บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.9K
1 นาที
27 มีนาคม 2562
ปัญหาข้อโต้แย้งทั้งในสัญญาและนอกสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์


เนื่องจากที่ผ่านมา ยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์โดยตรง หากมีการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับสัญญา ก็จะต้องฟ้องร้องโดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นหลัก เมื่อไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์โดยตรง โอกาสที่แฟรนไชส์ซีจะฟ้องร้องแล้วชนะได้ค่าเสียหายจึงเป็นไปได้ยาก
 
ปัญหาข้อโต้แย้งในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์

 
ยิ่งไปกว่านั้น หากสังเกตเนื้อหาในสัญญาแฟรนไชส์ ที่ฝ่ายแฟรนไชส์ซอร์จะเป็นผู้ร่างขึ้นเองเกือบทั้งสิ้น มักจะไม่มีข้อความที่ผูกมัดให้แฟรนไชส์ซอร์ต้องเป็นฝ่ายปฏิบัติ มีแต่แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติอะไรบ้าง ส่วนหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์ก็จะเขียนโดยกว้างๆ เช่น จะให้ความช่วยเหลือสนับสนุน จะจัดการฝึกอบรมให้ปีละกี่ครั้ง ฯลฯ

แฟรนไชส์ซอร์จึงมีโอกาสน้อยกว่ามากในการเป็นฝ่ายผิดสัญญา เว้นเสียแต่ว่าแฟรนไชส์ซอร์ประสบปัญหาในธุรกิจของตนเอง จนไม่สามารถทำหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์ได้ในอนาคต หาก พรบ. ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ประกาศใช้จริง ก็คาดการณ์ได้ว่าคงจะมีคดีขึ้นสู่ศาลให้เห็นเป็นตัวอย่างมากขึ้น

 
ปัญหาสัญญาแฟรนไชส์ที่มักทำกันอย่างไม่ละเอียดนี้ แตกต่างจากในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก เพราะการมีกฏหมายบังคับให้มีรายละเอียดถึง 23 ประเด็นสำคัญที่ต้องเปิดเผย และแฟรนไชส์ซอร์ ส่วนใหญ่ก็รอบคอบในการร่างสัญญา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์ในอเมริกาจะมีความยาวระหว่าง 80-100 หน้า

จนกระทั่งมีผู้เขียนหนังสือแนะนำว่าไม่ควรจะแจกโดยไม่จำเป็นหรือไม่คิดว่าจะเป็นผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์จริง เพราะเป็นต้นทุนที่สูงมากในการพิมพ์ขึ้นมาใหม่หากหมด ซึ่งจะผิดกับในประเทศไทย ที่ผู้เขียนเห็นสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์มีความยาวเฉลี่ยอยู่ประมาณสิบหน้ากระดาษเท่านั้น และผู้ซื้อก็มักไม่ได้สนใจศึกษารายละเอียดในสัญญาด้วยซ้ำไปก่อนเซ็นสัญญา
 
ปัญหาข้อโต้แย้งนอกสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์

 
ข้อโต้แย้งซึ่งอยู่นอกข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์ มักจะเกิดขึ้นระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีอยู่เสมอ ที่พบเห็นได้บ่อยก็มีทั้งแฟรนไชส์ซีกล่าวหาว่าแฟรนไชร์ซอร์ไม่ช่วยเหลือเท่าที่โฆษณาไว้ ส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ หรืออุปกรณ์เครื่องจักรให้ ในราคาที่สูงเกินจริงหรือล่าช้าไม่ทันการขายหรือใช้งาน ขาดความจริงใจในการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี และบ่อยครั้งที่มีปัญหาการให้มีแฟรนไชส์ซีเพิ่มเติมในบริเวณพื้นที่ทับซ้อน

นอกจากนี้ยังเคยพบว่า แฟรนไชส์ซอร์บางรายขายแฟรนไชส์สินค้าหรือบริการหลายชนิด หรือชนิดที่คล้ายคลึงกันแต่คนละยี่ห้อหรือ ชื่อร้าน ทำให้หันไปทุ่มเทให้ความสนใจกับสินค้าหรือบริการอีกชนิด โดยอาจใช้ทีมงานบุคลากรในชุดเดิมที่เคยสนับสนุนแฟรนไชส์ซีรายเดิม

 
ในทางกลับกัน แฟรนไชส์ซอร์มักพบว่าแฟรนไชส์ซีพยายามหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา เช่น แอบเอาสินค้าอื่นมาขาย แอบใช้วัตถุดิบหรือเครื่องมือ ฯลฯ ที่ไม่ได้มาตรฐาน ลดคุณภาพของสินค้าหรือบริการที่ให้แก่ลูกค้า แม้กระทั่งลดแสงสว่างหรือความสะดวกสบายอื่นๆที่พึงมีในร้าน การหมุนเวียนเข้าออกของพนักงานมีมากผิดปกติ การชำระเงินที่ไม่ตรงตามเวลา ตลอดจนไม่เปิดให้บริการตามเวลาที่กำหนด และปัญหาอื่นๆ อีกมาก
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,060
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,514
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,637
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,583
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด