บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.3K
1 นาที
29 พฤศจิกายน 2562
อยากรู้มั้ย?? Business Format แฟรนไชส์ ดีอย่างไร??


ในอดีตแฟรนไชส์โดยเฉพาะธุรกิจอาหารที่เป็นระบบ Quick Service หรือ Fast Food เริ่มเกิดขึ้นและขยายตัวที่ต่อมาเรียกว่า Business Format Franchising ที่เป็นที่รู้จักและเติบโตมาถึงปัจจุบัน คือ แฟรนไชส์ แมคโดนัลด์ โดย Mr.Ray Kroc 

ภาพจาก bit.ly/2L52NX8
 
Business Format Franchise จะเป็นรูปแบบ แฟรนไชส์ซอร์จะกำหนดระบบของการดำเนินธุรกิจให้ใช้เหมือนกันทั่วโลก ทั้งสินค้า เครื่องหมายการค้า วิธีบริหารระบบการเงิน ระบบงานต่างๆ รวมทั้งแผนการตลาด 
 
โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซี จะได้รับสิทธิ์ในการให้บริการ หรือ ทำการผลิตสินค้าที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะ หรือ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้าของแฟรนไชส์ซอร์
 
โดยแฟรนไชส์ซอร์จะมีการถ่ายทอดระบบ และวิธีการดำเนินธุรกิจที่สำเร็จมาแล้ว เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ที่แฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อรักษาภาพลักษณ์และศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของแฟรนไชส์ซอร์ 

ภาพจาก bit.ly/34w3VdP
 
ทั้งนี้ ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี จะมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาแฟรนไชส์ โดยยึดถือประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอเมริกา, กาแฟอเมซอน, 7-Eleven, N&B, เชสเตอร์ เป็นต้น
 
รูปแบบ Business Format Franchise ถือเป็นการซื้อระบบธุรกิจที่สมบูรณ์แบบจากแฟรนไชส์ซอร์ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายเงินค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty fee) หรือค่าสัมปทานตามที่ตกลงไว้ 

ภาพจาก bit.ly/2OQUMpM
 
เมื่อได้รับสิทธิแล้วแฟรนไชส์ซีจะได้รับการสนับสนุนจากแฟรนไชส์ซอร์ ภายใต้แผนการและขั้นตอนโดยละเอียด เกี่ยวกับเกือบทุกแง่มุมของธุรกิจ การฝึกอบรมและการสนับสนุนเบื้องต้นและต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจไปจนหมดอายุสัญญาแฟรนไชส์
 
ข้อดีของแฟรนไชส์ Business Format ทำให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน โดยร้านทุกร้านทุกสาขา จะมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่า ลูกค้าจะได้รับสินค้า และบริการที่ดี มีคุณภาพเหมือนกันทุกร้าน คู่มือจะเป็นแผนที่นำทางให้ทุกตำแหน่งงานในร้าน ปฏิบัติงานในแบบเดียวกัน เพื่อผลลัพธ์สุดท้ายได้มาตรฐานเดียวกัน
 
ขณะเดียวกัน เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ไม่จำเป็นที่จะต้องไปเหยียบร้านทุกร้านก็ได้ เพราะได้วางระบบความสำเร็จของการบริหารจัดการร้าน ออกมาอย่างครบถ้วนไว้แล้วในคู่มือ และถ่ายทอดความรู้จากคู่มือผ่านการอบรม 

ภาพจาก bit.ly/33u4eop
 
ฝึกปฏิบัติตามคู่มือให้เข้าใจทุกหน้าที่ ทุกตำแหน่งงานแล้ว จนมั่นใจว่าการทำงานในร้านจะราบรื่น และได้ผลตรงตามเป้าหมาย เจ้าของร้านไม่จำเป็นต้องมานั่งเกาะลิ้นชักเก็บเงิน และจ้องมองพนักงานทุกวันอีกต่อไป
 
สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ สตาร์ทอัพ (Franchise Start Up) #15 คลิก https://bit.ly/2OtQshk
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id:
 @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
 เชสเตอร์
เชสเตอร์ เป็นที่รู้จักชื่นชอบด้วยเอกลักษณ์ของเมนูไก่ย่าง เลิศรส ความหลากหลายของรายการอาหารที่คัดสรรอย่างพิถีพิถัน รวมถึงความโดดเ...
ค่าแฟรนไชส์ 700,000 บาท
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,679
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,803
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด