บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.9K
2 นาที
26 กุมภาพันธ์ 2563
8 วิธีคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่ใช่สำหรับแฟรนไชส์ซอร์

 
เครือข่ายแฟรนไชซีที่มีความซื่อสัตย์และผูกพันต่อธุรกิจนั้น เป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการต้องการ นี่เป็นแนวทางในการค้นหาแฟรนไชซีของคุณและทำให้องค์กรของคุณเติบโตขึ้นได้

เจ้าของแฟรนไชส์พบว่า พวกเขาต้องแข่งขันในตลาดสูง มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นในการสร้างโมเดลเส้นทางการเป็นเจ้าของกิจการหรือสร้างความสมดุลให้ประสบความสำเร็จในชีวิต เจ้าของแฟรนไชส์ทุก ๆ คนรู้ดีว่า ความสามารถในการคัดเลือกและว่าจ้างแฟรนไชซีที่ใช่นั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้นและอาจเห็นได้ถึงความแตกต่างระหว่างความสำเร็จและความล้มเหลว 
 
การคัดเลือก
 

ด้วยทีมงานที่แข็งแกร่ง ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์สามารถเติบโตได้ แต่การค้นหาพวกเขาเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ ถือเป็นความท้าทายที่ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร คำถามก็คือ จะทำการค้นหาพวกเขาเหล่านี้ได้ที่ไหน?
 
ดูความคิดของพวกเขาเบื้องต้นก่อน
 

การคัดเลือกจากฐานลูกค้าที่คุณมีอยู่ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการค้นหาแฟรนไชซีหน้าใหม่ ซึ่งการขายความคิดในสิ่งที่คุณได้รักเป็นกุญแจสำคัญในการส่งสารมาถึงพวกเรา
ในการค้นหาลูกค้าของคุณ คุณจะต้องพูดคุยกับผู้คนด้วยความคลั่งไคล้เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ และจะต้องเข้าใจแนวทางการทำงานของคุณ เช่นกันหาวิธีทำให้ลูกค้าที่คุณมีอยู่หันมาลงทุนและเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ของคุณให้ได้เร็วที่สุด
 
การสร้างโอกาสให้กับลูกค้าของคุณนั้น คุณจะต้องทำให้พวกเขาเข้าใจในสิ่งที่คุณได้ทำด้วยหลักการง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน โดยจะต้องพูดคุยกันแบบเป็นกันเองกับแฟรนไชซีหรือมีการสอบถามเพิ่มเติมอย่างเป็นทางการผ่านเว็บไซด์ 
 
หลักสูตรอบรมสำหรับลูกค้า
 

เช่นเดียวกัน หลักสูตรอบรมสำหรับลูกค้าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการคัดเลือก จึงเป็นเรื่องดีที่ต้องใช้คำพูดในการสร้างพลังเพื่อวิเคราะห์แฟรนไชซีที่คุณเห็นว่า มีคุณสมบัติดีพอที่สร้างความสำเร็จตามที่ได้วางเป้าหมายเอาไว้
 
เช่นกันจะต้องหาวิธีการที่รวดเร็วเพื่อรวบรวมประวัติคุณสมบัติของทีมที่คุณมีอยู่ก่อนพูดคุยสอบถามอย่างเป็นทางการ โดยจะต้องแชร์มูลค่าของบริษัทและผลประโยชน์ที่ลูกค้าต่างคาดหวังเอาไว้
 
จึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการสนับสนุนและทีมเวิร์คขึ้นมา เนื่องจากทั้งแฟรนไชซีหน้าเก่าและหน้าใหม่จะต้องพัฒนาแบรนด์ธุรกิจไปด้วยกัน
 
อธิบายในสิ่งที่คุณได้ทำ
 

การใช้คำพูดที่ดีทำให้แนวโน้มการเติบโตเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เติบโตมากขึ้นจากศูนย์กลาง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าถึงผู้ฟังหน้าใหม่ที่ได้รับฟังแบรนด์ของคุณ

การที่พวกเราเติบโตขึ้นนั้น เป็นเพราะว่าพวกเรามีวิสัยทัศน์ ในการอธิบายเรื่องการค้ากับลูกค้าทั่วประเทศนี้ ช่วยให้ลูกค้ากับแฟรนไชซีมองเห็นโอกาสตามที่พวกเราได้บอกกับพวกเขาเอาไว้ โดยต้องพูดคุยพัฒนาทำความเข้าใจในกลุ่มของพวกเราและประสบการณ์ที่ต้องเจอในช่วงแรก แม้ว่าเป็นเรื่องลำบาก แต่ผลตอบแทนที่ออกมามันคุ้มค่าจนบอกไม่ถูก
 
การดูแลธุรกิจ

ทันทีที่แฟรนไชซีหน้าใหม่ได้เข้าร่วมธุรกิจแล้ว การดูแลธุรกิจของพวกเขาเป็นความท้าทายต่อไป แล้วแบบนี้เจ้าของแฟรนไชส์จะเปิดเผยมูลค่า ทำให้แฟรนไชซีมีแรงจูงใจและหันมาลงทุนในธุรกิจของพวกเขาได้อย่างไร?
 
การพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ
 

โปรแกรมการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ (CPD) เป็นเครื่องมือที่คุณต้องมอบให้กับแฟรนไชซี โดยยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมให้มีการฝึกฝนเพื่อเตรียมตัวเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ และการมอบงานนี้พวกเขาจะต้องใช้ทักษะต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่า พวกเขามีคุณค่าที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ดีได้
 
โปรแกรม CPD มีจุดเด่นที่ว่า เป็นโปรแกรมที่มีความครอบคลุมกว่าข้อเสนออื่น ๆ ที่มาจากคู่แข่งของพวกเราที่เป็นกุญแจสำคัญในการรักษาไม่ให้แฟรนไชซีตีจากไป เช่นเดียวกับ USP ที่เป็นโปรแกรมที่สร้างความดึงดูดได้ดีอย่างหนึ่ง
 
ผลตอบแทนและเครือข่าย
 

ในทุก ๆ ธุรกิจนั้น จะต้องทำความเข้าใจกับกำลังแรงงานและจะต้องทำให้พวกเขารู้สึกว่า พวกเขาได้รับการสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จกับบริษัท และการทำแฟรนไชส์ก็ไม่ต่างกัน ไม่มีใครคิดถึงความล้มเหลวหรอก
 
ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องในการตอบกลับของแฟรนไชซีที่ได้ยินและได้ฟัง เพื่อให้แน่ใจว่า ความสำเร็จของพวกเขาเป็นเรื่องที่น่ายกย่อง
 
การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญตรงส่วนนี้ ในการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับแฟรนไชซีนั้น ต้องทำให้พวกเขาแสดงความเห็นและแชร์คำแนะนำได้ การเปิดประเด็นหัวข้อช่วยประเมินลูกค้าที่ควรรักษาและทำให้เจ้าของแฟรนไชส์เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคหรือสนับสนุนให้กับทีม โดยดูข้อเสนอว่า มีความคลุมเครืออะไรที่ต้องฝ่าฟัน
 
นอกจากนั้นแล้ว การเปิดพื้นที่ตรงนี้ช่วยให้แฟรนไชซีเปิดกว้างทางความคิด ทำให้เห็นจุดแข็งของธุรกิจและประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทำให้แฟรนไชซีเห็นข้อเสนอที่เป็นตัวสนับสนุนและสามารถแนะนำส่งต่อคนอื่น ๆ รวมไปถึงพัฒนาความรู้สึกร่วมกัน
 
เช่นกันจะต้องใช้แพลตฟอร์มที่เป็นเรื่องเข้าใจง่ายและทำให้แฟรนไชซีได้รับผลตอบแทน ในข้อเสนอที่จับต้องได้เป็นตัวกระตุ้นให้มองเห็นภาพเป้าหมายเฉพาะได้ แต่อย่าประเมิน “เสียงที่ออกมาดัง” ต่ำจนเกินไป กับการแสดงความเห็นบางอย่างที่เป็นบวก พวกเราชอบให้แฟรนไชซีแสดงความเห็นในเชิงสนับสนุนบริษัทเป็นบางช่วงเวลา อย่างเช่นการให้แนวคิดที่ดีหรือความเห็นที่ลูกค้าน้อยคนมากจะแสดงความเห็นออกมา
 
โปรแกรม CSR 
 
โปรแกรมการให้ความร่วมมือทางสังคมเป็นโปรแกรมคืนผลตอบแทนให้กับสังคม และยกระดับชื่อเสียงของแบรนด์ที่มีผลต่อการตัดสินใจของแฟรนไชซีในการเข้าร่วมโปรแกรม นี่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมากในการสร้างความภักดีให้กับแฟรนไชซี เป็นที่เข้าใจได้ว่า คุณค่าของสังคมและชุมชนมีการแชร์ออกไปโดยบริษัทและทำให้พวกเขาเริ่มเห็นทิศทางและความคืบหน้าของบริษัทมากขึ้น 

คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 
 
 
เกี่ยวกับผู้เขียน
Kimberlee Perry เป็นผู้ก่อตั้งและเป็น CEO ของ ((BOUNCE))
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,706
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,842
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,367
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,916
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,274
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด