บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
4.7K
2 นาที
12 มิถุนายน 2555
ความแตกต่างระหว่าง ธุรกิจสร้างอาชีพ vs ธุรกิจแฟรนไชส์


 
การขยายธุรกิจนั้นทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการขยายด้วยการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายด้วยการขายส่ง หรือการขยายสาขาตัวเองเป็นเครือข่าย หรือการทำธุรกิจแบบขายตรง ในแต่ละรูปแบบธุรกิจก็มีความแตกต่างในวิธีการออกไป

แต่มีบางธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบแฟรนไชส์ เนื่องมาจากลักษณะสำคัญของธุรกิจเป็นตัวบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเพราะธรรมชาติธุรกิจต้องเน้นการให้บริการในจุดจำหน่ายไม่สามารถที่จะนำเสนอสินค้าบริการด้วยรูปแบบสำเร็จรูป ใส่กล่องส่งขายในลักษณะช่องทางจัดจำหน่ายทั่วไปได้


แต่จำเป็นต้องมีการสร้างมาตรฐานในการจัดการ การทำร้านให้เป็นรูปแบบ ด้วยเหตุดังกล่าวก็เลยจำเป็นต้องขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์เพื่อยังคงวิธีการให้บริการและการผลิตสินค้าในจุดขาย ดังนั้นถ้าการขยายสาขาของบางธุรกิจจำเป็นต้องสร้างระบบแฟรนไชส์มาสนับสนุนแล้วก็จะต้องทำความเข้าใจระบบธุรกิจอย่างดีเสียก่อน


ปัจจุบันมีการพัฒนาในรูปแบบของก้ำกึ่งจะเป็นแฟรนไชส์หรือเป็นการดำเนินการแบบ ธุรกิจสร้างอาชีพ  ซึ่งมักจะเกิดปัญหาในการขยายตัวหรือการเติบโตของธุรกิจ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าการสร้างธุรกิจสร้างอาชีพหรือการลงทุนขนาดเล็กรูปแบบดังกล่าวเป็นความผิดพลาดหรือเป็นการหลอกลวง เพราะรูปแบบธุรกิจดังกล่าวนั้นมีอยู่แล้วมีการดำเนินการอย่างนี้มาเนิ่นนานเป็นแบบวิธีการหนึ่งของธุรกิจ

เพียงแต่วันนี้อาจจะใช้คำจำกัดความในการเรียกไม่ลงตัว แต่เดิมหลายคนคงเคยได้ยิน ธุรกิจแบบลุงขาวไขอาชีพ ที่มีการสอนทำขนม อาหารและมีการขายอุปกรณ์พร้อมสำหรับคนที่อยากจะลงทุนทำอาชีพตัวเอง แต่ต้องเน้นกันด้วยว่าวิธีนี้ไม่ใช่เป็นวิธีการของแนวคิดแบบแฟรนไชส์
 
ธุรกิจแบบสร้างอาชีพนั้นจะมีขีดขั้นสามารถพัฒนาต่อเนื่องให้กลายเป็นระบบแฟรนไชส์ที่ดีได้ในขณะเดียวกันก็สามารถพัฒนาเป็นธุรกิจค้าส่งหรือการสร้างสินค้ากลายเป็นโรงงานเน้นในแง่การผลิตไปได้ด้วย

ในกรณีที่พัฒนาเข้าสู่ระบบการผลิตและเน้นการขายสินค้าแบบขายส่งธรรมดานั้นจะต้องมีการระวังในเรื่องแนวทางที่ต้องชัดเจน การให้สิทธิ์กับร้านสมาชิกและต้องมั่นใจในสินค้าที่จะรักษาคุณภาพในการผลิตได้จริง รวมถึงต้องยอมรับว่าในที่สุดสิ่งที่จะได้ก็คือ ตราสินค้า แต่ไม่ใช่ตราของร้านค้า การขยายงานแบบนี้จะกลายเป็นธุรกิจขายสินค้าทั่วไปไม่ใช่การขายทั้งระบบการจัดการ แบบที่แฟรนไชส์เป็น

 
แต่ถ้าหากต้องการวางแนวทางต้องปรับรูปแบบให้เป็นแฟรนไชส์ก็สามารถทำได้โดยเริ่มจากต้องวางแผนให้แน่ชัดเสียก่อนว่าต้องการสร้างระบบแฟรนไชส์จริงหรือไม่ และทำความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ให้ชัดเจนวางแผนงานให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

สำคัญที่สุดคือ การออกแบบธุรกิจให้เหมาะสมกับการลงทุนของแฟรนไชส์ซีจริง สร้างรายได้และกำไรพร้อมที่จะกลายเป็นธุรกิจยั่งยืนได้ การวางแผนงานด้านการจัดการระบบการถ่ายทอดและสร้างคู่มือปฏิบัติที่เอามาใช้งานจริงร่วมกับทีมงานที่จัดตั้งเพื่อการรองรับสาขาด้วย การให้การสนับสนุนจริงจัง ความสำเร็จของแฟรนไชส์ซีจะสร้างผลกำไรให้กับองค์กรไปด้วย

การจัดเก็บค่าบริหารจัดการต้องมีการวางแผนถูกต้อง ซึ่งธุรกิจลักษณะดังกล่าวถ้าต้องการปรับเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์อาจจะต้องเริ่มจากการสร้างร้านต้นแบบขึ้นมาใหม่ด้วยตัวเองเสียก่อน โดยมีหลักยึดที่จะต้องออกแบบให้ธุรกิจมีขนาดการลงทุนที่เหมาะจะเป็นอาชีพยั่งยืน เป็นร้านก็ให้มีขนาดพื้นที่และมียอดขายสูงพอที่จะสร้างกำไรคุ้มกับการลงแรง และเป็นธุรกิจมากกว่าอาชีพเสริม

ถ้าหากมีร้านต้นแบบที่ดูใช้ได้แล้วการดำเนินการที่สร้างกำไรได้จริง แต่ต้องมีมากสาขาขึ้นมาอีกข้อเช่น อาจจะต้องมีเกินกว่า 3 สาขาเพื่อการเข้าใจธุรกิจที่เป็นระบบสาขาเราจะดูแลบริหารอย่างไร

เมื่อมีสาขาแฟรนไชส์จะได้เข้าใจในการบริหารร้านที่ต่างพื้นที่ ต่างคนทำงาน ต่างลูกค้าจะต้องดูแลอย่างไร ในช่วงต่อมาต้องมีการสร้างชื่อเสียงให้ตราสินค้าเป็นที่รู้จัก เริ่มเน้นเรื่องระบบการบริหารงาน การจัดทำเครื่องมือการถ่ายทอดวิธีการทำงานให้เหมาะสม แล้วจึงเริ่มสร้างระบบแฟรนไชส์ขยายงานออกไป

 
เมื่อสามารถแยกแยะความแตกต่างของธุรกิจแฟรนไชส์และธุรกิจสร้างอาชีพได้แล้ว สำหรับธุรกิจสร้างอาชีพที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กนั้นก็ยังสามารถพัฒนาได้ต่อเนื่องแม้ว่าจะไม่ใช่ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ก็ตาม

การพัฒนาธุรกิจจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายสร้างเครือข่ายที่ จะต้องซื้อสินค้าก็ยังทำได้และสุดท้ายการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ผลิต แต่ต้องยอมรับว่าธุรกิจสร้างอาชีพนั้น ไม่ได้เน้นในแง่ความสัมพันธ์ หรือจะช่วยสร้างความเข้มแข็งในตราร้านค้าให้กับธุรกิจในระยะยาว

และสุดท้ายอยู่ที่นักลงทุน ต้องเกิดความเข้าใจจริงๆเสียก่อนว่า ธุรกิจที่ต้องการลงทุนนั้นเป็นอะไรแน่และต้องการอะไรจากการลงทุนนั้นๆ การขาดความเข้าใจในตัวธุรกิจอย่างชัดเจนจะทำให้เกิดความเข้าใจรวมทั้งการคาดหวังที่ผิดไป ซึ่งภาวะดังกล่าวจะทำให้การลงทุนเสียหายด้วยความไม่เข้าใจและเสียกำลังใจภายหลังได้


 
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,678
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,803
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด