บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    การจดทะเบียนแฟรนไชส์ เครื่องหมายการค้า
43K
4 นาที
21 มกราคม 2553
ธุรกิจแฟรนไชส์กับการจดทะเบียน สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า/บริการ

 

ปัจจุบันนี้ การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นที่สนใจมากในหมู่ประชาชน เพราะเป็นทางลัดในการประกอบธุรกิจ
โดยผู้เป็นเจ้าของธุรกิจก็ประสงค์จะขยายธุรกิจของตนออกไป ซึ่งหมายถึงได้รับเงินค่าตอบแทนมากขึ้น ส่วนผู้เข้าร่วมประกอบธุรกิจก็คาดหวัง ส่วนแบ่งการตลาดจากเจ้าของธุรกิจ และผลกำไรที่ควรได้รับกลับคืนมาในการเข้าร่วมธุรกิจดังกล่าว 
 
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ก็คือ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของเจ้าของธุรกิจ ซึ่งเมื่อให้สัญญาแฟรนไชส์แก่ผู้ใดแล้ว สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าหรือ เครื่องหมายบริการของเจ้าของที่จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ ของผู้รับแฟรนไชส์ด้วย พร้อมกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีหรือ มาตรฐานที่ดีของการให้บริการที่จะต้องควบคู่ไปพร้อมกับ การดำเนินธุรกิจดังกล่าวนั้นด้วย

คำว่า แฟรนไชส์ (Franchise)

คือ กระบวนการทางธุรกิจที่องค์กรธุรกิจหนึ่ง ๆ ได้พัฒนาวิธีการและ รูปแบบ จนได้รับการพิสูจน์ด้วยระยะเวลาแล้วว่าประสบความสำเร็จ ในการประกอบการ และการจัดการธุรกิจในระดับหนึ่งและได้ถ่ายทอดสิทธิในการประกอบธุรกิจตามวิธีการ และรูปแบบดังกล่าวพร้อมกับตัวสินค้าหรือ บริการให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นภายใต้ตราหรือเครื่องหมายการค้า/บริการ อันหนึ่งอันใดโดยกระบวนการที่เกี่ยวข้อง กับการทำนิติกรรมระหว่างบุคคล 2 กลุ่มในข้างต้น ในบางกรณีอาจรวมถึงบุคคลอื่นด้วย 

จากคำนิยามที่ผู้เขียนคัดมาจากเอกสารเผยแพร่ "ซื้อแฟรนไชส์" เรื่องต้องคิดก่อนตัดสินใจ ของสำนัก ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งได้โอนงานมาไว้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แล้วนั้น จะเห็นได้ว่า ได้ระบุถึงการมีเครื่องหมายการค้า/บริการ ที่ต้องใช้ควบคู่ไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจ แฟรนไชส์หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจจะต้องมีเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ ที่เป็นที่สนใจและ และเป็นที่สังเกตจดจำได้ไปหมู่ประชาชนผู้บริโภคแล้วนั่นเอง
 
ดังนั้นในการทำสัญญาแฟรนไชส์นั้น ส่วนหนึ่งของสัญญาจะต้องระบุกำหนดให้ผู้รับแฟรนไชส์จะต้อง ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ ของเจ้าของธุรกิจควบคู่ไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจเสมอ เจ้าของ ธุรกิจเองก็คงไม่ประสงค์จะให้ผู้รับแฟรนไชส์นำเอาเครื่องหมายการค้า ของคนอื่นมาใช้ควบคู่ไปพร้อมกับเครื่อง หมายการค้า/บริการของตนเองอย่างแน่นอน และเพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่นลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า/ บริการ เจ้าของธุรกิจจะต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการไว้ที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา 
 
ความสำคัญของเครื่องหมายการค้า/บริการ นั้น ในเอกสารเผยแพร่ดังกล่าวข้างต้น หน้า 19 ได้ระบุไว้ น่าสนใจดังนี้ " เครื่องหมายการค้า/บริการ เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของทุก ๆ ธุรกิจ และเป็น สิ่งที่อาจจะเรียกได้ว่ามีค่าสูงสุดในบรรดาทรัพย์สินต่าง ๆ ยิ่งเมื่อธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ก็เพราะเครื่องหมายการค้าเป็นเสมือนตัวแทน ของธุรกิจต่อสายตาของผู้บริโภค เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความมีคุณภาพ มาตรฐาน หรือความแตกต่างใด ๆ ของสินค้าหรือบริการของแต่ละธุรกิจ ธุรกิจแฟรนไชส์ก็เช่นกัน

เนื่องจากเครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ควบคู่ไปกับการให้สิทธิ์ ดังนั้นเมื่อธุรกิจของแฟรนไชส์ได้ผ่านการดำเนินการมา ระยะเวลาหนึ่งตรา หรือเครื่องหมายทางการค้า/บริการของแฟรนไชส์ย่อมเป็นที่คุ้นเคยและยอมรับใน ระดับหนึ่งของผู้บริโภคซึ่งแฟรนไชชี่ (บุคคลซึ่งได้รับสิทธิ์ในการจำหน่ายและดำเนินธุรกิจ) ย่อมได้รับประโยชน์ จากเครื่องหมายการค้าและบริการที่ได้รับการยอมรับในตลาดแล้วไปด้วย ทำให้การเริ่มต้นธุรกิจของแฟรนไชชี่ เป็นไปได้รวดเร็วกว่า เพราะไม่ต้องสร้างเครื่องหมายการค้าใหม่มาทำตลาดในพื้นที่ดังกล่าว"
 
ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมาย การค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มาตรา 68 บัญญัติว่า " เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนจะทำสัญญา อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าของตน สำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้ 
 
สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน 
 
การขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตดังกล่าวตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดไว้ในกฎกระทรวง แต่คำขอจดทะเบียนนั้นอย่างน้อยต้องแสดงรายการดังต่อไปนี้
 
  1. เงื่อนไขหรือข้อกำหนดระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับ อนุญาตที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นสามารถ ควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็น ผู้ได้รับอนุญาตได้อย่างแท้จริง
  2.  สินค้าที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น " กฎกระทรวง (พ.ศ.2535) ข้อ 45 กำหนดไว้ว่า การขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าและผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาต ยื่นคำขอพร้อมแนบสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ซึ่งมีลายมือชื่อของเจ้าของเครื่องหมายการค้า และผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตและหนังสือสำคัญ คำขอตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะต้องแสดงรายการตามมาตรา 68 วรรคสาม (1) และ (2) แล้ว ให้ แสดงด้วยว่า ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้านั้นแต่ผู้เดียว หรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าอาจอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้านั้นอีกได้
เมื่อถึงตอนนี้แล้ว จะเห็นได้ว่า เจ้าของธุรกิจและผู้เข้าร่วมธุรกิจ มีภาระหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การนำสัญญาแฟรนไชส์หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย การค้าดังกล่าวที่ได้ทำขึ้นมานั้น ไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ผลของการไม่จดทะเบียนกฎหมายถือว่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันคู่สัญญาตามกฎหมายแต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า สัญญาแฟรนไชส์ทุกฉบับจะต้องนำมาจดทะเบียน เช่น
 
  1. ถ้าเป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ ที่เจ้าของธุรกิจไม่ได้จดทะเบียนไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็ไม่ต้องจดทะเบียนสัญญาแฟรนไชส์หรือสัญญา อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า/บริการ นั้น เพราะไม่มีทะเบียนจะให้จดได้
  2. ถ้าผู้เข้าร่วมธุรกิจจะต้องนำสินค้ามาจากเจ้าของโดยตรงมาจำหน่าย ก็ไม่เข้าเงื่อนไขในการควบคุม คุณภาพของสินค้า เพราะเจ้าของธุรกิจเป็นผู้ควบคุมคุณภาพสินค้าอยู่แล้ว มีลักษณะเหมือนตัวแทนจำหน่ายสินค้า
  3. ถ้าเจ้าของธุรกิจเข้าไปควบคุมธุรกิจโดยตรง ผู้เข้าร่วมธุรกิจไม่มีสิทธิดำเนินการด้วยตนเอง ผลตอบ แทนที่ได้รับต้องส่งคืนให้เจ้าของธุรกิจ ไม่ต้องจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า/บริการ เพราะมีลักษณะเป็นสำนักงานสาขาของเจ้าของธุรกิจ

 
การที่จะพิจารณาว่า สัญญาแฟรนไชส์อย่างใดที่จะต้องนำมาจดทะเบียน สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า/บริการ ให้พิจารณาดังนี้
 
  1. พิจารณาว่า ผู้เข้าร่วมธุรกิจนั้น มีสิทธิผลิตสินค้าหรือนำสินค้าจากที่อื่นที่มีคุณภาพเท่าเทียม หรือมีคุณภาพตรงตามที่เจ้าของธุรกิจรับรองไว้ มาดำเนินธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้าของเจ้าของธุรกิจ 
     
  2. พิจารณาว่า ผู้เข้าร่วมธุรกิจนั้น ดำเนินธุรกิจบริการด้วยตนเองโดยอยู่ภายใต้การให้คำแนะนำ หรือมาตรฐานที่เจ้าของธุรกิจเป็นผู้กำหนดขึ้นภายใต้เครื่องหมาย บริการของเจ้าของธุรกิจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เจ้าของธุรกิจที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือบริการนั้น มีอำนาจเข้าไป ในธุรกิจของผู้เข้าร่วมเพียงเพื่อการควบคุมคุณภาพสินค้าของ ผู้รับอนุญาตหรือควบคุมดูแลการให้บริการของผู้เข้า ร่วมธุรกิจเพื่อให้สินค้าหรือการบริการนั้น มีคุณภาพที่ดี ได้มาตรฐานตามที่เจ้าของธุรกิจกำหนดไว้ เพื่อเป็นหลัก ประกันให้แก่ผู้บริโภคว่า ผู้บริโภคจะได้บริโภคสินค้าหรือรับบริการที่มีคุณภาพ และมาตรฐานที่ดีเหมือนกับเจ้าของธุรกิจเป็นผู้ดำเนินการเอง แต่การที่จะเข้าไปควบคุมคุณภาพของสินค้า หรือการบริการของผู้เข้าร่วมธุรกิจนั้น บางครั้งอาจจะไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบกิจการนั้น ทำให้คุณภาพของสินค้า หรือมาตรฐานของการให้บริการนั้น ไม่เป็นไปตาม ที่เจ้าของธุรกิจกำหนดไว้ ซึ่งกฎหมายเครื่องหมายการค้าก็ได้กำหนดมาตรการในการที่จะให้เจ้าของเครื่องหมาย การค้าที่เป็นเจ้าของธุรกิจมีสิทธิที่จะกำหนดเงื่อนไข หรือหรือข้อกำหนดระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้า และผู้ได้รับอนุญาตโดยให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถควบคุมคุณภาพของสินค้า หรือการบริการของผู้ได้รับอนุญาตได้อย่างแท้จริง
 

ดังนั้น ในสัญญาที่ทำขึ้นนั้นแม้จะมีเงื่อนไข หรือข้อกำหนดที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือ เจ้าของธุรกิจสามารถควบคุมคุณภาพสินค้า หรือการบริการของผู้รับอนุญาตแล้วเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ในสัญญา จะต้องกำหนดไว้ด้วยว่า ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมธุรกิจหรือผู้รับอนุญาต ฯ ผิดเงื่อนไขหรือข้อกำหนดในการควบคุม คุณภาพของสินค้าหรือการบริการแล้ว เจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิที่จะดำเนินการอย่างไร กับผู้เข้าร่วมธุรกิจนั้น เช่น มีหนังสือบอกกล่าวตักเตือนให้ผู้เข้าร่วมธุรกิจ แก้ไขปรับปรุงสินค้าหรือการให้บริการภายใน เวลาที่กำหนด เมื่อพ้นเวลาที่กำหนด แล้วผู้เข้าร่วมธุรกิจอาจถูกบอกเลิกสัญญาหรือชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น
 
ในการทำสัญญาแฟรนไชส์นั้น คู่สัญญามักจะกำหนดค่าตอบแทนให้กันไว้ในสัญญา เช่นผู้เข้าร่วมธุรกิจ จะต้องจ่ายค่าตอบแทนหรือบางสัญญาอาจเรียกว่า ค่าธรรมเนียม จะเป็นรายปีหรือรายเดือนก็แล้วแต่จะตกลงกัน ให้แก่เจ้าของธุรกิจ และมีข้อกำหนดอื่น ๆ อีกมาก แต่เวลาจะจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า กลับตรงกันข้าม แทนที่จะนำสัญญาแฟรนไชส์ที่ได้ทำกันไว้แล้วนั้นมาจดทะเบียน กลับทำสัญญาอนุญาตให้ใช้ เครื่องหมายการค้าขึ้นมาใหม่อีกฉบับเพื่อมาขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

และในสัญญา ฯ ฉบับหลังนี้ จะไม่ระบุ ถึงค่าตอบแทนที่จะได้รับกันไว้แล้ว โดยอ้างว่าเป็นความลับในทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเปิดเผยไปแล้ว อาจทำ ให้คู่แข่งทางการค้านำไปปรับกลยุทธในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งวิธีการเช่นนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดประการหนึ่งคือ สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นสัญญาที่แตกต่างกับสัญญาแฟรนไชส์ 

ผู้เขียนทราบมาว่า ปัจจุบันนี้ ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของคนไทย ที่เป็นเจ้าของธุรกิจมีประมาณ 200 ราย และผู้เข้าร่วมธุรกิจมีประมาณ 6,000 ราย แต่ส่วนใหญ่ของการทำสัญญาแฟรนไชส์นั้น มิได้นำมาจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า/บริการ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา อนาคตข้างหน้าผู้เขียนแน่ใจว่า อาจเกิดปัญหาข้อกฎหมายที่พิพาทเกิดขึ้นจำนวนมากอย่างแน่นอน 
 
 
จึงควรหาทางแก้ไขด้วยการนำสัญญาอนุญาตอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า มาจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายไว้ด้วย
 
ที่มา: นายพิบูล ตันศุภผล 
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานทะเบียนการค้า 8 ว 
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา


ท่านใดสนใจอยากให้จดเครื่องหมายการค้า แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
22,711
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
2,994
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,855
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,840
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,240
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,187
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด