บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ไอเดียธุรกิจแฟรนไชส์
4.4K
2 นาที
23 มกราคม 2563
Atata ผุดไอเดีย “บาร์ผู้สูงอายุ” ตั้งเป้าเป็นแฟรนไชส์ยอดฮิตในญี่ปุ่น


วัยรุ่นสามารถเที่ยวผับเที่ยวบาร์ คำถามคือหากเป็นคนแก่หรือผู้สูงวัย เราจะไปเที่ยวไหนดี ถ้าอายุเยอะแล้วยังไปเดินเข้าผับเข้าบาร์ก็คงจะดูไม่ดีสักเท่าไหร่ ในเมืองไทยสถานที่ของคนสูงวัยก็คงหนีไม่พ้นเข้าวัดสวดมนต์ หรือเที่ยวเบาๆ ในสไตล์ธรรมชาติอะไรแบบนี้ แต่ในสังคมญี่ปุ่นที่ตอนนี้กำลังเผชิญกับ “สังคมผู้สูงอายุ” หลายธุรกิจที่เกิดใหม่จึงต้องเอาใจ “กลุ่มคนสูงวัย” ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่ www.ThaiFranchiseCenter.com เห็นว่าเป็นธุรกิจตอบโจทย์คนสูงวัยในญี่ปุ่นก็เช่น “บริการแท็กซี่สำหรับผู้สูงอายุ”  ซึ่งบริษัทแท็กซี่หลายแห่งในญี่ปุ่นเริ่มปรับมาให้บริการผู้สูงอายุอย่างจริงจัง และรถแท็กซี่บางรุ่นปรับให้สามารถใส่รถเข็นหรือเข็นรถขึ้นแท็กซี่ได้ง่าย แก้ปัญหาการก้าวขึ้นลงลำบากของผู้สูงอายุ
 
หรืออีกบางธุรกิจเช่น อาหารสุขภาพที่เน้นการจัดส่งอาหารสุขภาพเหล่านี้ให้แก่ผู้สูงอายุโดยที่ไม่ต้องออกมาจับจ่ายใช้สอยตามซุปเปอร์มาเก็ต หรือร้านสะดวกซื้อ และยังมีการจัดเป็นเซตระบุคุณค่าทางโภชนาการให้อย่างชัดเจนด้วย รวมถึงสินค้าคลายเหงาต่างๆ อย่างบริษัท Takaratomy ได้ผลิตตุ๊กตาริกะ เพื่อให้ผู้สูงอายุคลายเหงาและสามารถเล่นเข้ากับลูกๆหลานได้ง่ายขึ้น
 
Ryujugo บาร์สำหรับผู้สูงอายุ


ภาพจาก bit.ly/2sLXV34
 
และที่เป็นไอเดียใหม่ล่าสุดเป็นธุรกิจตอบโจทย์ผู้สูงอายุได้อย่างแหวกแนวและน่าสนใจโดยเป็นทั้งบาร์ เป็นทั้งสถานที่ดูแล ให้กับผู้สูงอายุ คือบาร์ที่ชื่อ “Ryujugo”ในเมืองโยโกซูกะ จังหวัดคานางาวะ โดยบาร์แห่งนี้ให้บริการเฉพาะผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปเท่านั้น ในบาร์แห่งนี้มีเครื่องดื่มและขนมให้บริการ มากไปกว่านั้น จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงวัยมืออาชีพประจำในบาร์เพื่อคอยดูแล ส่วนพื้นที่ภายในบาร์ออกแบบมาเพื่อผู้สูงวัยโดยเฉพาะ สำหรับผู้สูงวัยท่านใดที่นั่งรถเข็น ทางร้านก็พร้อมให้บริการ


ภาพจาก bit.ly/3aE4rKj

นอกจากนั้น สำหรับลูกค้าสูงวัยที่ไม่สะดวกในการเดินทางออกนอกบ้าน ทางร้านจะมีรถรับส่งที่ออกแบบมาสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ และบาร์แห่งนี้เกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์สังคมสูงวัยของญี่ปุ่นที่มีผู้สูงวัยอายุเกิน 70 ปีมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศ รวมถึงเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้สูงวัยที่ต้องการออกมาพักผ่อนนอกบ้าน อย่างไรก็ตาม บาร์แห่งนี้เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 11 โมงเช้าจนถึง 2 ทุ่ม ส่วนค่าเข้าบาร์แห่งนี้ต่อคนต่อครั้งอยู่ที่ 8,000 เยนต่อคน (ประมาณ 2,200 บาท)


ภาพจาก bit.ly/3aE4rKj
 
ไอเดียบาร์ “Ryujugo” เป็นของบริษัท Atata ซึ่งเคยทำธุรกิจคลินิกฝังเข็ม ร่วมกับบริการรับจ้างดูแลผู้สูงอายุโดยใช้ผู้บริบาลที่มีใบอนุญาต จึงทำให้มีข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าสูงวัยว่า พวกเขาเองก็ยังอยากไปสังสรรค์ในหมู่เพื่อนเช่นเดียวกับตอนเป็นวัยรุ่น แต่ผับบาร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อกลุ่มคนสูงวัย ดังนั้นหากมีหากมีผับบาร์ที่ออกแบบมาเฉพาะเช่นมีพยาบาลดูแล มีอาหารที่คนสูงวัยรับประทานได้ การจัดวางพื้นที่เหมาะกับผู้สูงวัย ก็จะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่คนกลุ่มนี้พร้อมจะสนับสนุนทันที


ภาพจาก amba.to/37jjozn
 
เรื่องนี้ทาง Atata ก็ไม่ได้มาทำเล่นๆ แต่จริงจังถึงขนาดเปิดขายในระบบแฟรนไชส์ โดยตั้งเป้าว่าจะมีผู้สนใจร่วมเปิดธุรกิจมากถึง 200 แห่งทั่วประเทศ จุดเด่นของ  Ryugujo ได้รับความสนใจเพราะถือว่ามีบริการครบวงจรสำหรับผู้สูงวัยที่ต้องการออกมาดื่มสังสรรค์ ตั้งแต่บริการรับส่งจากบ้านไปถึงร้าน และเมื่อจบการสังสรรค์ก็มีบริการส่งกลับบ้าน ซึ่งทุกกระบวนการนั้นจะมีผู้บริบาลที่มีใบประกอบวิชาชีพทำหน้าที่ดูแลทุกย่างก้าว


ภาพจาก bit.ly/3aE4rKj
 
หรือหากใครที่เดินไม่ไหวก็มีรถเข็นคอยบริการอยู่ด้วย รวมถึงการออกแบบร้านก็ใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ สูง เช่น การติดตั้งราวจับในเกือบจะทุกที่ การมีทางเดินที่สะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็น รวมทั้งติดตั้งกระดิ่งในห้องน้ำเผื่อผู้ใช้บริการต้องการความช่วยเหลือ นอกจากนั้น ประตูหน้าร้านก็จะติดกลอนประตูล็อครหัสเอาไว้ ป้องกันผู้สูงวัยออกไปเดินเล่นหน้าร้านหรือบนถนน สำหรับอาหารและเครื่องดื่มนั้น ทางร้านจัดกับแกล้มขนาดพอดีคำเพื่อให้กลืนง่าย และการจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์โดยผู้บริบาลเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่จะตามมาอีกด้วย


ห้องน้ำภายในบาร์ลูกค้าสูงวัย
ภาพจาก bit.ly/3aE4rKj
 
ทากายะ ซาซากิ ผู้บริหารของ Atata กล่าวว่า “แนวคิดของร้านแบบ Ryugujo ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี เห็นได้จากการมีผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์เพื่อนำไปเปลี่ยนผับบาร์แบบทั่วไปให้มาจับกลุ่มคนชรา และตอนนี้ยังมีแนวคิดสำหรับการเปิดร้านแบบ Ryugujo ในสถานที่อื่น ๆ เช่น บ่อน้ำพุร้อน และรีสอร์ทหลายแห่งอีกด้วย โดยพบว่า ไม่เพียงแค่ผู้สูงวัยจะอยากออกมาสังสรรค์กับเพื่อนฝูง แต่คนในครอบครัวอื่น ๆ ก็ต้องการเวลาพักผ่อนจากการดูแลผู้ใหญ่ในบ้านเช่นกัน”
 
สถานการณ์ผู้สูงวัยในญี่ปุ่นตอนนี้กำลังมีตัวเลขสูงขึ้นชัดเจน ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน ส.ค.ปี 2562 ที่ผ่านมาพบว่าผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 100 ปีขึ้นไปมีจำนวนมากขึ้นถึง71,238 คน ทุบสถิติเป็นครั้งแรกที่มีจำนวนเกินกว่า 70,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 49 ติดต่อกัน เทียบกับในปี 1989 ที่มีจำนวนเพียง 3,078 คน


ภาพจาก bit.ly/2TI9tiR
 
สอดคล้องกับข้อมูลของสถาบันประชากรแห่งชาติญี่ปุ่น ที่ประเมินว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า ประชากรสูงวัยอายุมากกว่า 100 ปีขึ้นไปในญี่ปุ่นจะมีจำนวนเกินกว่า 100,000 คน และเพิ่มขึ้นแตะระดับที่ 170,000 คน ในปี 2028 ซึ่งหมายความว่า ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศแรกของโลกที่เข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างรุนแรง” (super-ageing society)
 
ขณะเดียวกันอัตราการเกิดในญี่ปุ่นที่ลดต่ำลงในรอบ 120 ปี อยู่ที่ 918,397 คน ซึ่งจำนวนการเกิดอยู่ในระดับต่ำกว่า 1 ล้านคน ตั้งแต่ปี 2016 ทำให้คาดการณ์ว่าภายในปี 2065 จำนวนประชากรญี่ปุ่นจะลดลงเหลือเพียง 88 ล้านคน จากปัจจุบันที่มีทั้งหมดประมาณ 127 ล้านคน
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ขอบคุณข้อมูล
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,679
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,803
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด