรกิจของไทยออกไปยังต่างแดนบ้าง  ทั้งวิธีคนไทยไปลงทุนเอง หรือวิธีขายแฟรนไชส์ไปยังนักธุรกิจที่สนใจในต่างประเทศ

การส่งออกแฟรนไชส์ของไทยไปต่างประเทศมีมานับสิบปีแล้วเช่นกัน เนื่องจากชาวต่างชาติก็ยอมรับในสินค้าและบริการของไทยหลายประเภท มีธุรกิจด้านอาหารที่เน้นขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศแล้ว เช่น  กรณีร้าน Blue Elephant ที่ขยายไปแล้วกว่าสิบประเทศทั่วโลก หรือThai Go ที่เน้นขยายในอเมริกา เป็นต้น


ภาพจาก goo.gl/images/dLyizk

ผู้ประกอบการที่คิดจะส่งออกแฟรนไชส์จะต้องมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน เช่น
  1. ต้องประสบความสำเร็จตลาดเมืองไทยก่อน
  2. ศึกษาตลาดต่างประเทศให้ถ่องแท้
  3. เข้าอบรมอย่างเข้มข้น, ศึกษาจากผู้มีประสบการณ์
  4. หาหุ้นส่วน หรือผู้มีประสบการณ์ติดต่อต่างประเทศมาร่วม
  5. ติดต่อกรมส่งเสริมการส่งออก (ถ้าให้ดี ไปร่วมออกงานในต่างประเทศ) 
ผู้เขียนหวังไว้เป็นอย่างยิ่งว่า ในอนาคตจะได้เห็นสินค้าหรือบริการของไทย ขยายกิจการไปยังต่างประเทศจำนวนมาก ทั้งที่ผ่านระบบแฟรนไชส์และไม่ใช่ระบบแฟรนไชส์ ผู้เขียนได้เคยเห็นธุรกิจด้านร้านอาหารของไทยในยุโรปและอเมริกาจำนวนไม่น้อย

แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยในต่างแดนลงทุนเอง และเห็นฟาสฟู้ดส์จำนวนมากที่เป็น Brand ท้องถิ่นในประเทศรอบๆ ประเทศไทย ที่หลายBrand ก็ขายดิบขายดีไม่แพ้ฟาสฟู้ดส์จากอเมริกา จึงได้แต่หวังว่าการพัฒนาธุรกิจของไทยในอนาคต จะทำให้เราสามารถขายแฟรนไชส์ไปยังต่างประเทศได้มากๆ แทนที่จะเน้นการนำเข้าแฟรนไชส์จากต่างประเทศดังเช่นที่ผ่านมา
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,002
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,485
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,634
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,572
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด