บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    เทรนด์ฮิตแฟรนไชส์
3.3K
2 นาที
11 ตุลาคม 2555
จับเทรนด์ 'แฟรนไชส์ไทย' เสริมรายได้อย่างเข้าใจ (2)

6. ธุรกิจขนาดเล็กที่เติบโตได้ต้องเข้าใจตลาดและลูกค้า กลุ่มที่ประสบความสำเร็จมักเป็นคนที่มีลูกค้าประจำเห็นเรื่องของการตลาดง่าย ๆ ตรงประเด็น ไม่คิดมากไปไม่น้อยไป เข้าถึงคนกิน คนใช้ ทำงานไม่ถึงกับกางตำราแต่มีหลักการ การที่เข้าใจเรื่องของความต้องการตลาดและลักษณะลูกค้า ทำให้มองสินค้าหรือบริการที่ตนเองทำได้ถูกต้องเป็นคนที่สนใจหาความรู้เพิ่มเติมต่อเนื่อง บางคนนั้นเข้าขั้นนักอ่านตัวยง การที่มีข้อมูลติดตามข่าวสารที่ควร ดังนั้นการตั้งต้นมักจะเห็นช่องตลาดก่อนที่มาสร้างสินค้าบริการ ข้อนี้ดูแล้วน่าสังเกตอย่างมาก เพราะมีหลายคนที่ตั้งหลักที่พยายามหาสินค้าก่อนและมาสร้างทีหลังบางทีก็เกิดยากกว่า ข้อน่าสังเกตพบว่าเถ้าแก่ที่สำเร็จในปัจจุบันนั้นกว่าจะได้ความสำเร็จต่างล้มเหลวมาก่อน และสิ่งที่ได้บทเรียนเจ็บใจกลายเป็นบทเรียนสอนใจภายหลัง
 
7. ธุรกิจขนาดเล็กที่ร่ำรวย มีข้อเหมือนกันคือ มีความรักผูกพันในชนิดของธุรกิจที่ทำอยู่มาก่อน อาจเป็นในลักษณะของงานอดิเรก ชอบเป็นส่วนตัว เป็นวิชาเรียนที่ชอบ เห็นมาแต่เด็ก ปู่ย่าตายายเคยมีเรื่องราวให้คิด รวมถึงแรงบันดาลใจลึก ๆ ที่อาจบอกตอนนี้ไม่ได้ แต่เรื่องเหล่านี้กลับเป็นแรงผลักให้เกิดการสร้างงานของเขาเหล่านั้น การที่มีอะไรเป็นสิ่งที่เข้าใจอยู่แล้วจะทำให้ช่วยนักบุกเบิกเหล่านี้ได้ เพราะเคยคิดถึงเรื่องจุดบกพร่องในเรื่องนั้น เห็นถึงสิ่งที่ดีกว่าน่าจะเป็นแล้วตัวเองก็สร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา
กลายเป็นที่ยอมรับกับกลุ่มลูกค้ากลายเป็นความสำเร็จในธุรกิจ
 
8. ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จนั้น เจ้าของเองมักมีจุดเด่นในตัวที่แตกต่างจากคนอื่น อาจเป็นความคิด ท่าทางบุคลิกภาพบางอย่างฉายแวว มีอาการเก็บตัวเล็ก ๆ หรือมีโลกส่วนตัว ความตั้งใจเด็ดเดี่ยวมีลักษณะที่จะเป็นผู้นำได้ เรื่องแบบนี้ดูออกได้จากการสัมผัสการพูดคุยถามแนวความคิด สิ่งที่เป็นตัวของตัวเองดังกล่าวทำให้เกิดความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะทำให้สำเร็จตามความตั้งใจส่วนตัว แม้จะขัดกับธรรมชาติความคิดทั่วไปในขณะนั้นก็ตาม ความคิดสุดโต่งที่บวกกับความตั้งใจแผลง ๆ ก็มีส่วนผลักดันให้งานของเขาเหล่านั้นกลายเป็นความจริงขึ้นมา
 
9. การสร้างความสำเร็จกับมือขึ้นมาได้ ลักษณะที่มีคล้ายกันก็คือ ไม่กลัวผิด แต่ไม่บ้าระห่ำเกินไป แม้ดูแผลงก็ตาม ความกล้าในเรื่องนี้มักเป็นเรื่องเสี่ยงเสียส่วนใหญ่ บางครั้งเข้าทางที่เรียกว่า ไม่ได้ก็เสีย เข้าขั้นอย่างนั้นเลย การเสี่ยงแบบมีแผนงานก็เป็นวิธีคิดของคนเหล่านี้ที่เป็นไปได้ว่ามีประสบการณ์เจ๊งกันมาก่อน มองเห็นช่องที่คนอื่นไม่ทันเห็น แต่ก็มีการระวังหลังไว้พอสมควร เสียงดังเวลาเสี่ยงคนอื่นไม่รู้อาจจะเห็นว่าบ้าไปแล้วแต่จริง ๆ แล้วเตรียมการไว้เบื้องหลัง นี่คือลักษณะที่มีในตัวของเถ้าแก่ที่ได้สัมภาษณ์พูดคุย
 
10. มีความเชื่อในเรื่องของความดีและความชั่วตามศาสนาหรือความเชื่อในทางที่ดีต่าง ๆ เชื่อมั่นในเรื่องผลการทำความดี แสดงออกด้วยการสร้างสมความดี การบริจาค ทำบุญ หรือเป็นในรูปประพฤติปฏิบัติ อ่านหนังสือธรรมะ การใช้เวลาบางส่วนในการเข้าใจเรื่องของศีลธรรมอันดี แต่ข้อนี้คงไม่ได้หมายถึงว่า เพราะเขาเหล่านั้นทำบุญทำทานจึงทำให้ผลกรรมส่งผลให้ธุรกิจดีขึ้นมาทันตา แต่น่าจะเป็นมุมที่ว่า เขาเหล่านั้นผ่านชีวิตที่เอาเรื่องมาพอสมควรเริ่มรู้เริ่มเห็นเข้าใจชีวิตมากขึ้นมองธรรมชาติของชีวิตได้เป็นเนื้อเป็นหนัง เห็นในสิ่งที่เป็นไป จิตใจและความคิดก็เลยพัฒนาขึ้นมาอีกระดับ ความเข้าใจเหล่านั้นถ้าไม่ติดยึดไปในเรื่องงมงาย กลุ่มคนเหล่านี้จะเริ่มเป็นผู้ที่ให้และพร้อมจะทำงานเพื่อสังคมมากขึ้น
 
นอกจากนี้รูปแบบแฟรนไชส์ เช่น ซื้อมาเพื่อบริหารจัดการร้านได้เอง หรือได้สิทธิให้สามารถขยายสาขาได้ ศึกษาข้อมูลแฟรนไชส์และสัญญาให้ดีเพราะถ้าเป็นแฟรนไชส์ที่มาจากประเทศที่มีกฎหมายแฟรนไชส์รองรับจะมีระบบข้อมูลแฟรนไชส์อย่างละเอียด พร้อมด้วยคู่มือการปฏิบัติงานมาอย่างดีแล้ว
 
แนวโน้มการเติบโตของจำนวนบริษัทในระบบแฟรนไชส์ของไทย มีทิศทางค่อนข้างสดใส ภายใน 3 ปีข้างหน้า จำนวนบริษัทในไทยน่าจะเพิ่มเป็น 850 บริษัท จากปัจจุบันที่มีกว่า 500 บริษัท ถือเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
 
แฟรนไชส์ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการธุรกิจ ที่ผู้ลงทุนต้องมีความรู้ และสำรวจความสนใจของตัวเองเป็นอันดับต้น ๆ
 
จุดเริ่มแฟรนไชส์ไทย
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่มีการริเริ่มมากกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ธุรกิจแรก ๆ ที่พยายามผลักดันการขยายงานโดยใช้รูปแบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจด้านอาหารและร้านค้าแบบมินิมาร์ท

แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องของสิทธิ ที่มักให้แฟรนไชส์เป็นผู้ลงทุน ที่เน้นทำธุรกิจแบบซื้อเพื่อการลงทุน ไม่มีการมองถึงการสร้างธุรกิจของตนเอง บางครั้งยังใช้การบริหารแบบเก่าที่เน้นความเป็นระบบครอบครัวทำให้อัตราความล้มเหลวธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น บางครั้งการลงทุนของแฟรนไชส์ที่ประสบปัญหาเกิดจากการจัดการของตนเองบ้าง หรือก็เกิดจากระบบงานของบริษัทแม่ที่เน้นการขยายธุรกิจที่มุ่งผลทางการตลาด

อ้างอิงจาก เดลินิวส์
 
แฟรนไชส์ เป็นอีกตัวเลือกของการดำเนินธุรกิจ ที่ผ่านมามีสินค้าหลายรูปแบบผ่านระบบดังกล่าว ขณะเดียวกันหลายธุรกิจจำต้องล้มเลิกไปในเวลาอันรวดเร็ว แม้บางสินค้าจะกลับมาบูมใหม่อีกครั้ง ..
143months ago   3,543  6 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,694
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,830
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด