บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การเงินในธุรกิจแฟรนไชส์
4.8K
2 นาที
13 มิถุนายน 2555
แฟรนไชส์ไม่ใช่การระดมทุน แต่คือหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ผูกพันระหว่างกัน!


 
โดยปกติแล้วการเป็นหุ้นส่วนนั้นถูกกำหนดในเรื่องของสัดส่วนการลงทุนและหน้าที่รับผิดชอบในงานของแต่ละคนรวมถึงรับทั้งผิดและชอบเมื่อผลประกอบการเกิดขึ้นทั้งกำไรหรือขาดทุน ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์นั้นแม้ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนในเชิงการลงทุนแต่กลับจะต้องผูกพันและมีภาระต่อกัน
        
ธุรกิจที่มีโอกาสและแนวคิดดีๆ นั้นมักจะถูกเรียกร้องให้ขยายตัว และเรื่องของเงินทุนเป็นจุดแรกที่ต้องประเมินงบประมาณการเสียก่อน การระดมทุนด้วยวิธีการหาหุ้นส่วนเพิ่มหรือการขายหุ้นเพื่อให้ได้เงินทุนเข้ามาในกิจการนอกจากนั้นวิธีการเพิ่มทุนแบบนี้บางครั้งก็ยังเป็นการหาเพื่อนเข้ามาบริหารร่วมธุรกิจอีกด้วย  ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นวิธีที่ง่ายกว่าถ้าคิดจะสร้างให้รูปแบบทั้งระบบงานเป็นการดำเนินธุรกิจแบบแฟรนไชส์  เพราะถึงอย่างไรการหาหุ้นส่วนเพิ่มก็ยังมีลักษณะของความเป็นเจ้าของเฉพาะกลุ่มหรือเพียงคนเดียว เรื่องของการตัดสินใจจึงควบคุมได้ง่ายและดีกว่าในความรู้สึกบางคน และถ้าจะหาตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการใช้วิธีนี้ในการขยายธุรกิจค่อนข้างมีตัวอย่างให้เห็นมาก






ทั่วๆไปแล้วการเริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็กก็จะต้องมีการระดมทุน จากการสร้างฝันและขายโครงการให้กับญาติ สนิทมิตรสหายกันก่อน นักธุรกิจแฟรนไชส์ที่สร้างธุรกิจมายิ่งใหญ่ได้ตอนนี้ก็ยังยอมรับว่าใช้วิธีนี้โดยการหาเงินลงทุนจากเงินหุ้นส่วนในระยะแรก บางทีวิธีนี้กลับจะได้มากกว่าการได้รับค่าสิทธิจากแฟรนไชส์ซีในช่วงต้นเสียอีก เมื่อนำเงินทุนจากการระดมทุนนี้มาดำเนินการต่อเนื่องจนสามารถจัดระบบได้ดีแล้วจึงทำการปรับเปลี่ยนและพัฒนาจากประสบการณ์และความรู้ของหุ้นส่วน

จนเป็นระบบที่สมบูรณ์แบบจึงจะขยายสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จต่อไปก็ได้ ดังนั้นการสร้างหน่วยงานทางธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลขึ้นมาร่วมกันทำงานโดยมีการแบ่งหน้าที่และสิทธิ์ในการประกอบการดำเนินการร่วมกันจากหลายคนหลายความคิดเป็นเรื่องทั่วไปที่ทำกัน

        
สำคัญก็คือ อย่าคิดว่าระบบแฟรนไชส์เป็นการระดมทุน เพราะเมื่อธุรกิจที่มุ่งระดมทุนจากการขายแฟรนไชส์เกิดประสบปัญหาในภาวะที่ไม่พร้อมนั้นหรือยังไม่มีระบบบริหารที่เหมาะสมผลกระทบที่เกิดขึ้นจะควบคุมได้ยากเรียกว่า ได้ไม่คุ้มเสีย การเกิดปัญหาในช่วงออกตัวของแฟรนไชส์ใหม่ถ้าสะดุดขาตัวเองโอกาสกลับตัวแก้ไขใหม่ทำได้ยากมาก

สำหรับธุรกิจที่อาศัยการเป็นหุ้นส่วนยังมีรายละเอียดที่ต้องคำนึงถึงในทางกฎหมายและภาษีอีกมาก แต่เอาเป็นว่าเมื่อคบหากันเป็นหุ้นส่วนบริษัทก็อย่าคิดเพียงว่าจะคอยรับแต่โบนัสหรือเงินปันผลก้อนโตเท่านั้นปะเหมาะเคราะห์หามเราอาจจะต้องดูแลรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นทุกอย่างไปด้วยแม้ว่าความเป็นเจ้าของนั้นมีไม่มากเท่าไรก็ตาม


ส่วนวิธีการขยายงานด้วยการเป็นแฟรนไชส์ซอร์นั้นก็ยังมีข้อที่เหมือนกับรูปแบบหุ้นส่วนธุรกิจทั่วไปตรงที่ความรู้สึกร่วมไปกับการดำเนินงานเช่นกันเพียงแต่เน้นในการรับรู้ร่วมต่อการทำให้ผลประกอบธุรกิจเป็นไปในทางที่ดีเพื่อให้การลงทุนของแฟรนไชส์ซีคุ้มค่า และสร้างธุรกิจภาพรวมของตราสินค้านั้นๆ กระจายตัวและรักษาความนิยมไว้อย่างต่อเนื่อง ร้านสาขากับบริษัทแม่จะผูกพันกันด้วยตราสินค้าและรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างเดียวกัน

สาขาใดในระบบมีปัญหาก็ส่งผลให้ภาพรวมของธุรกิจนั้นมีผลในแง่ลบไปด้วย แฟรนไชส์ซอร์เองจะประสบความสำเร็จในธุรกิจได้ก็ต้องอาศัยความสำเร็จของแต่ละสาขาในระบบมาเป็นองค์ประกอบ และถ้าหากสำนักงานที่ดูแลระบบที่เรียกว่าบริษัทแม่นั้นเกิดปัญหาร้านค้าในเครือข่ายที่เป็นลูกข่ายก็จะอยู่ไม่ได้ไปด้วย ความผูกพันจะต่อเนื่องไปถึงการดำเนินการและการปันข้อมูลต่อกัน


ธุรกิจแฟรนไขส์นั้นต้องสร้างความรู้สึกร่วมกับสมาชิกในระบบ อย่าทำให้แฟรนไชส์ซีนั้นคิดแบบคนเช่าบ้าน มาเช่าตราสินค้าเลิกแล้วเลิกกัน แต่ต้องทำให้เป็นทีมงานเดียวกันเหมือนกับว่าบ้านที่อยู่แม้ไม่ใช่เจ้าของเองแต่มีภาระผูกพันต้องอยู่กันยาวนานและปฏิบัติต่อกันเสมือนบริษัทเดียวกัน ร้านของแฟรนไชส์ซีก็คือร้านที่ต้องใช้ตรายี่ห้อของเราด้วยจึงต้องดูแลให้ตลอดรอดฝั่งให้ได้ นั่นแหละ ความเป็นหุ้นส่วนที่แท้จริงของระบบแฟรนไชส์


บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,451
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,569
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,270
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,900
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,235
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด