บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.3K
2 นาที
17 เมษายน 2563
เจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้ แผนการรับมือ COVID-19


 
แฟรนไชส์เป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ทั้งปิดกิจการชั่วคราว รายได้ลดลงครึ่งต่อครึ่ง อีกทั้งยังขาดเงินทุนหมุนเวียน แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ยังมีข้อได้เปรียบธุรกิจอื่นๆ ตรงที่ระบบเครือข่ายของแฟรนไชส์จะให้ความช่วยเหลือเกื้อหนุน ทำงานร่วมกัน ทั้งแฟรนไชส์ซอร์ แฟรนไชส์ซี รวมถึงพันธมิตรผู้ผลิตและจัดส่งต่างๆ
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีแนวทางการรับมือของโควิด-19 มาแชร์ให้เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ได้ทราบครับ
 
1. ประเมินเครือข่ายของคุณ


ภาพจาก facebook.com/lookchingiantfc
 
แน่นอนว่าเมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 เครือข่ายธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์ซี และซัพพลายเออร์ ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ยอดขายลด รายได้หด เงินทุนหมุนเวียนไม่มี อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูง ขณะที่ยอดขายไม่มี หรือผลิตสินค้าไม่ได้ ส่งของไม่ทัน ดังนั้น เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องทำการประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายของตัวเอง เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือให้สามารถก้าวพื้นผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน เช่น อาจจะนำเสนอผู้ให้เช่าลดค่าเช่าลง เป็นต้น 
 
2. ติดต่อสื่อสารกับแฟรนไชส์ซี


ภาพจาก facebook.com/MaruChaoffice
 
เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรีบติดต่อสื่อสารไปยังแฟรนไชส์ซีของตัวเอง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับแฟรนไชส์ซีว่า แฟรนไชส์ซอร์จะไม่ทิ้งและให้ความช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีในช่วงวิกฤตครั้งนี้ โดยเจ้าของแฟรนไชส์ต้องสอบถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ซี แล้วนำปัญหาเหล่านั้นยื่นเรื่องต่อหน่วยงาน องค์กร หรือสมาคมแฟรนไชส์ นำเสนอรัฐบาลได้รับทราบ
 
สรุปก็คือ แฟรนไชส์ซอร์ต้องหารือกับแฟรนไชส์ซีว่ามีปัญหาอะไรบ้าง แล้วให้การช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีเหล่านั้น หรือแฟรนไชส์ซอร์อาจจะลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้กับแฟรนไชส์ซีของตัวเองในช่วงวิกฤต เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายลง 
 
3. ติดต่อซัพพลายเออร์ของคุณ


ภาพจาก SumoCha
 
เมื่อเกิดวิกฤต เจ้าของแฟรนไชส์ต้องรีบติดต่อซัพพลายเออร์อย่างเร่งด่วน สอบถามปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการจัดส่งวัตถุดิบ การผลิตสินค้า ดูว่าซัพพลายเออร์สามารถจัดส่งให้แฟรนไชส์ซี้ได้ตามเวลาหรือไม่ เพื่อการันตีได้ว่าแฟรนไชส์ซีจะสามารถขายของและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในช่วงวิกฤต ถ้าซัพพลายเออร์ตัวเองมีปัญหาก็ติดต่อซัพพลายเออร์รายอื่นแทน 
 
4. สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า


ภาพจาก facebook.com/Fivestarbusiness
 
นอกจากแฟรนไชส์ซอร์จะติดต่อสื่อสารกับแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่องในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีจะต้องทำงานร่วมกันและสอดคล้องกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะอาด ปลอดภัย สุขลักษณะ รวมถึงมาตรการอื่นๆ ที่จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของวิด-19 เช่น อาจปรับรูปแบบบริการเป็นขายออนไลน์ จัดส่งเดลิเวออรี่ จัดส่งแบบไม่สัมผัส หรือ ซื้อกลับไปทานบ้าน เป็นต้น
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
Franchise Tips
  1. ประเมินเครือข่ายของคุณ
  2. ติดต่อสื่อสารกับแฟรนไชส์ซี 
  3. ติดต่อซัพพลายเออร์ของคุณ
  4. สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,561
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,288
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด