บทความทั้งหมด    บทความค้าขาย    การเริ่มต้นค้าขาย    โลจิสติกส์ ขนส่ง
5.8K
2 นาที
1 กุมภาพันธ์ 2556
การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง


 
ความสัมพันธ์ของการค้าระหว่างประเทศกับการประกันภัยการขนส่งสินค้า
 
การประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศ เพราะกรมธรรม์ให้ความคุ้มครองและชดใช้เนื่องจากเหตุวินาศภัยต่าง ๆ ที่อาจมีต่อสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาทั้งจากภัยธรรมชาติหรือภัยจากอุบัติเหตุ หรือภัยจากความประมาทเลินเล่อของบุคคล เพราะฉะนั้น การประกันภัยจึงมีส่วนช่วยให้เกิดความมั่นคง ลดความสูญเสียของผู้ค้า และเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพราะมีหลักประกันที่แน่นอนว่า ทุนรอนที่ลงไปนั้นจะไม่สูญเปล่า
 
การกำหนดวงเงินที่เอาประกัน
 
วงเงินเอาประกันของการประกันการขนส่งสินค้า ดังนี้
  • สำหรับการประกันการส่งออก : 110% ของCIF / C&I
  • สำหรับการประกันการนำเข้า : 110% ของ C&F / FOB / EX-WORK
  • สำหรับภาษีสินค้านำเข้าบางชนิดที่มีอัตราสูง ควรประกันต่างหาก ซึ่งบริษัทฯ คิดอัตราพิเศษเพียง 50% ของอัตราเบี้ยประกันสินค้า
เงื่อนไขการซื้อขายระหว่างประเทศที่กำหนดให้ทำประกันในประเทศไทย
  • กรณีการส่งสินค้าออก เงื่อนไข ดังนี้
# CIF ( Cost, Insurance and Freight ) ราคาค่าสินค้ารวมค่าประกันภัยและค่าระวางเรื่อเดินสมุทร ผู้ซื้อรับสินค้าที่เมืองท่าปลายทางและเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือ ค่าภาษีอากรขาเข้า รวมทั้งค่าขนส่งสินค้าตั้งแต่ขนลงจากเรือเดินสมุทรจนถึงคลังสินค้าของตน
 
# C&I ( Cost, Insurance ) ราคาค่าสินค้ารวมค่าเบี้ยประกันภัย
  • กรณีการนำสินค้าเข้าประเทศ เงื่อนไข ดังนี้
# EX-Work ราคา ณ หน้าโรงงาน โดยผู้นำเข้า (ผู้ซื้อ) ต้องจัดประกันเองตั้งแต่ยานพาหนะบรรทุกสินค้าออกจากหน้าโรงงานต้นทาง จนถึงเมืองท่าปลายทางหรือคลังสินค้าปลายทาง โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งทั้งหมด
 
# FOB (Free On Board) ราคาเฉพาะค่าสินค้าอย่างเดียว ผู้ซื้อจัดซื้อประกันภัยโดยเริ่มคุ้มครองตั้งแต่สินค้าถูกขนลงเรือเดินสมุทร ณ เมืองท่าต้นทาง จนถึงคลังสินค้าปลายทาง โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งทั้งหมด นับตั้งแต่ได้มีการนำสินค้าลงเรือเดินสมุทรเรียบร้อยแล้วที่เมืองท่าต้นทาง
 
# C&F ( Cost and Freight ) ราคาค่าสินค้ารวมกับค่าระวางเรือเดินสมุทร ผู้ซื้อจัดซื้อประกันภัยสินค้าตั้งแต่สินค้าขนลงเรือเดินสมุทร ณ เมืองท่าต้นทางจนถึงคลังสินค้าปลายทาง
 
 
 
ระยะเวลาคุ้มครอง
 
กรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสินค้าระหว่างช่วงขนส่งจากต้นทางถึงปลายทาง โดยไม่ได้กำหนดวันเวลาที่แน่นอนว่าสินค้าจะต้องถึงจุดหมายปลายทางเมื่อใด ขอเพียงแต่ความสูญเสียใด ๆ นั้นระบุอยู่ภายใต้เงื่อนไขคุ้มครองในกรมธรรม์
  • การเริ่มต้นความคุ้มครอง กรมธรรม์เริ่มมีผลคุ้มครองเมื่อสินค้าที่เราประกันภัยออกจากคลังสินค้าต้นทางดังที่ระบุในกรมธรรม์ ทั้งนี้ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้ส่วนเสียในการขนส่งตามเงื่อนไข
 
การซื่อขาย
  • การสิ้นสุดของความคุ้มครอง ความคุ้มครองจะมีอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่การขนส่งนั้นอยู่ในเส้นทางการขนส่งปกติ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถไฟ เรือฉลอม เป็นต้น รวมถึงกรณีที่ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายเรือเดินสมุทร (Transshipment) ในระหว่างทางการขนส่งด้วย
อย่างไรก็ตาม ได้กำหนดเงื่อนไขสิ้นสุดความคุ้มครอง 3 กรณี เมื่อกรณีใดกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อน ความคุ้ม
ครองนั้นจะสิ้นสุดลงทันที ดังนี้
 
  1. เมื่อสินค้าถูกส่งที่สถานที่เก็บสินค้าของผู้รับสินค้าหรือผู้รับใบตราส่ง (Consignee) ที่ปลายทางหรือสถานที่เก็บสินค้าแหล่งสุดท้ายที่ปลายทางตามระบุในกรมธรรม์
  2. เมื่อสินค้าถูกส่งถึงที่เก็บสินค้าแห่งอื่นใดไม่ว่าจะอยู่ระหว่างทางหรือที่ปลายทางตามที่ระบุในกรมธรรม์ ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ตัดสินใจที่จะใช้สถานที่นั้นเป็นที่เก็บสินค้าเพื่อทำการจำแนกแจกจ่ายหรือจำหน่ายสินค้านั้นต่อไป
  3. เมื่อครบ 60 วันนับจากวันที่ได้ขนส่งสินค้าลงจากเรือเดินสมุทรที่ท่าเรือแห่งสุดท้าย

 
การขอทำความคุ้มครองล่วงหน้า (Cover Note) สำหรับการสั่งสินค้าเข้า
 
โดยเฉพาะกรณีมีการสั่งนำเข้าสินค้า ท่านจะไม่ทราบล่วงหน้าโดยแน่ชัดว่า สินค้านั้น ๆ ได้ถูกส่งจากท่าเรือมาแล้วเมื่อใด ฉะนั้น เมื่อท่านมีการเปิด L/C หรือใบสั่งซื้อก็ควรที่จะแจ้งให้บริษัทประกันออกหนังสือคุ้มครองล่วงหน้าดังกล่าว เพื่อให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติทันทีที่ผู้ขายนำสินค้าลงเรือ ณ เมืองท่าต้นทาง  ข้อมูลเพื่อขอเอาประกันภัย
  • ประเภทหรือชนิดของสินค้าที่จะเอาประกัน
  • สถานที่ต้นทาง-ปลายทาง
  • มูลค่าสินค้า/วงเงินเอาประกันภัย
  • ลักษณะหีบห่อของสินค้า
  • ประเภทยานพาหนะที่บรรทุก (เรือ เครื่องบิน รถไฟ รถยนต์)
อ้างอิงจาก thaibizcenter
บทความค้าขายยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ทีมไหน! หา"ทำเล"ก่อนทำธุรกิจ vs เลือก "ธุรกิจ" ก..
408
บทความค้าขายมาใหม่
บทความอื่นในหมวด