บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.6K
2 นาที
26 มีนาคม 2562
หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์ที่ควรมี


ภาพจาก goo.gl/images/TEVK14
 
แฟรนไชส์ซอร์ที่ดีนั้น จะต้องจัดการบริหารภายในธุรกิจของตนเองให้ได้ดีก่อน แล้วจึงสามารถทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงที่ดีให้แก่แฟรนไชส์ซีได้ มิฉะนั้นแล้ว หากแม้กระทั่งบริษัทหรือธุรกิจของตนเองยังจัดการให้ดีไม่ได้ แล้วจะไปแนะนำช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีได้อย่างไร ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า ธุรกิจทุกประเภทล้วนต้องมีระบบจัดการอย่างน้อย 5 ด้าน ได้แก่
  1. งานบัญชี เช่น การทำบัญชี, การควบคุมสต็อค, งานภาษี
  2. งานการเงิน เช่น การเก็บเอกสาร, ระเบียบการเงิน, การควบคุมภายใน
  3. งานการตลาด เช่น การขาย, การโฆษณา, การประชาสัมพันธ์
  4. งานบุคคล เช่น การรับสมัคร, การจ่ายผลตอบแทน, การอบรม
  5. งานซัพพลายเออร์ เช่น การผลิต, การจัดซื้อ, การขนส่ง, การให้ความสนับสนุน

ภาพจาก goo.gl/images/jj2GW6

ในเมื่อธุรกิจประกอบด้วยงานหลักๆ อย่างน้อยห้าด้านแล้ว แฟรนไชส์ซอร์ก็จะต้องมีหน้าที่ให้ความสนับสนุนและช่วยเหลืองานที่เกี่ยวกับธุรกิจทุกๆ ด้านแก่แฟรนไชส์ซี ซึ่งบางครั้งหากได้แฟรนไชส์ซีที่มีประสบการณ์ ก็อาจจะง่ายต่อการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ แต่ถ้าหากได้ แฟรนไชส์ซี ที่ไม่ขวนขวายหาความรู้ หรือประเภทดื้อหัวใสแล้ว ก็จะเป็นภาระที่หนักยิ่งของ แฟรนไชส์ซอร์ ขณะเดียวกัน แฟรนไชส์ซีก็ควรจะรู้ด้วยว่า มีอะไรบ้างที่จะขอความช่วยเหลือแนะนำจากแฟรนไชส์ซอร์ได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการร่วมหัวจมท้ายทำธุรกิจร่วมกัน
 
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างโฆษณาของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ขายแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ว่าจะช่วยเหลือสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอะไรบ้าง


ภาพจาก goo.gl/images/hnhz1o
 
การสนับสนุนจากทางบริษัท
 
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จะให้การสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ ดังต่อไปนี้
  1. การลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ
  2. การตกแต่งร้านและปรับปรุงร้านค้า
  3. การลงทุนสินค้าให้ตลอดอายุสัญญา
  4. การให้ความรู้ และเทคนิคการบริหารการจัดการร้านค้า โดยการให้การอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
  5. การให้บริการในด้านต่าง ๆ ตลอดอายุสัญญาดังนี้
    • การจัดส่งเจ้าหน้าของบริษัทฯ ไปช่วยเหลือในหน้าที่ต่าง ๆ ในช่วงเริ่มต้นดำเนินกิจการ
    • การส่งเจ้าหน้าที่ ไปช่วยแนะนำให้คำปรึกษา แก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ หรือแล้วแต่กรณีที่ได้รับการร้องขอ 
    • การจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ อย่างสม่ำเสมอ 
    • การช่วยตรวจสอบคลังสินค้าคงคลัง 
    • การช่วยตรวจสอบมาตรฐานร้านค้าในด้านต่าง ๆ 
    • การแนะนำความรู้และเทคนิคที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อการพัฒนาปรับปรุงร้านให้ดีขึ้น 
    • การโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่าง ๆ และการจัดรายการส่งเสริมการขายอย่างสม่ำเสมอตลอดไปตามแผนกำหนดของบริษัทฯ
    • อื่น ๆ

ภาพจาก facebook.com/coffmancoffman

หรือในกรณีของกาแฟคอฟแมน ก็ได้ให้คำมั่นสัญญาแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ว่าจะช่วยเหลือ ในด้านต่างๆ มากมาย เช่น ในเรื่องของการ Training จะมีการจัด On-site Training โดยจำลอง การปฏิบัติจริงเพื่อให้พนักงานเกิดความเข้าใจและเคยชิน ในช่วงสัปดาห์แรกของการเปิดกิจการ ก็จะมีการส่งทีมงานที่ชำนาญการและมีประสบการณ์เข้าไปช่วยเหลือ มีทีมงาน Marketing Support ตลอดจนทีมวิจัยพัฒนาสินค้า

มีการจัดทำ Operation Manuals ให้แก่แฟรนไชส์ซีหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็น New-Unit Guidelines คือ คู่มือสำหรับการเปิดสาขาใหม่, Capital Budget Guidelines การวางแผน การลงทุนการใช้จ่าย และการควบคุมงบประมาณ, Font Operation Manaual การจัดระบบหน้าร้าน, Equipment Specification Guidelines คู่มือการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนแนะนำแฟรนไชส์ซี ที่นอกเหนือจากการส่งสินค้า วัตถุดิบ เพื่อให้สามารถจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการลูกค้าได้เท่านั้น

ปัญหาความแตกต่างในการจัดการระหว่างแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แฟรนไชส์
ภาพจาก goo.gl/images/X3yQ4X
 
ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ร่วมกันระหว่างแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซีนั้น พื้นฐานด้านการทำธุรกิจที่มักจะแตกต่างกันมาก ด้วยเหตุที่แฟรนไชส์ซอร์มักเป็นธุรกิจที่ขนาดใหญ่กว่าและมีประสบการณ์มากกว่า ทำให้ทั้งมาตรฐานการทำงาน ตลอดจนความรู้ ประสบการณ์ และวิธีคิดก็อาจจะแตกต่างกันอย่างมาก หากพอปรับเข้าหากันได้ ก็จะช่วยให้ประสานงานกันได้ราบรื่น แต่หากไม่สามารถปรับเข้าหากันได้ ในบางครั้งก็ทำให้ถึงเกิดข้อขัดแย้งระหว่างกัน  ปัญหาใหญ่ๆ ที่มักจะพบมักจะเกิดจากด้านแฟรนไชส์ซี เช่น
  1. Franchisee มักไม่มีมาตรฐานบัญชี,สต็อคการ์ด ฯลฯ
  2. Franchisee มักจะไม่ชอบเข้าระบบภาษี ขณะที่ Franchisor เข้า VAT
  3. Franchisee มักจะไม่นิยมการลงทุนเครื่องมือและเทคโนโลยี่
  4. Franchisee มักขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ
  5. Franchisee มักไม่เห็นความสำคัญของความรู้วิชาการ
  6. Franchisee มักทำงานแบบเร่งรัด ขณะที่ Franchisor ต้องทำทุกอย่างตามขั้นตอน

ภาพจาก goo.gl/images/MckBRs

ทางที่ดีแล้ว ผู้ที่จะลงทุนซื้อแฟรนไชส์ควรจะต้องยอมรับว่า การทำธุรกิจในระยะยาวแล้ว แฟรนไชส์ซีทุกรายควรจะต้องยอมรับในระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และต้องเร่งรัดพัฒนาวิธีการดำเนินธุรกิจของตนเองให้เป็นระบบและทันสมัยใกล้เคียงกับฝั่งแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อมิให้เป็นปัญหาหนักใจและข้อขัดแย้งกับแฟรนไชส์ซอร์ และจะยังเป็นประโยชน์ต่อแฟรนไชส์ซีเองในระยะยาวด้วย
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,566
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,301
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด