บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การเงินในธุรกิจแฟรนไชส์
6.2K
1 นาที
27 สิงหาคม 2555
วิเคราะห์การลงทุน แฟรนไชส์
 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์การลงทุนในระบบแฟรนไชส์ซึ่งอาจจะต้องมี รายละเอียดมากน้อยแตกต่างกันตามสัดส่วนของการลงทุน เมื่อต้องการลงทุนในมูลค่าที่สูงอัตราการเสี่ยงนั้นก็จะมากขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องทำก่อนลงทุน โดยเฉพาะการวิเคราะห์การลงทุนและระบบบัญชีการเงินซึ่งมีดังต่อไปนี้
 
1.ภูมิหลังของแฟรนไชซอร์ ตรวจสอบชื่อเสียงและประวัติย้อนหลังของแฟรนไชซอร์ในธุรกิจที่ทำแฟรนไชส์ นอกจากนี้อาจสอบถามเกี่ยวกับเหตุผลหรือแรงจูงใจในการริเริ่มกิจการนั้นเพื่อ ที่จะแน่ใจว่าแฟรนไชซอร์มีพันธะต่อธุรกิจที่ดำเนินอยู่ หรืออาจค้นคว้าเกี่ยวกับภูมิหลังของผู้บริหารของบริษัทเพื่อให้แน่ใจว่า บุคคลนั้นมีความน่าเชือถือและมีความรับผิดชอบต่อธุรกิจแฟรนไชส์
 
2.โครงสร้างการบริหารงาน การศึกษาโครงสร้างการบริหารงานและความรับผิดชอบของแต่ละส่วนภายในแฟรนไชซอร์ จะช่วยให้ผู้ที่สนใจจะซื้อแฟรนไชส์ในอนาคตตัดสินใจได้ว่าบริษัทดังกล่าวมี การจัดองค์กรที่ดีหรือไม่ตามที่ได้ระบุไว้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังสามารถระบุตัวเจ้าหน้าที่ที่จะต้องติดต่อในการประกอบการแฟรนไชส์
 
3.การเยี่ยมชมบริษัท อาจไม่เป็นการเพียงพอที่จะรับฟังหรืออ่านจากสิ่งที่แฟรนไชซอร์เสนอเท่านั้น การเยี่ยมชมบริษัทถ้าเป็นไปได้มากกว่าหนึ่งครั้งจะเป็นผลอย่างมาก เนื่องจากเราจะสามารถตรวจสอบการจัดการภายในการจัดการพนักงานและระบบสนับสนุน ต่างๆ ทั้งนี้ พึงระลึกไว้เสมอว่าควรระมัดระวังแฟรนไชซอร์ที่ไม่อนุญาตให้มีการเยี่ยมชม
 
4.การสอบถามจากผู้ที่กำลังเป็นแฟรนไชซี ควรขอรายชื่อและที่อยู่ของผู้ที่กำลังเป็นแฟรนไชซีของธุรกิจดังกล่าวและหา โอกาสที่จะพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยวความคิดกับแต่แฟรนไชซีแต่ละรายให้มาก ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ อย่างไรก็ตามควรขออนุญาตจากแฟรนไชซอร์ก่อนเสมอ ทั้งนี้แฟรนไชซีที่กำลังประกอบการจะให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับยอดขายและ กำไรที่คาดว่าจะได้รับอย่างดี
 
5.การสอบถามจากผู้ที่เป็นแฟรนไชซีในอดีต ควรสอบถามจากแฟรนไชซอร์หรือผู้ที่กำลังเป็นแฟรนไชซีว่าเพราะเหตุใดแฟรนไชซี ในอดีตจึงออกจากธุรกิจ สาเหตุอาจเกิดจาเหตุผลส่วนตัว หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับตัวผลิตภัณฑ์หรือเกี่ยวกับแฟรนไชซอร์ เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ในการประเมินและเพื่อความแน่ใจในคุณภาพของแฟรนไชส์
 
6.สถานะการเงินและงบดุลของแฟรนไชซอร์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ควรประเมินสถานะทางการเงินของแฟรนไชซอร์ตรวจสอบย้อนหลังไปประมาณ 3 ปีซึ่งข้อมูลนี้สามารถขอได้จากแฟรนไชซอร์โดยตรง นอกจากนี้ควรสอบถามเกี่ยวกับการขาดทุนที่เกิดขึ้นถ้าหากพบว่างบดุลของบริษัท แสดงว่าบริษัทประสบปัญหาเกี่ยวกับเงินทุน หรือมีการดำเนินธุรกิจบนสัดส่วนของหนี้สินที่สูง อาจะเป็นสัญญาณว่าแฟรนไชซอร์ไม่มีเสถียรภาพทางการเป็นเงินเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีปัญหาในการทำความเข้าใจในสถานะทางการเงิน ควรปรึกษาผู้รู้ทันที
 
7.อัตรากำไรในธุรกิจสำหรับสินค้าและบริการที่จะต้องจ่าย ควรสอบถามเกี่ยวกับส่วนเพิ่มของสินค้าและบริการที่จะต้องจ่ายให้กับแฟรนไช ซอร์ ในฐานผู้ป้อนสินค้าและควรเปรียบเทียบกับรายอื่นเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้รับสามารถตรวจสอบกับผู้ที่กำลังเป็นแฟรนไชซีของธุรกิจ ดังกล่าว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเตรียมตัวเพื่อทราบกระแสเงินสดในระหว่างที่เริ่ม ประกอบกิจการ รวมทั้งสามารถเข้าใจผลตอบแทนในอนาคตด้วย

อ้างอิงจาก  franchise-sme
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
4,296
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
2,070
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,542
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,114
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
803
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
776
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด