บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
3.6K
3 นาที
22 กรกฎาคม 2562
เริ่มต้นอย่างไร? เมื่อมีคนขอซื้อแฟรนไชส์
 

ผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าหลายๆ คน น่าจะเคยเจอกับกรณีสินค้าหรือบริการของตัวเอง กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและตลาด ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าแล้วรู้สึกติดในรสชาติหรือการให้บริการ จึงอยากทำธุรกิจหรือเปิดร้านแบบนี้บ้างในพื้นที่ของตัวเอง แต่ไม่อยากสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่เพราะกลัวเสียเวลาในการสร้างแบรนด์ เสียเวลาลองผิดลองถูก จึงขอซื้อแฟรนไชส์
 
เมื่อมีคนติดต่อซื้อแฟรนไชส์ของคุณไปเปิดร้าน แต่ใจหนึ่งของคุณก็อยากขาย อีกใจก็ไม่อยากขาย เพราะไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ปัญหานี้มีทางออก เพราะวันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีวิธีการเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ง่ายๆ มาฝากเจ้าของกินการร้านค้า ที่สนใจอยากจะขายแฟรนไชส์ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน ต้องทำอย่างไรบ้าง มาศึกษาพร้อมๆ กันเลยครับ  
 
1.หาความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ 
 

การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก่อนอื่นคุณต้องมีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ ว่าเขาทำกันอย่างไร แฟรนไชส์ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง และต้องสร้างทีมงานที่พร้อมสนับสนุน มีความเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ดีพอ เมื่อคุณมีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ คุณก็จะตัดสินใจได้ว่าทำไมธุรกิจคุณต้องขายแฟรนไชส์ เพราะระบบแฟรนไชส์มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย 
 
อีกทั้งคุณยังต้องมีเงินทุนที่มากพอ ทั้งการสร้างแบรนด์ การขยายสาขาต้นแบบ ซึ่งเงินทุนจะใช้เป็นตัวผลักดันให้ธุรกิจคุณขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ เพราะระบบธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์ และทำการตลาดให้ธุรกิจของคุณมีชื่อเสียง จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ก่อนที่จะขายสิทธิให้กับคนอื่น ดังนั้น คุณต้องรู้เรื่องแฟรนไชส์ก่อนจะขายแฟรนไชส์ 

 
สำหรับใครที่อยากหาความรู้ในการสร้างแฟรนไชส์ สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ คลิก! https://bit.ly/2GhQrbz
 
2.วางแนวทางธุรกิจให้โดนใจลูกค้า
 

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ถ้าธุรกิจของคุณยังไม่ใช่คำตอบของลูกค้า ก็ยังเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ได้ เพราะธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ได้ต้องมีความโดนเด่นเพียงพอที่จะดึงลูกค้าเข้ามาในร้านได้ต่อเนื่องได้ 
 
อย่างไรก็ตาม การสร้างแนวทางธุรกิจให้โดดเด่น จึงเป็นเรื่องสำคัญของการทำแฟรนไชส์ ถ้าวางแนวทางผิดก็จะผิดตั้งแต่แรก ดังนั้นการเริ่มต้นแฟรนไชส์ต้องคิดและวางแนวทางให้ถูกเสียตั้งแต่ตอนเริ่มต้น 
 
ถ้าผิดก็ต้องค่อยๆ ปรับเปลี่ยนใหม่จนโดนใจลูกค้า ซึ่งคุณอาจจะใช้วิธีการประเมินความพร้อมของธุรกิจคุณควบคู่ไปด้วย ก่อนที่จะขายแฟรนไชส์ ถ้าไม่ผ่านก็ยังทำแฟรนไชส์ไม่ได้ แม้ว่าสินค้าและบริการจะตอบโจทย์ลูกค่าได้ 
 
3.การสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์ 
 

เมื่อคุณคิดดีว่าจะขายแฟรนไชส์ ธุรกิจโดนใจลูกค้าแล้ว สิ่งที่จะพิสูจน์ต่อไปว่าธุรกิจของคุณจะขายแฟรนไชส์ได้หรือไม่ นั่นคือ การสร้างร้านต้นแบบ หรือ Pilot Operations ให้เกิดขึ้นชัดเจนก่อน เพราะการสร้างร้านต้นแบบจะเป็นเครื่องมือทดลองว่าธุรกิจของคุณผ่านหรือไม่ ร้านต้นแบบจะสะท้อนได้ถึงปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ดี รู้ถึงยอดการขาย กลุ่มลูกค้าที่เข้าใช้บริการ 
 
ถ้าร้านต้นแบบที่คุณสร้างขึ้นนั้นประสบความสำเร็จ ก็จะช่วยให้เกิดแนวทางการทำงานที่ชัดเจนขึ้น เพราะจะเห็นภาวะของธุรกิจด้านกำไร-ขาดทุนชัดเจนมาก ทำให้เห็นข้อดี-ข้อเสียของระบบงาน รวมถึงการปรับธุรกิจให้เป็นไปตามตลาด ยิ่งถ้ามีการสร้างได้หลายสาขา คุณก็จะได้เห็นความแตกต่างชัดเจน จากเงื่อนไขของทำเลที่ตั้ง สภาพลูกค้าที่แตกต่างกัน 
 
4.สร้างโปรแกรมแฟรนไชส์ 
 

เมื่อธุรกิจคุณที่สร้างขึ้นเป็นต้นแบบที่ชัดเจน พร้อมที่จะขายแฟรนไชส์แล้ว มีตลาดรองรับแน่นอน ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างโปรแกรมแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบแฟรนไชส์ที่จะนำเสนอให้ถูกต้อง เพื่อที่จะทำให้แฟรนไชส์ซีลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้มากที่สุด และยังทำให้คุณสามารถควบคุมมาตรฐานทั้งด้านสินค้าและบริการ
 
โปรแกรมแฟรนไชส์ประกอบด้วย แพ็คเกจให้การสนับสนุนด้านบริการ คู่มือแฟรนไชส์ (Operation Manual) การฝึกอบรม การตลาดและโฆษณา วิธีการควบคุมและข้อปฏิบัติให้แฟรนไชส์ซีทำตามกฎ ระบบบัญชีการเงิน ซึ่งคุณจะต้องจัดเตรียมไว้ทั้งก่อนเปิดและหลังเปิดขายแฟรนไชส์ ถือเป็นแพ็คเกจที่แฟรนไชส์ซีจะได้รับจากคุณ เมื่อซื้อแฟรนไชส์จากคุณไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดไว้เป็นหลักฐานชัดเจน ถ่ายทอดจากร้านหนึ่งไปสู่อีกร้านหนึ่งได้ ถือเป็นคัมภีร์ที่ใช้ถ่ายทอดไปได้เรื่อยๆ 
 
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า คุณต้องมีการวางแผนด้านการตลาด ที่จะสนับสนุนการยอมในตราสินค้าได้เป็นอย่างดี รวมถึงการสร้างแบรนด์แฟรนไชส์ของคุณให้เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดในวงกว้าง สร้างฐานลูกค้าให้เป็นผู้บริโภครองรับการขยายสาขาของธุรกิจที่จะเพิ่มมากขึ้น 
 
5.กำหนดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
 

ก่อนที่จะตัดสินใจคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และค่าธรรมเนียมต่างๆ ต้องตรวจสอบถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างรอบคอบ และความเป็นไปได้ว่าค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บ หากแฟรนไชส์ซีอยู่ต่างประเทศ ก็จะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แตกต่างจากในประเทศ 
 
การคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ จะมีค่าใช้จ่ายๆ อื่นมาประกอบด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการสำรวจ, การอบรมทีมงาน ในการจัดอบรมอาจมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ต้องใช้ระหว่างการฝึก และค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าสอนของทีมงาน ทั้งภายนอกภายในที่ต้องจัดขึ้น อีกทั้งหากเป็นการฝึกงานในสถานที่จริง ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่เป็น เช่น ค่าดำเนินการสามารถคิดเป็นต่ออาทิตย์  
 
นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องใช้อีกเรื่อง คือ การเตรียมเปิดสาขา ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายของทีมงานอย่างน้อยก่อนวันเปิดอย่างน้อย 2 วัน อาทิ ค่าเครื่องบิน ค่าวิทยากร ค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าเช่ารถ ค่าแรงงานพิเศษ เป็นต้น
 
6.สร้างเอกสารสัญญาแฟรนไชส์


สัญญาแฟรนไชส์แม้จะเป็นเรื่องสุดท้ายก่อนจะขายแฟรนไชส์ เพราะต้องผ่านการเตรียมระบบ ระบบงาน และมีคู่มือการทำธุรกิจก่อน แต่ความสำคัญของสัญญาแฟรนไชส์ ก็คือ เครื่องมือผูกความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีที่จะมีต่อกัน สัญญาที่ทำร่วมกัน ผู้สร้างแฟรนไชส์ควรมีการออกแบบสัญญาที่ดี มีความยุติธรรมและก่อประโยชน์ในการสร้างอนาคตทางธุรกิจร่วมกันของทั้งสองฝ่าย คุณควรให้นักกฎหมายหรือทนายทำให้ หรือหาบริษัทที่ปรึกษามาให้คำแนะนำในส่วนนี้ได้  

ขอรับคำปรึกษาธุรกิจ SMEs และแฟรนไชส์ https://www.thaifranchisecenter.com/consult/
 
7.สร้างระบบคัดเลือกแฟรนไชส์ซี
 

การขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์ จำเป็นต้องมีการสร้างกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เข้มแข็ง เป็นการคัดกรองผู้ที่มีความเหมาะสมช่วยคุณขยายงานได้จริง หากเลือกไม่ดี แบรนด์ของคุณจะถูกทำลายให้เสียหายหรือลดความน่าเชื่อถือได้ การเป็นคู่ค้าระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีที่ไม่ประสบความสำเร็จ ย่อมนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ไม่น่าเชื่อถือแก่นักลงทุนคนอื่น 
 
เมื่อคัดเลือกแฟรนไชส์ได้แล้ว แฟรนไชส์ซอร์จำเป็นต้องมีระบบการอบรม และวิธีการทำให้นักลงทุน เป็นนักธุรกิจตามที่คุณตั้งเป้าหมายไว้ และสุดท้ายก็คือเรื่องของการพัฒนาองค์กรต่อเนื่องจริงจังให้เป็นองค์กรแฟรนไชส์ที่แท้จริง
 
ทั้งหมดเป็นวิธีการเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์แบบง่ายๆ หาคุณคิดจะขายแฟรนไชส์ แม้จะมีความซับซ้อนบ้าง แต่ถ้าคุณมีความรู้ มีความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ดีพอ การคิดทำแฟรนไชส์ และการเริ่มต้นของคุณก็จะนำพาธุรกิจคุณไปสู่ความสำเร็จได้ไม่ยาก
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 

Franchise Tips
  1. หาความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ 
  2. วางแนวทางธุรกิจให้โดนใจลูกค้า
  3. การสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์ 
  4. สร้างโปรแกรมแฟรนไชส์ 
  5. กำหนดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
  6. สร้างเอกสารสัญญาแฟรนไชส์
  7. สร้างระบบคัดเลือกแฟรนไชส์ซี


 
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
 

 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,858
ส่อง 76 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
6,319
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,807
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,653
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
883
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
863
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด