บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.5K
5 นาที
27 มีนาคม 2562
ความเป็นมาพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจแฟรนไชส์


ภาพจาก goo.gl/images/qJu4Gc
 
ถึงแม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์จะเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว แต่กฎหมายหลักที่จะออกมาควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจโดยระบบแฟรนไชส์นี้ก็ยังไม่มีการประกาศใช้ จบเมื่อปี พ.ศ.2536 เมื่อมีนักธุรกิจกลุ่มหนึ่งภายใต้การริเริ่มของนักการตลาดชื่อดัง อ.ไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ ที่ให้มีการรวมกลุ่มกันของนักธุรกิจ เพื่อจัดตั้งสมาคมผู้ธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย จึงเริ่มมีความพยายามในการยกร่างพระราชบัญญัติผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ พ.ศ. 2550 ขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาข้อโต้แย้งอยู่มาก

โดยในปีที่ร่างพรบ.เสร็จนั้น นายสุทธิศักดิ์ เลาหชีวิน รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เผยว่าร่างพระราชบัญญัติธุรกิจแฟรนไชส์ (พรบ.แฟรนไชส์) ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากติดปัญหา เรื่องของหลักการ บทกฎหมายหลายมาตรายังไม่มีความชัดเจน โดยจะต้องนำร่าง พรบ. กลับไปศึกษาเปรียบเทียบกับพรบ.แฟรนไชส์ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย เนื่องเป็นต้นแบบการบริหารจัดการระบบแฟรนไชส์
 
อย่างไรก็ตาม เป็นข้อที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้หากร่าง พรบ.ฉบับนี้ จะสามารถผ่านมติสภาออกประกาศใช้ได้ ก็ยังจะต้องอาศัยกฎหมายลูกอีกที่จะต้องประกาศตามมา จึงจะสามารถทำให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติได้ ก็จึงไม่แน่ใจว่า จะเกิดปัญหากว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้หมดก่อนหรือไม่ เพราะในปัจจุบัน ก็มีทั้งปัญหาการหลอกลวงประชาชนให้ลงทุน โดยอ้างว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ หรือแม้กระทั่ง ถึงแม้ไม่ได้หลอกลวง แต่ก็มีข้อโต้แย้งมากมายเกิดขึ้นระหว่างแฟรนไชส์ซีกับ แฟรนไชส์ซอร์แล้ว
 
สาระสำคัญในพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจแฟรนไชส์


ภาพจาก goo.gl/images/ryHCL9
 
ร่างพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีเพียง 53 มาตรานี้ จะมีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในอนาคตอย่างมาก เพราะแฟรนไชส์ซอร์จะต้องจดทะเบียนก่อนดำเนินธุรกิจขายแฟรนไชส์  แม้ว่าค่าจะทะเบียนประกอบธุรกิจที่กำหนดไว้ในขั้นแรกจะมีเพียงห้าพันบาทก็ตาม  แต่ก็มีสาระสำคัญที่จะต้องพิจารณาและปฏิบัติตามให้ได้ และยังมีโทษอาญาทั้งปรับและจำคุกด้วย มาตราที่สำคัญๆ มีดังนี้
 
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

“แฟรนไชส์” หมายความว่า

(1) การประกอบธุรกิจที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า “แฟรนไชส์ซอร์” ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “แฟรนไชส์ซี” ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตน หรือที่ตนมีสิทธิที่จะให้ผู้อื่นประกอบธุรกิจในระยะเวลาหรือเขตพื้นที่ที่กำหนด และการประกอบธุรกิจนั้นภายใต้การส่งเสริมและควบคุม ตามแผนการดำเนินธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซีมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่ แฟรนไชส์ซอร์

(2) การประกอบธุรกิจอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

จะเห็นได้ว่า การตีความธุรกิจใดเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ จะกว้างมากกว่าที่คาดไว้มากเพราะไม่ได้กำหนดว่าค่าตอบแทนที่แฟรนไชส์ซอร์ที่เรียกเก็บ จะต้องมีทั้งค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมที่เก็บระยะยาวตลอดไป และยังมี (2) ที่อาจจะกำหนดให้กว้างขึ้นได้อีก
 
มาตรา 6 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ

ดังต่อไปนี้

(1) มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ แจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งบัญชี ทะเบียน เอกสารหรือหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือประกอบการพิจารณา

(2) เข้าไปในสถานที่ทำการของผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ หรือผู้ประกอบธุรกิจอื่นในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร หรือหลักฐานเพื่อ
ตรวจสอบการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

ในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร จะเห็นได้ว่า นายทะเบียนซึ่งตามบัญญัติในกฎหมายนี้หมายถึง อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและผู้ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามอบหมาย จะมีอำนาจหน้าที่ที่สูงมาก
 
มาตรา 9 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการประกอบธุรกิจ แฟรนไชส์”


ภาพจาก goo.gl/images/fhpqZT

ประกอบด้วย

(1) ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ

(2) กรรมการโดยตำแหน่งได้แก่ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา อธิบดีกรมการค้าภายใน ผู้แทนสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสภาหอการค้า
แห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

(3) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากสมาคมการค้าที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับธุรกิจ แฟรนไชส์จำนวน 2 คน

(4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นกรรมการและเลขานุการ

ในการแต่งตั้งกรรมการตาม (3) ให้บรรดาสมาคมการค้าที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์เสนอชื่อผู้ที่สมควรต่อรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์วิธีการเสนอชื่อบุคคลที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
 
มาตรา 13  คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) เสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและแผนการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ต่อรัฐมนตรี

(2) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับมาตรการในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

(3) กำกับดูแลและติดตามสอดส่องพฤติการณ์ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

(4) เสนอรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ต่อรัฐมนตรีและจัดให้มีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวต่อสาธารณชนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

(5) พิจารณาเรื่องร้องเรียนจากแฟรนไชส์ซี ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหายอันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม รวมทั้งการพิจารณาอนุมัติให้สำนักงานดำเนินคดีแฟรนไชส์ซอร์ที่ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรมแทนแฟรนไชส์ซี

(6) แจ้งโฆษณาหรือเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีคุณสมบัติหรือมีพฤติการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายในวงการธุรกิจแฟรนไชส์

(7) เรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

จะเห็นได้ว่า คณะกรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นี้ ในอนาคตจะมีหน้าที่และบทบาทอย่างมาก ทั้งในการควบคุมดูแลและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์
 
มาตรา 17 ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ขึ้นในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า


ภาพจาก goo.gl/images/7pc7AX

โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้

(1) ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

(2) เสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การเอกชนทั้งในและต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งในและต่างประเทศ

(3) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการ

(4) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์และงานอื่นตามพระราชบัญญัตินี้

(5) ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อให้มีการปฏิบัติการเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

(6) รับเรื่องร้องเรียนจาแฟรนไชส์ซีที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี และเสนอเรื่องที่สมควรดำเนินคดีแทนแฟรนไชส์ซีให้คณะกรรมการพิจารณา

(7) ดำเนินคดีแทนแฟรนไชส์ซีตามที่คณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินคดีตามมาตรา 13 (5)

(8) ปฏิบัติงานอื่นตามที่รัฐมนตรี คณะกรรมการ หรืออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามอบหมาย

ในการดำเนินคดีแทนแฟรนไชส์ซีในศาลตาม (7) ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง

จะเห็นได้ว่า ในอนาคตจะมีหน่วยงานขึ้นใหม่ ที่ผู้ประกอบกิจการธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องรู้จักและใช้ในการติดต่องาน ซึ่งก็คือ สำนักงานคณะกรรมการการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ในความดูแลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 
มาตรา 17 ห้ามมิให้บุคคลใดที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

กระทำการดังต่อไปนี้

(1) ใช้ชื่อหรือคำที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าผู้นั้นประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในการประกอบธุรกิจ หรือในดวงตรา ป้ายชื่อ หนังสือบอกกล่าวป่าวร้อง จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจ เว้นแต่เป็นการใช้เพื่อขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามพระราชบัญญัตินี้

(2) โฆษณาหรือชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมในการทำธุรกิจโดยแอบอ้างว่าเป็นแฟรนไชส์
  • มาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
     
  • มาตรา 43 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 18 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาทและปรับอีกวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
     
  • มาตรา 44 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 19 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาทและปรับอีกวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
จะเห็นได้ว่า  แม้จะมีกำหนดบทลงโทษผู้ที่ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจแฟรนไชส์  หรือผู้ที่หลอกลวงว่าประกอบธุรกิจแฟรนไชส์  แต่โทษที่มีอยู่ก็เป็นเพียงแต่ค่าปรับ  นอกจากจะมีกฎหมายฉบับอื่นที่มีโทษจำคุก
 
มาตรา 20 ห้ามมิให้แฟรนไชส์ซอร์หรือตัวแทนทำการชักชวนหรือโฆษณาด้วยข้อความอันเป็นเท็จ

หรือเกินความจริงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ในการชักชวนหรือโฆษณาให้ผู้อื่นเข้าร่วมทำธุรกิจ แฟรนไชส์ซอร์หรือตัวแทนมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลและรายละเอียดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
 
มาตรา 21 ห้ามมิให้แฟรนไชส์ซอร์หรือตัวแทนเรียกเงินมัดจำ


ภาพจาก goo.gl/images/fECMKA

ค่าตอบแทนหรือเงินใด ๆ จากแฟรนไชส์ซีหรือบุคคลใด ๆ ก่อนที่จะมีการทำสัญญาตามมาตรา 23 เว้นแต่จะเป็นการเรียกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นตามที่ได้จดทะเบียนไว้
จะเห็นได้ว่า  กฎหมายมีการป้องกันมิให้มีการโฆษณาหลอกลวง  หรือเก็บเงินก่อนที่จะมีการทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์  เพื่อป้องกันความเสียหายแก่ผู้ลงทุน
 
มาตรา 23 สัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี

จะต้องทำเป็นหนังสือและมีการระบุในเรื่องและรายละเอียดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเรื่อง ดังต่อไปนี้

(1) วันที่ทำสัญญาและวันที่สัญญามีผลใช้บังคับ

(2) สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของแฟรนไชส์ซอร์ที่มีต่อแฟรนไชส์ซี

(3) สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของแฟรนไชส์ซีทีมีต่อแฟรนไชส์ซอร์

(4) ระยะเวลาและเขตพื้นที่ที่แฟรนไชส์ซอร์ให้สิทธิแฟรนไชส์ซีใช้ทรัพย์ทางปัญญาในการประกอบธุรกิจ

(5) เงินมัดจำ ค่าตอบแทนหรือเงินใด ๆ ที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์

(6) การต่อสัญญา การเลิกสัญญา การโอนสิทธิ และการจ่ายคืนค่าธรรมเนียมเมื่อเลิกสัญญากรณีแฟรนไชส์ซอร์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
 
มาตรา 24 สัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ

หรือไม่ได้ระบุเรื่องและรายละเอียดตามที่กำหนดในมาตรา 23 หรือมีข้อสัญญาที่มิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ

จะเห็นได้ว่า หากมิได้ทำสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์ให้ถูกต้องแล้ว เท่ากับสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์ที่ทำในอนาคตหลังจากกฎหมายบังคับใช้แล้ว จะใช้เป็นต่อสู้ทางกฎหมายไม่ได้เลย (โมฆะ)
 
มาตรา 26 เมื่อแฟรนไชส์ซีตกลงทำสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์กับแฟรนไชส์ซอร์


ภาพจาก goo.gl/7NtPVn

แฟรนไชส์ซอร์หรือตัวแทนมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดแก่แฟรนไชส์ซีภายในหกสิบวัน หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแฟรนไชส์ซอร์ไม่ดำเนินการ แฟรนไชส์ซีมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและแฟรนไชส์ซอร์จะต้องคืนเงินค่าใช้จ่าย เงินมัดจำค่าตอบแทนและเงินใดๆ ที่รับไว้ทั้งหมดแก่แฟรนไชส์ซี ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิ แฟรนไชส์ซีที่จะเรียกร้องค่าเสียหายกับแฟรนไชส์ซอร์

จะเห็นได้ว่า  แม้กฎหมายจะเขียนไว้ชัดว่า  แฟรนไชส์ซอร์จะต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์  แต่รัฐมนตรีก็จะต้องประกาศกำหนดว่าข้อมูลอะไรบ้างที่จำเป็น  ดังนั้น  จึงยังต้องใช้เวลาอีกมากในการบังคับใช้   และยังจะมีประเด็นให้ถกเถียงกันอีกมากว่าอะไรคือข้อมูลที่จำเป็น
 
มาตรา 27 ห้ามมิให้แฟรนไชส์ซอร์บังคับให้แฟรนไชส์ซีต้องซื้อ เช่าหรือเช่าซื้ออุปกรณ์ สินค้า

หรือบริการใด ๆ จากแฟรนไชส์ซอร์หรือที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนด เว้นแต่เป็นอุปกรณ์ สินค้า หรือบริการที่จำเป็นเพื่อให้การประกอบธุรกิจของแฟรนไชส์ซีเป็นไปตามลักษณะ รูปแบบ มาตรฐาน และคุณภาพตามที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนด

จะเห็นได้ว่า กฎหมายข้อนี้จะสร้างความลำบากใจให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ เพราะในทางปฏิบัติปัจจุบัน แฟรนไชส์ซอร์มักจะกำหนดให้แฟรนไชส์ซีต้องซื้อจากแฟรนไชส์ซอร์  หรือแหล่งที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดเสมอ บางครั้งก็รวมเข้าไปในค่าแฟรนไชส์ฟี ด้งนั้น แฟรนไชส์ซอร์ก็อาจจะอ้างว่าแถมให้ฟรี โดยไปบวกเพิ่มในค่าแฟรนไชส์ฟีก็ได้
 
มาตรา 29 แฟรนไชส์ซอร์ต้องจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานที่มีความชัดเจน

ซึ่งต้องมีความถูกต้องและครบถ้วน เพื่อให้แฟรนไชส์ซีสามารถปฏิบัติตามที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดได้
  • คู่มือการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่งต้องระบุเรื่องและรายละเอียดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • คู่มือการปฏิบัติงานต้องจัดทำเป็นภาษาไทย และอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอาจประกาศกำหนดให้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานในรูปแบบอื่นนอกจากจัดทำเป็นหนังสือก็ได้
จะเห็นได้ว่า  ธุรกิจที่อยู่ในระบบแฟรนไชส์  มีประเภทกิจการแตกต่างกันอย่างมากมาย การทำคู่มือการปฏิบัติงานก็คงจะแตกต่างกันมากแช่นกัน แต่กฎหมายจะต้องเขียนบังคับให้แฟรนไชส์ซอร์ทุกรายมีรายละเอียดที่คล้ายกัน
 
มาตรา 30 ในการชักชวน โฆษณาหรือเปิดเผยข้อมูล


ภาพจาก goo.gl/images/LVwTuR

หากแฟรนไชส์ซอร์รับรองหรือยืนยันว่าแฟรนไชส์ซีจะได้รับผลตอบแทนจากการประกอบธุรกิจที่ได้รับสิทธิไว้เป็นจำนวนที่แน่นอน เมื่อแฟรนไชส์ซีได้ประกอบธุรกิจแล้ว ปรากฏว่าไม่ได้รับผลตอบแทนตามจำนวนที่แฟรนไชส์ซอร์รับรองหรือยืนยันโดยไม่ใช่ความผิดของแฟรนไชส์ซี ให้แฟรนไชส์ซอร์ชดใช้เงินส่วนที่ขาดหรือบอกเลิกสัญญา ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธาแฟรนไชส์ซีที่จะเรียกค่าเสียหายจากแฟรนไชส์ซอร์

จะเห็นได้ว่า พรบ. นี้พยายามจะบอกว่าหากแฟรนไชส์ซอร์โฆษณาอวดอ้างผลตอบแทน การประกอบธุรกิจเกินจริงแล้ว แฟรนไชส์ซีจะสามารถเรียกร้องให้แฟรนไชส์ซอร์รับผิดชอบตามโฆษณาได้ ซึ่งตามหลักปฏิบัติของศาลไทยแล้ว มักจะพิจารณาตามความเหมาะสมมากกว่าที่จะบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนตามที่มีการฟ้องร้อง
 
มาตรา 51 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล

ให้กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้แทนนิติบุคคลหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการ ของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น

จะเห็นได้ว่า พรบ. นี้น่าจะเชียนมาตรานี้เกินความจำเป็น เพราะหากมีการฟ้องร้องคดีกันแล้ว ปกติแล้วค่าเสียหายทางแพ่ง โจทก์สามารถฟ้องร้องทั้งนิติบุคคลและตัวการตัวแทนของนิติบุคคลร่วมเป็นจำเลยอยู่แล้ว จึงเหมือนกับแค่เขียนเสือให้วัวกลัว
 
มาตรา 53 ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่แล้ว


ภาพจาก goo.gl/images/ywT7fm

วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหากประสงค์จะประกอบธุรกิจนั้นต่อไป ให้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในมาตรา 32 ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและในระหว่างที่ยังไม่ครบหนึ่งร้อยแปดสิบวันมิให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นประกอบธุรกิจแฟรนไชส์โดยไม่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
 
การจดทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามวรรคหนึ่ง จะไม่มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีอยู่ก่อนการจดทะเบียน จะเห็นได้ว่า มาตรานี้หากกฎหมายบังคับใช้จริง และหากการกำหนดนิยามของธุรกิจแฟรนไชส์กว้างเกินกว่าความจำเป็น ก็น่าจะมีผู้ที่กระทำผิด พรบ. นี้มากมายทั่วประเทศ และในเมื่อกฎหมายลูกยังออกมาได้ไม่พร้อมกัน กฎหมายจะบังคับใช้ในมาตรานั้นได้อย่างไร
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,748
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,472
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,605
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,376
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
819
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
811
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด