บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.5K
2 นาที
12 มิถุนายน 2555
มาตรฐานแฟรนไชส์ และการจัดการเชิงระบบ


การจัดการกระบวนการทางสังคมเพื่อสร้างความชอบธรรม หรือการสร้างข้อตกลงทางวินัยให้เกิดขึ้นโดยคาดหวังให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข หรือก็เพื่อการแก้ปัญหาลดการขัดแย้งนำไปสู่ทางที่ดีกว่า

เรื่องแบบนี้คนคิดคนทำจำเป็นต้องคิดเชิงระบบ มากกว่าที่จะคิดเชิงประโยชน์ ซึ่งหมายถึงว่า ถ้าเราจะสร้างสิ่งใดเพื่อทำให้วงจรการจัดการสมบูรณ์ขึ้นนั้นต้องมองว่า วิธีใดที่จะทำให้เกิดหลักการและสิ่งที่ถูกต้องควรเป็น มากกว่าจะมองว่าการกระทำนั้นเกิดประโยชน์แก่ใคร ใครเสียประโยชน์ ทำเพื่อใครหรือเปล่า เพราะถ้ามองเพียงแต่เรื่องเชิงประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ไม่ต้องทำ กระบวนการดีๆ ที่จะต้องมีก็เลยหยุด เลิกกัน น่าเสียดาย...


          เรื่องที่พยายามจะเล่าทั้งหมดนี้ต้องยืนยันกันเสียก่อนว่าไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการเมืองทั้งสิ้นเพราะสำหรับผมแล้วการเมืองไม่ยุ่งการมุ้งก็ไม่เกี่ยวแน่นอนแต่กำลังเล่าเรื่อง โครงการสร้างมาตรฐานในธุรกิจแฟรนไชส์ของกระทรวงพาณิชย์ ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อสี่วันก่อนนั่นเอง
 

         วันเวลามากกว่า 20 ปีของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลุ่มๆดอนๆไปกับธุรกิจค้าปลีกของประเทศที่อ่อนยวบขาดวิตามินที่จะเพิ่มความเข็งแรงมานานปี ถึงวันนี้แม้ความหวังการพัฒนาธุรกิจของประเทศชาติด้านนี้จะมีแสงแห่งความหวังไม่เจิดจ้าเท่ากับธุรกิจอื่น แต่ก็จำเป็นต้องหาทางพัฒนายกระดับกันต่อไป


จากอดีตที่มีธุรกิจเข้าใจเรื่องของแฟรนไชส์กันน้อยราย กลับมาเป็นกระแสที่เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ ที่ไม่รู้ไม่ทราบไม่ได้ พร้อมทั้งยังเป็นความหวังในการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและเล็กกระจายความเข้าใจในการจัดการธุรกิจสู่นักค้าขายรายย่อย ผ่านการทำงานร่วมกันเป็นทีมโดยมีเจ้าภาพที่เป็นแฟรนไชส์ซอร์พัฒนาธุรกิจต่อเนื่อง

ปัจจุบันแฟรนไชส์ในประเทศมีไม่น้อยกว่า 400 รายอัตราการเติบโตเฉลี่ยจาก 5 ปีที่ผ่านมามีการขยายตัวไม่น้อยกว่า 20% มูลค่าทางการค้าในระบบประมาณการที่ 77,097 ล้านบาทในปี 2550 แม้ว่าจะต่ำไปกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากผลของการชะลอการใช้จ่ายของคนในสังคม รวมถึงสภาวะของคุณภาพตัวธุรกิจเองยังไม่ถึงจุดที่จะแสดงศักยภาพได้เต็มที่ ทำให้จำนวนธุรกิจแฟรนไชส์มีอัตราการปิดตัวจากปีที่แล้วถึง 21.9% รวมทั้งผลกระทบของการขยายตัวสาขาไม่เป็นไปตามคาด ทำให้มูลค่าของธุรกิจในระบบต่ำกว่าควรเป็นไม่น้อยกว่า 20%


ความจำเป็นของการมองภาพรวมธุรกิจด้านแฟรนไชส์ที่ต้องจัดการเชิงระบบจึงมีความสำคัญมากขึ้น  หน่วยงานที่พัฒนาระบบแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง อย่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงต้องออกโรงหาทางสร้างยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อพัฒนาระบบแฟรนไชส์ที่พัฒนามากับมือให้มีความมั่นคง แทนที่จะรอความคืบหน้าการจัดการด้านกฎหมายก็ปรับเอาเรื่องของ มาตรฐาน เข้ามาช่วยแทน การเปิดตัวการสร้างมาตรฐานให้กับธุรกิจแฟรนไชส์นั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องออกแรงเชียร์สนับสนุน

เนื่องจากด้วยวิธีดังกล่าวจะเท่ากับสร้างแนวทางให้คนส่วนใหญ่แยกแยะเรื่องธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนและอาศัยความตั้งใจส่วนตัว ป้องกันการเข้าใจผิดและผู้หวังดีประสงค์ร้ายอาศัยช่องทางเข้ามาเอาเปรียบ  เมื่อโครงการนี้เสร็จสิ้นลงก็จะสามารถบอกได้ถึงระดับความสามารถของธุรกิจที่ต้องการสร้างระบบด้านแฟรนไชส์ว่า แต่ละองค์กรนั้นอยู่ระดับใด ขาดตกบกพร่องด้านใด ใครใช่ใครไม่ใช่ ได้ชัดเจนมากขึ้น

แต่ต้องบอกกันเนิ่นๆว่า มาตรฐานดังกล่าวไม่ใช่เรื่องของการขีดเส้น จับผิด แต่เป็นการบอกแนวทางถึง การจัดการระบบแฟรนไชส์ที่ถูกต้องนั้นต้องมีองค์ประกอบใดที่จะไม่พาพวกพ้องสมาชิกลงเหว แทนที่จะได้เงินเข้าพกเข้าห่อเพิ่มรายได้เข้าใจการจัดการธุรกิจที่พัฒนาขีดขั้นความสามารถ กลายเป็นเรื่องดีต้องมาเสียหายอย่างไม่ควร จะได้ลดลงไป


จากการติดตามโครงการพบว่า จะต้องใช้เวลาในการสร้างฐานข้อมูลเพื่อจัดระดับของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยขึ้นมาด้วยวิธีการทางสถิติเสียก่อน หลังจากนั้นจึงจัดแนวทางการประเมินและนำไปทดลองใช้จริง การวางมาตรฐานครั้งนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพต้นทางความคิด และได้บริษัทชั้นนำด้านการควบคุมมาตรฐานระดับโลกแบบ บจก.อินเตอร์เทค ที่เป็นผู้จัดการโครงการพร้อมทั้งทีมงานที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยเข้ามาช่วยกัน ประสานงานร่วมด้วยสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย อย่างเต็มที่ และในช่วงปลายปีก็จะได้เห็นมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ฉบับประเทศไทย ที่จะใช้เป็นแนวทางประเมินธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างจริงจัง

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นกลายเป็นเครื่องชี้วัดศักยภาพของประชากรของประเทศไปแล้ว เนื่องจากระบบจะบอกถึงขีดขั้นความสามารถการบริหารธุรกิจ การขยายตัวรวมถึงการจัดการความรู้ในเชิงธุรกิจและสินค้าอย่างมีมาตรฐาน ประเทศที่พัฒนาแล้วเข้าใจและอาศัยกระบวนการแฟรนไชส์สร้างคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ได้รับสินค้าและบริการที่มีมาตรฐานดีขึ้นและในขณะเดียวกันก็สร้างพื้นฐานเศรษฐกิจด้วยความมั่นคงในการทำธุรกิจของนักลงทุนรายย่อยอย่างถูกต้อง การเริ่มโครงการมาตรฐานแฟรนไชส์ไทยครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งการจัดการเชิงระบบของธุรกิจไทย อีกก้าวการพัฒนาที่ต้องติดตาม
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,763
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,875
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,917
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,254
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด