บทความทั้งหมด    บทความค้าขาย    การบริหารจัดการร้านค้า    การเช่าพื้นที่ หาทำเล เปิดร้าน
2.2K
3 นาที
19 สิงหาคม 2562
8 วิธี Landlord เปลี่ยนพื้นที่ว่าง มาสร้างรายได้
 

หากคุณมีพื้นที่ว่าง ไม่ว่าจะเป็นที่ดินเปล่า บ้าน อาคารพาณิชย์ ฯลฯ ยังไม่อยากขาย แต่ไม่ได้ใช้งานอะไร วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีไอเดียหรือเคล็ดดีๆ สำหรับการเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าเหล่านั้นให้สามารถทำเงิน สร้างรายได้ สร้างกำไร แบบระยะยาวได้ง่ายๆ มาดูกันว่าวิธีการเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่า ทำเงินทำอย่างไร 
 
1.ที่จอดรถ 
 
ภาพจาก bit.ly/2Z4uecM

พื้นที่ควรมีตั้งแต่ 100 ตารางวาเป็นต้นไป (บางที่ก็ไม่ถึง 100 ตารางวา ก็สามารถปรับมาเป็นที่จอดรถมอเตอร์ไซต์ก็ได้) ลงทุนแค่เพียงปรับพื้นที่ให้เสมอกัน และลงหิน เพื่อเวลาจอดรถจะได้ไม่เป็นดินเละ และทำป้อมสำหรับคนเฝ้าเก็บเงิน เท่านี้ก็สามารถปล่อยให้คนมาเหมาช่วงต่อทำธุรกิจรับฝากรถได้ 
 
โดยไม่ต้องลงไปดูแลเอง หรือหากใครอยากจะทำเองเลยก็ได้ เพียงแต่ต้องหาคนมาเฝ้าดูแลเก็บค่าบริการสัก 1-2 คน เพราะสมัยนี้ที่จอดรถหายากเหลือเกิน เวลาจะไปไหนมาไหนก็คิดหนัก บางคนยอมจอดรถไว้ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าต่างๆ แล้วขึ้นบีทีเอส, ใต้ดิน, แอร์พอตลิ้งค์ ไปทำงาน 
 
ยิ่งหากมีทำเลในเมืองใกล้กับแหล่งคนทำงาน แหล่งที่มีอพาร์ทเม้นเยอะๆ หรือทำเลที่เดินทางโดยรถสาธารณะต่อไปได้สะดวกก็ยิ่งดี ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่หนึ่งย่านสาทร ขนาด 200-300 ตารางวา ราคาที่ดินร้อยกว่าล้าน เจ้าของเองไม่อยากขาย แล้วก็ไม่อยากทำอะไร เพราะไม่ได้เดือดร้อนเงิน แต่แถวนั้นออฟฟิศเยอะมาก ที่จอดรถที่มีอยู่แล้วก็แพงชั่วโมงละ 50 ขึ้นไป 
 
มีคนติดต่อเจ้าของที่ดิน ขอเช่าทำเป็นที่จอดรถ ซึ่งสามารถจอดได้ 80 คัน ราคาเหมารายเดือน 2,000 บาท กับรายชั่วโมง ลองคำนวณดูว่า หากมีรถที่เหมาจอดประจำ 40 คัน ก็รับไปเลยเดือนละ 80,000 บาท แถมยังมีรายชั่วโมงอีกตลอดทั้งวัน ลงทุนน้อยแต่กำไรไม่ธรรมดา
 
2.ตลาดนัด 
 

ต้องดูทำเลเป็นอันดับแรกว่าเหมาะกับการทำอะไรระหว่างที่จอดรถกับตลาดนัด การลงทุนใช้เงินมากกว่าที่จอดรถ เพราะนอกจากจะต้องปรับพื้นที่ ก็จะต้องมีการเช่าเต้นท์ ค่าจ้างคนดูแลจัดการตลาดนัด คนทำความสะอาด รปภ. ยกตัวอย่างเช่น ที่ดินว่างย่านรัชดา พื้นที่ประมาณ 300 ตารางวา บริเวณนั้นล้อมรอบไปด้วยอพาร์ทเม้น ชุมชนที่มีคนอาศัยหนาแน่น 
 
ค่าเช่าพื้นที่นี้อยู่ที่ 20,000 บาท/เดือน เมื่อซอยพื้นที่แพงเช่าก็ได้ถึง 70 แผง เก็บค่าเช่าวันละ 50 บาท (50x70x30 = 105,000/เดือน) หากจะดูว่าคุ้มค่าหรือไม่ก็ลองเอาเงินต้นทุนที่ต้องลงทั้งหมดมาคำนวณเป็นเวลา 3 ปีว่าจะคุ้มทุนหรือไม่
 
3.Boutique Hotel 
 
ภาพจาก https://bit.ly/2Ne6D20

สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แตกต่างจากที่อื่นในโลกออนไลน์ เพราะส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวที่เลือกมาพัก Boutique Hotel เพราะสตอรี่ของที่พักมากกว่าทำเลเสียอีก ฉะนั้นหน้าตาของเว็บไซต์ หรือหน้าเพจของที่พัก เปรียบเสมือนด่านแรกที่คนจะเห็น จะต้องสวย หรือน่าสนใจมีเอกลักษณ์ ที่สำคัญ คือ คอมเมนต์จากผู้ที่เคยเข้าพักจริง ซึ่งการทำลักษณะนี้จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีมากกว่าแบบอื่นๆ แต่หากทำได้คุณก็จะมีชื่อเสียง และมีลูกค้าในระยะยาว
 
4.Air BNB (BNB = Bed and Breakfast) 
 
 
ภาพจาก https://th.airbnb.com

มีต้นกำเนิดจากยุโรป คือการเปิดห้อง หรือบ้านให้นักท่องเที่ยวมาเช่าอยู่ ส่วนมากนักท่องเที่ยวที่เลือกพักในลักษณะแบบนี้ เพราะไม่อยากนอนโรงแรม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ราคาแพงกว่า ต้องการความเป็นบ้านมากกว่า หรือต้องการความแปลกใหม่ เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่มากกว่า ต้องการซึมซับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นจริงๆ ฯลฯ 
 
ไม่ว่าเหตุผลอะไรก็ตามตอนนี้กำลังได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะคนจากแถบยุโรป แค่เข้าไปลงที่พักของคุณในเว็บ www.airbnb.com และยังมีแอพพลิเคชันบนมือถือ ทั้ง iOS และ Android อีกด้วย
 
5.Co-working Space 
 
ภาพจาก https://bit.ly/2ZfjiIk

พื้นที่สำหรับคนทำงานแบบ Freelance และกลุ่ม Startup ที่ในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับระยะหลังแทบไม่มีอาคารที่ให้เช่าทำออฟฟิศเปิดใหม่ เพราะนิยมสร้างคอนโดที่สามารถได้ราคาต่อตารางเมตรได้สูงกว่า การทำพื้นที่เปิดให้เช่าเป็นออฟฟิศขนาดย่อมไม่ว่าจะคิดเป็นรายเดือน หรือ รายชั่วโมง 
 
สิ่งสำคัญ คือ การออกแบบให้มีความทันสมัย แสดงถึงความเป็นคนรุ่นใหม่ เรียบง่าย แต่ดูดี น่านั่งทำงาน อาจจะมีอุปกรณ์การทำงานมาให้ด้วย เช่น เครื่องปริ๊น เครื่องถ่ายเอกสาร ไวไฟที่มีความเร็วสูง ปลั๊กไฟ อาจจะแบ่งเป็นห้องประชุมเล็กๆ ไว้ด้วย ส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่เดินทางสะดวก มีที่จอดรถ แต่ข้อควรระวังของการทำแบบนี้ คือ ต้นทุนที่ลงไปกับการออกแบบ ดีไซน์ และสิ่งอำนวยความสะดวกภายใน ที่อาจสูงมากไปจนจุดคุ้มทุนอยู่ที่หลายปีเลยทีเดียว
 
6.ป้ายโฆษณา 
 
ภาพจาก https://bit.ly/2H8xSXZ

อาจเรียกได้ว่าเป็นเสือนอนกินเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะหากอยู่นทำเลที่ดี คนสามารถมองเห็นได้มาก ไม่ว่าจะเป็นป้ายไวนิลหน้าอาคาร หรือป้ายโครงเหล็กบนดาดฟ้า อาจจะให้คนที่ทำธุรกิจป้ายโฆษณามาเช่า โดยเขาจะลงทุนทำโครงเองเพื่อรองรับป้าย แล้วใครอยากลงโฆษณาก็จะติดต่อมาวางป้ายอีกที ยกตัวอย่างเช่น ปล่อยให้เช่าอาคารพาณิชย์ 12,000 บาท/เดือน (ราคาปกติทั่วไป) เพิ่มพื้นที่โฆษณาให้เช่าบนตึกอีก 10,000 บาท/เดือน สรุปคือมีรายได้ 22,000 บาท/เดือน
 
7.ตู้ ATM 
 
ภาพจาก https://bit.ly/33KTxPo
 
หากคุณมีพื้นที่ซึ่งมีคนผ่านไปผ่านมาค่อนข้างมาก อยู่ในชุมชน แหล่งออฟฟิศ โรงเรียน สถานที่ราชการ มหาวิทยาลัย หอพัก จุดเชื่อมต่อการเดินทาง ฯลฯ ทางธนาคารจะยินดีในการจ่ายเงินค่าเช่า ค่าไฟที่ต้องเปิดตลอด 24 ชม.ให้คุณ หากใกล้ๆกันแถวนั้นมีตู้อยู่แล้วก็ยิ่งดีในการเพิ่มตู้ของธนาคารอื่นที่ยังไม่มี ใช้พื้นที่แค่ไม่เกิน 2 ตารางเมตรเท่านั้น โดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลย
 
8.เสาโทรศัพท์ เสาอินเตอร์เน็ต 
 
ภาพจาก https://bit.ly/2z97EQI

เหมาะสำหรับอาคารที่สูงตั้งแต่ 6 ชั้นขึ้นไป ให้ดูว่าบริเวณนั้นมีสัญญาณโทรศัพท์เครือข่ายไหนที่อ่อน ก็มีโอกาสติดต่อเครือข่ายนั้นๆ ได้มากขึ้น และในรัศมี 500 เมตร – 1 กิโลเมตร จากอาคารของคุณ ให้ดูว่ามีสัญญาณของเครือข่ายไหนบ้างที่ยังไม่มี 
 
ค่าเช่าวางเสาบนอาคารขึ้นอยู่กับพื้นที่และจังหวัด โดยกรุงเทพฯ ปริมณฑล อยู่ที่ 180,000-200,000 บาท/ปี ต่างจังหวัดอยู่ที่ 80,000-100,000 บาท/ปี โดยมีสัญญาต่อทุก 3 ปี (3+3+3) ปรับค่าเช่าขึ้น 5-10% ทุก 3 ปี
 
ทั้งหมดเป็น 8 วิธีในการเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่า มาสร้างรายได้ ใครที่มีพื้นที่ว่างเปล่า ก็สามารถเพิ่มไอเดียในการสร้างรายได้ ดีกว่าปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่าเหล่านั้น ไม่ได้ใช้ประโยชน์ใดๆ ซึ่งแต่ละวิธีนั้นทำได้ไม่ยาก ลองลงมือทำได้เลย กำไรอื้อแน่นอน 
 
ติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 

SMEs Tips
  1. ที่จอดรถ 
  2. ตลาดนัด 
  3. Boutique Hotel 
  4. Air BNB (BNB = Bed and Breakfast) 
  5. Co-working Space 
  6. ป้ายโฆษณา 
  7. ตู้ ATM 
  8. เสาโทรศัพท์ เสาอินเตอร์เน็ต
Articles Tags
 
บทความค้าขายยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ทีมไหน! หา"ทำเล"ก่อนทำธุรกิจ vs เลือก "ธุรกิจ" ก..
406
บทความค้าขายมาใหม่
บทความอื่นในหมวด