บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.3K
2 นาที
6 กันยายน 2562
แยกให้ออก Product/Format Franchise แบบไหนดีกว่า?


ปัจจุบันธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ในเมืองไทย ส่วนใหญ่ที่พบเห็นมากที่สุด จะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ Product and Brand Franchise และ Business Format Franchise ซึ่งทั้ง 2 รูแบบแฟรนไชส์นี้ จะมีข้อดี-ข้อเสีย แตกต่างกันไป 
 
ผู้ประกอบการที่กำลังจะสร้างธุรกิจของตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์ ก็ต้องเรียนรู้ก่อนว่าระบบแฟรนไชส์แบบไหนเหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองที่กำลังทำอยู่ เพราะบางธุรกิจเหมาะสำหรับ Product Franchise แต่ไม่เหมาะกับ Format Franchise ขณะเดียวกันผู้ที่กำลังจะซื้อแฟรนไชส์ ก็ต้องรู้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์แบบไหนเหมาะสมกับตัวเอง น่าลงทุน มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลเปรียบเทียบมานำเสนอให้เห็นว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ในรูปแบบ Product Franchise หรือ Format Franchise แบบไหนดีกว่า มีความเหมาะสมกับธุรกิจและตัวคุณมากที่สุด
 
Product and Brand Franchise
 
ภาพจาก www.facebook.com/ChaTanyong/

เป็นรูปแบบแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิในตัวผลิตภัณฑ์หรือเครื่องหมายการค้า เพื่อการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าในยี่ห้อสินค้านั้น แฟรนไชส์ซอร์ฐานะผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ มักจะกำหนดมาตรฐานทางคุณภาพด้านต่างๆ ให้แฟรนไชส์ซีปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และแฟรนไชส์ซีต้องจ่ายค่าธรรมเนียมบางส่วนแก่แฟรนไชส์ซอร์ เพื่อรับสิทธิในเครื่องหมายการค้า
 
โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประเภทนี้ มักจะทำหน้าที่ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์นั้นๆ มากกว่าที่จะเป็นผู้ผลิตเสียเอง เช่น ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ เจ้าของแฟรนไชส์จะไม่เข้าไปควบคุมการดำเนินธุรกิจของผู้ซื้อแฟรนไชส์ทุกกระบวนการ แต่เจ้าของแฟรนไชส์จะดูแลควบคุมในด้านมาตรฐานให้เป็นไปตามที่ข้อกำหนดเท่านั้น
 
สำหรับรูปแบบ Product and Brand Franchise ในเมืองไทยที่พบเห็นกันมาก จะทำธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์สร้างอาชีพ ขายอุปกรณ์ วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์บางส่วนให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ เช่น ร้านชา 25 บาท, ลูกชิ้นปิ้ง ลูกชิ้นทอด เป็นต้น 

ภาพจาก www.facebook.com/pokeye19/
 
ในการขยายสาขาธุรกิจเพื่อขายวัตถุดิบนั้น เจ้าของธุรกิจก็ต้องมีการสร้างรูปแบบร้าน และการสอนถ่ายทอดให้ผู้สนใจ สามารถผลิตสินค้าหรือขายสินค้า ให้เหมือนกันกับร้านต้นทางของแฟรนไชส์ซอร์ ผลกำไรที่ได้จะมาจากสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละสาขา
 
ยิ่งถ้าแฟรนไชส์ซอร์มีอำนาจการซื้อมาก ก็จะได้กำไรมาก ซึ่งแฟรนไชส์ประเภทนี้จะไม่มีการเรียกเก็บค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty Fee) รายเดือนจากแฟรนไชส์ซี แต่จะเรียกเก็บเพียงแค่ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise Fee) เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่แฟรนไชส์ประเภทนี้จะใช้เงินลงทุนต่ำ เริ่มตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสน จ่ายครั้งเดียวก็เปิดร้านได้เลย ธุรกิจแฟรนไชส์รูปแบบ Product Franchise บางครั้งอาจไม่ได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องจากแฟรนไชส์ซอร์ จึงมีโอกาสไม่สำเร็จก็มีสูง 
 
Business Format Franchise
 
ภาพจาก www.facebook.com/cafeamazonofficial/

เป็นรูปแบบแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน คือ แฟรนไชส์ซอร์จะกำหนดระบบของการดำเนินธุรกิจให้ใช้เหมือนกันทั่วโลก ทั้งสินค้า เครื่องหมายการค้า วิธีบริหารระบบการเงิน ระบบงานต่างๆ รวมทั้งแผนการตลาด 
 
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซี จะได้รับสิทธิ์ในการให้บริการ หรือ ทำการผลิตสินค้าที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะ หรือ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้าของแฟรนไชส์ซอร์ 
 
โดยแฟรนไชส์ซอร์จะมีการถ่ายทอดระบบและวิธีการดำเนินธุรกิจที่สำเร็จมาแล้ว เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ที่แฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อรักษาภาพลักษณ์และศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของแฟรนไชส์ซอร์ ทั้งนี้ ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี จะมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาแฟรนไชส์ โดยยึดถือประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ด กาแฟอเมซอน เป็นต้น

ภาพจาก bit.ly/2kmqdx9
 
รูปแบบ Business Format Franchise ถือเป็นการซื้อระบบธุรกิจที่สมบูรณ์แบบจากแฟรนไชส์ซอร์ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายเงินค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty fee) หรือค่าสัมปทานตามที่ตกลงไว้ เมื่อได้รับสิทธิแล้วแฟรนไชส์ซีจะได้รับการสนับสนุนจากแฟรนไชส์ซอร์ ภายใต้แผนการและขั้นตอนโดยละเอียด เกี่ยวกับเกือบทุกแง่มุมของธุรกิจ การฝึกอบรมและการสนับสนุนเบื้องต้นและต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจไปจนหมดอายุสัญญาแฟรนไชส์ 
 
ทั้งนี้ Format Franchise จะต้องเป็นธุรกิจที่พิสูจน์แล้วว่า สามารถทำกำไรได้ และคืนทุนได้ ต้องสามารถพิสูจน์ได้ด้วยในตัวของธุรกิจนั้นๆ เอง ซึ่งที่จะพิสูจน์ได้จะต้องมีความสำคัญ คือ
  1. ธุรกิจนั้นต้องมี Branding มีฐานลูกค้าที่เพียงพอ ฐานลูกค้าเหล่านี้จะต้องมีชื่อเสียง ต้องดูว่ามีนักลงทุนและผู้คนมีต้องการอยากเปิดธุรกิจนี้มากน้อยแค่ไหน เช่น ร้านกาแฟอเมซอนคนสนใจเปิดร้าน 400 ใบสมัครต่อเดือน 
  2. มีความรู้หรือวิธีการที่มีความพิเศษเป็นของตัวเอง เรียกง่ายๆ ว่า มีสูตรลับ มีวิธีการที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้ ในส่วนนี้ต้องทำให้เห็นว่าธุรกิจของคุณ มีความแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ ที่เหมือนกัน เช่น 7-11 มีการจัดการและวิธีการขายไม่เหมือนใคร  
  3. ต้องมีระบบการบริหารจัดการสาขา คือ มีระบบการดูแลมาตรฐานคุณภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ร้านฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ในเมืองไทย ไม่ว่าคุณจะไปใช้บริการที่ร้านไหน จะได้รสชาติและการบริการที่เหมือนกันหมด เป็นมาตรฐานเดียวกัน 
Format Franchise ช่วยยกระดับธุรกิจ สร้างทั้งผลกำไร และการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ พร้อมกับความได้เปรียบในการรวมกลุ่มจัดการจำนวนเครือข่ายที่มี กลายเป็นความได้เปรียบทางการค้า ที่การใช้วิธีอื่นอาจจะทำได้ไม่ดีเท่า ความได้เปรียบทั้งสามด้านจึงทำให้ธุรกิจในรูปแบบ Format Franchise เติบโตต่อเนื่อง
 
ภาพจาก bit.ly/2lCwNz
 
ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมาก แต่การลงทุนแฟรนไชส์ประเภทนี้ จะใช้เงินลงทุนสูง ตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้านบาท และต้องจ่ายค่าสิทธิต่อเนื่องทุกเดือนด้วย 
 
ได้เห็นแล้วว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ในรูปแบบ Product Franchise หรือ Format Franchise แบบไหนเหมาะกับธุรกิจ และตัวคุณมากที่สุด ใครที่จะทำแฟรนไชส์ก็ต้องดูว่าธุรกิจที่ทำอยู่เหมาะกับแฟรนไชส์รูปแบบไหน และตัวคุณเองมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ขณะที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ก็ดูว่าแฟรนไชส์แบบไหนเหมาะกับตัวเอง เหมาะกับเงินลงทุน และมีโอกาสสำเร็จสูง 
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,482
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,583
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,272
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,900
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,241
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด