บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    เรื่องราวความสำเร็จ
5.1K
3 นาที
17 มิถุนายน 2551
ก้าวใหม่ SMEs กับธุรกิจแฟรนไชส์
 
อเมริกาได้กำหนดยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี 2001 ไว้ว่า จะสร้างและส่งเสริม Franchise-SMEs ให้ได้ถึง 50% จากนโยบายนี้ ทำให้เราพอจะคาดเดาได้ถึงทิศทางของโลกธุรกิจในอนาคตว่า จะต้องเน้นการสร้าง brand และขยายตัว (เติบโต) ด้วยระบบ franchise มากขึ้น 
 
กล่าวสำหรับประเทศไทยเรา ก็เริ่มปรากฏทิศทางการเติบโตของ SMEs ด้วยกลยุทธ์ franchise บ้างแล้วประมาณ 200 Franchise และมีผู้เข้าร่วมธุรกิจกว่า 6,000 ราย เช่น บ้านใร่กาแฟ Black Canyon สิเรียม บิวตี้ แคร์ เป็นต้น ซึ่งก็สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับธุรกิจ SMEs ในเวทีสากล 
 
1. SMEs & ธุรกิจแฟรนไชส์ 
 
การสร้างธุรกิจให้กลายเป็น franchise ที่ประสบความสำเร็จ จะต้องเริ่มต้นจากความสำเร็จของ franchisor เป็นสำคัญ เมื่อสินค้า/บริการได้รับความนิยม มีชื่อเสียงดี ยอดขายดี กำไรงาม ฯลฯ การขยายธุรกิจในรูป franchise ย่อมมีโอกาสสูงตามมา 
 
ความรู้เรื่องของธุรกิจแฟรนไชส์ จึงเป็นเรื่องสำคัญต่อความสำเร็จเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันสามารถศึกษาหาอ่านได้จากตำรา หรือถอดรหัสจากธุรกิจ franchise ยักษ์ใหญ่ในท้องตลาด ซึ่งโดยทั่วไปจะมีสาระสำคัญ ดังนี้ 
 
  •  การจดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า เพราะเครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งที่มีมูลค่า เป็นเสมือนตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของสินค้า/บริการที่ปรากฏต่อผู้บริโภค โดยบ่งบอกถึงความมีคุณภาพ มาตรฐาน หรือความแตกต่าง (จุดขาย/จุดเด่น) ความน่าเชื่อถือของสินค้า/บริการที่ดีในสายตาลูกค้า 
 
ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ได้บัญญัติว่า "เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียน จะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าของตน สำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมด หรือบางอย่างก็ได้" 
 
เมื่อ 2 เดือนก่อนได้ปรากฏข่าวการดอดตีท้ายครัวร้านกาแฟยี่ห้อ "STARBUCKS" โดยพ่อค้าชาวจีนหัวใส จนเจ้าของตราสินค้ายักษ์ใหญ่รายนี้กลายเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้าในจีน เพราะความชะล่าใจไปยื่นจดทะเบียนภายหลังเขา! 
 
  • การสร้างคู่มือธุรกิจ (Franchise Operations Manual, Franchise Training Manual) อันได้แก่ เอกสารสัญญา 
 
ในการสมัครเป็น franchisee รายการสินค้า/บริการ franchise fee การแบ่งผลประโยชน์ รูปแบบของร้าน การฝึกอบรม การโฆษณาประชาสัมพันธ์แก่สาขาต่างๆ การช่วยเหลือและให้ข้อมูลข่าวสารจาก franchisor (on going support) 
 
  •  การตั้งราคา Royalty Fee ธุรกิจอาหารเป็นตัวอย่างที่ดีของ Business Format Franchising โดยเป็นการให้สิทธิในการใช้ตราสินค้าแก่ franchisee รวมถึงการให้ระบบการดำเนินงาน โลโก้ การตกแต่งร้าน กรรมวิธีการทำอาหาร การขายวัตถุดิบ/เครื่องปรุงสำคัญ โดย franchisor จะคอยให้การฝึกอบรม และ support เต็มที่ เพื่อให้ franchisee ประสบความสำเร็จ 
     
รายได้หลักๆ ของ franchisor จะมี 4 อย่าง คือ 
 
(1) ค่าสิทธิแรกเข้า (franchise fees) 
 
(2) ค่าสิทธิการใช้ตราสินค้า (Royalty Fees) 
 
(3) ค่าโฆษณา และการตลาด (Advertising or Marketing Fees) 
 
(4) ค่าขายสินค้า/บริการ 
 
การตั้งราคาค่า Royalty Fees มีหลายแนวคิด เช่น 
 
  •  คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายหรือกำไร 
  •  คิดอัตราคงที่เป็นเงินก้อน 
  •  คิดจากยอดสั่งซื้อสินค้า 
  • แบบผสม คือ คิดอัตราคงที่จำนวนหนึ่ง+เปอร์เซ็นต์จากการขาย 
 
ความเหมาะสมของการคิดค่า Royalty Fees ว่าควรเป็นเท่าใด ถือเป็นศาสตร์และศิลป์ ในกรณีที่เป็น brand แข็งแกร่งติดตลาด ย่อมมีค่าสิทธิสูง แต่ก็เป็นสินค้าที่ขายง่ายกำไรดี ส่วนกรณีของมือใหม่ (ตราใหม่) แน่นอนว่าอาจไม่คิดค่าสิทธิ หรือคิดเพียงเล็กน้อย เพื่อจูงใจให้มี franchisee มากๆ ซึ่งจะมีผลต่อการโฆษณาติดตา และต้นทุนประกอบการต่ำลง 
 
2. ทำธุรกิจ Franchise อย่างไรให้ร่ำรวย 
 
ทุกวันนี้ การค้าขายมิใช่เรื่องง่าย เพราะต้องแข่งขันต่างประเทศทั่วโลกด้วย เพราะกระแสโลกาภิวัตน์ ผนวกกับโลกไซเบอร์ (E-Commerce) ความซับซ้อนจึงยิ่งทวีคูณ 
 
ถามว่า ค้าอย่างไร (หรือสร้าง franchise อย่างไร) ให้สำเร็จและร่ำรวย ผู้เขียนขอจินตภาพ ดังนี้ครับ 
 
(1) สินค้า/บริการ มีความโดดเด่น และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในวงกว้าง เช่น เป็นธุรกิจปัจจัย 4 หรือ ธุรกิจการศึกษา เช่น 7-Eleven, Smart English เป็นต้น 
 
(2) ตราสินค้ามีความแข็งแกร่ง เป็นที่ยอมรับทั่วไปในคุณภาพ มาตรฐานบริการ 
 
(3) การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งแต่การคัดเลือก franchisee การฝึกอบรม การช่วยเหลือสาขา การให้ข้อมูลข่าวสาร ความรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ การประสานงาน ลอจิสติกส์ คู่มือ franchise ฯลฯ 
 
(4) ทีมงานมีประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อความรับผิดชอบงานสาขาและร้านค้า เพื่อให้คุณภาพบริการของ franchisee มีประสิทธิภาพสูงสุด 
 
(5) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย ทันเหตุการณ์และทันเทคโนโลยี 
 
(6) เทคโนโลยี ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญ เช่น การมีระบบ software ที่ทันสมัยครบวงจร ทั้งทางการบัญชี การเงิน สินค้า บริการ บุคลากร เป็นต้น ซึ่งต้องเชื่อมโยงประสานกันระหว่างสำนักงานใหญ่ และสาขาต่างๆ อย่างสมดุลลงตัว 
 
 
3. Franchise SMEs & ภาษีอากร 
 
สำหรับประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Franchise ขอยกเป็นตัวอย่างดังนี้ 
 
(1) ค่า Royalty Fee ซึ่งได้รับเป็นเงินก้อนนั้น กฎหมายภาษีอากรของไทย ได้อนุโลมให้ franchisor สามารถกระจายการรับรู้รายได้ เป็นสัดส่วนกับจำนวนปีแห่งอายุ franchise ทำให้เสียภาษีเงินได้ช้าลง เป็นประโยชน์ต่อ cash flow 
 
กรณีเป็น franchisor จากต่างประเทศ franchisee (ผู้จ่ายเงิน) จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากค่า Royalty Fee ที่ส่งออกไปนอกประเทศ (มาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร) 
 
(2) การจัดหน่วยภาษี (Tax Entity) ในแง่ของ franchisor สามารถขยายธุรกิจได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 
 
  • ขยายสาขาเอง หรือ 
  • ขาย franchise ให้ผู้ที่สนใจ และมีเงินทุนเพียงพอ 
 กรณีขยายสาขาเอง ก็มีแง่มุมทางภาษีว่า ควรจะจัดตั้งเป็นบริษัทเดียว หรือแยกสาขาแต่ละแห่งออกไปจดทะเบียนเป็นบริษัทต่างหากนั้น ในความเห็นของผู้เขียน ยังทิ้งน้ำหนักมาที่การตั้งเป็นบริษัทเดียว เพราะกรณีแตกหน่วยภาษีออกเป็นหลายบริษัท จะมีประเด็นภาษีตามมาหลายประการ อาทิ 
 
  • การส่งสินค้าไปยังสาขา หรือการให้บริการของทีม support ต่อสาขา ล้วนถือเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างกัน ซึ่งต้องเสียทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคล และ VAT ซ้ำซ้อน และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นโดยใช่เหตุ 
     
  • ราคาขายสินค้า หรือให้บริการระหว่างกัน ต้องเป็นราคาตลาดเท่านั้น (มาตรา 65 ทวิ (4)) ความยากก็คือจะตั้งราคาขายเท่าใด จึงเป็นที่ยอมรับของสรรพากร เพราะแต่ละสาขาต้องมีกำไรอีกทอดหนึ่ง เป็นต้น 
 
(3) ค่า Advertising Fees ซึ่ง franchisor เรียกเก็บจาก franchisee ทุกราย เพื่อนำมารวมเป็นกองกลางในการจัดทำ campaign ประชาสัมพันธ์ หรือส่งเสริมการขายร่วมกันนั้น มองทางภาษีได้เป็น 2 แง่มุม คือ การโฆษณาร่วม หรือการจ้างช่วง ซึ่งมีข้อกฎหมายและภาระภาษีที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงต้องทำสัญญาข้อตกลง รวมตลอดถึงการบันทึกบัญชี และการออกเอกสารให้ถูกต้อง หากเกิดข้อผิดพลาด จะทำให้เกิดประเด็นภาษีเป็นข้อโต้แย้งกับเจ้าพนักงานสรรพากรได้ 
 
 
ที่มา: เส้นทางเศรษฐี
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
4,390
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
2,149
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,545
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,122
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
803
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
777
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด