บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
1.8K
2 นาที
8 สิงหาคม 2562
ทำไม? แฟรนไชส์ ขยายสาขาเร็วเกินไป ถึงเจ๊ง!
 

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การขยายกิจการ ขยายสาขา สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ ถือเป็นเป้าหมายหลักของผู้ประกอบการทุกคน บางรายบอกว่ายิ่งขยายสาขา ขยายกิจได้เร็ว ได้มากเท่าไหร่ยิ่งดี หรือบางคนพอสินค้าและบริการของตัวเองถูกปากถูกใจลูกค้า จนมีคนถามซื้อแฟรนไชส์ ก็ดีใจเหมือนกับถูกหวยแล้ว โดยลืมประเมินความพร้อมธุรกิจของตัวเองแข็งแกร่ง มีพร้อมหรือยัง   
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะมาบอกว่าการขยายสาขา หรือขยายกิจการอย่างรวดเร็วของธุรกิจแฟรนไชส์ ถ้ายังไม่พะร้อมจริงๆ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อเสียอาจส่งผลต่อธุรกิจของคุณให้ไปไม่ถึงฝั่งฝันได้ เพราะอะไรมาดูกันครับ    
 
จะว่าไปแล้ว การสร้างการเติบโตของธุรกิจเป็นเรื่องดี แต่ต้องไม่เร็วไป และไม่รีบร้อนจนเกินไป เหมือนเราโตเกินความสามารถของธุรกิจ หรือโตเกินขอบข่ายของการบริหารจัดการ ดูแลไม่ทั่วถึง ควบคุมสาขาไม่ได้ เวลามีใครสักคนเปิดร้านสักร้าน เริ่มขายดี จะเริ่มมีคนถามกันว่า ขยายร้านเปิดสาขาไหม รวมไปถึงบางคนขายแฟรนไชส์เลย ยิ่งขายยิ่งเจ๊งก็มีให้เห็นมาก 

ภาพจาก https://bit.ly/2L8hJFE
 
ที่ผ่านมาเรื่องแฟรนไชส์ มีคนเข้าใจผิดพอสมควร เราลองนึกภาพของ 7-Eleven, แมคโดนัลด์, เคเอฟซี หรือเบอร์เกอร์คิงของต่างประเทศ ที่มีระบบในการบริหารจัดการทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจน ระบบหลังร้านต้องเป๊ะ มีมาตรฐานทุกสาขา ไม่ใช่แค่การใช้ชื่อเดียวกัน หรือแค่สูตรเดียวกัน เพราะระบบแฟรนไชส์จริงๆ แล้ว ก็คือ ระบบการตลาด การดำเนินงาน และการเงิน 
 
ที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นว่า มีการเปิดร้านแล้วเปรี้ยงขึ้นมา มีปัจจัยเยอะ ยกตัวอย่าง เอาธุรกิจจากกรุงเทพฯ มาทำในต่างจังหวัดแล้วเปรี้ยง เพราะมันเป็นของใหม่ แต่กลับกันธุรกิจบางอย่างเปรี้ยงในต่างจังหวัดแต่มาทำในกรุงเทพฯ ก็อาจจะพับกลับไปก็ได้
 
ดังนั้น ก่อนที่จะขายแฟรนไชส์ ผู้ประกอบการควรที่จะประเมินและทำธุรกิจของตัวเองให้มีระบบ มีมาตรฐาน โดยเฉพาะระบบหลังร้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบบัญชี การเงิน รายได้ รวมถึงระบบการทำงานต่างๆ ที่จะต้องเหมือนกันทุกสาขา 
 
หรืออย่างน้อยๆ คุณต้องมี 2 องค์ประกอบดังต่อไปนี้ 
1.การสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์ 
 
ภาพจาก https://bit.ly/2GXJXQB

เมื่อคุณคิดดีว่าจะขายแฟรนไชส์ ธุรกิจโดนใจลูกค้าแล้ว สิ่งที่จะพิสูจน์ต่อไปว่าธุรกิจของคุณจะขายแฟรนไชส์ได้หรือไม่ นั่นคือ การสร้างร้านต้นแบบ หรือ Pilot Operations ให้เกิดขึ้นชัดเจนก่อน เพราะการสร้างร้านต้นแบบจะเป็นเครื่องมือทดลองว่าธุรกิจของคุณผ่านหรือไม่ ร้านต้นแบบจะสะท้อนได้ถึงปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ดี รู้ถึงยอดการขาย กลุ่มลูกค้าที่เข้าใช้บริการ 
 
ถ้าร้านต้นแบบที่คุณสร้างขึ้นนั้นประสบความสำเร็จ ก็จะช่วยให้เกิดแนวทางการทำงานที่ชัดเจนขึ้น เพราะจะเห็นภาวะของธุรกิจด้านกำไร-ขาดทุนชัดเจนมาก ทำให้เห็นข้อดี-ข้อเสียของระบบงาน รวมถึงการปรับธุรกิจให้เป็นไปตามตลาด ยิ่งถ้ามีการสร้างได้หลายสาขา คุณก็จะได้เห็นความแตกต่างชัดเจน จากเงื่อนไขของทำเลที่ตั้ง สภาพลูกค้าที่แตกต่างกัน 
 
2.สร้างโปรแกรมแฟรนไชส์ 
 
ภาพจาก https://bit.ly/2yJGQq7

เมื่อธุรกิจคุณที่สร้างขึ้นเป็นต้นแบบที่ชัดเจน พร้อมที่จะขายแฟรนไชส์แล้ว มีตลาดรองรับแน่นอน ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างโปรแกรมแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบแฟรนไชส์ที่จะนำเสนอให้ถูกต้อง เพื่อที่จะทำให้แฟรนไชส์ซีลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้มากที่สุด และยังทำให้คุณสามารถควบคุมมาตรฐานทั้งด้านสินค้าและบริการ
 
โปรแกรมแฟรนไชส์ประกอบด้วย แพ็คเกจให้การสนับสนุนด้านบริการ คู่มือแฟรนไชส์ (Operation Manual) การฝึกอบรม การตลาดและโฆษณา วิธีการควบคุมและข้อปฏิบัติให้แฟรนไชส์ซีทำตามกฎ ระบบบัญชีการเงิน ซึ่งคุณจะต้องจัดเตรียมไว้ทั้งก่อนเปิดและหลังเปิดขายแฟรนไชส์ ถือเป็นแพ็คเกจที่แฟรนไชส์ซีจะได้รับจากคุณ เมื่อซื้อแฟรนไชส์จากคุณไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดไว้เป็นหลักฐานชัดเจน ถ่ายทอดจากร้านหนึ่งไปสู่อีกร้านหนึ่งได้ ถือเป็นคัมภีร์ที่ใช้ถ่ายทอดไปได้เรื่อยๆ 

ภาพจาก https://bit.ly/2ZJjtc2
 
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า คุณต้องมีการวางแผนด้านการตลาด ที่จะสนับสนุนการยอมในตราสินค้าได้เป็นอย่างดี รวมถึงการสร้างแบรนด์แฟรนไชส์ของคุณให้เป็นที่ต้องการและยอมรับของตลาดในวงกว้าง สร้างฐานลูกค้าให้เป็นผู้บริโภครองรับการขยายสาขาของธุรกิจที่จะเพิ่มมากขึ้น 
 
สุดท้าย สิ่งที่ต้องย้ำอีกครั้ง คือ ถ้าระบบหลังบ้านของร้านของธุรกิจ มีความพร้อมที่ดี สร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจ ให้กับลูกค้า ประเภทหลงรักแล้วละก็ลูกค้าจะจดจำในแบรนด์ ไม่ว่าท่านจะตั้งชื่อแบรนด์ได้เรียกยากเย็นสักแค่ไหน ลูกค้าก็ยังจะชื่นชอบ และลูกค้าจะเป็นคนมาถามและขอซื้อแฟรนไชส์ของกิจการเองโดยแทบไม่ต้องโปรโมทใดๆ
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,693
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,830
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด