บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.4K
2 นาที
22 พฤษภาคม 2563
7 เหตุผล ทำไมคุณไม่เหมาะกับการซื้อแฟรนไชส์
 

ธุรกิจแฟรนไชส์ ถือว่าเหมาะสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจของนักลงทุนมือใหม่ ที่ไม่ต้องเสียเวลาเริ่มต้นเอง ไม่ต้องเหนื่อยสร้างแบรนด์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญวางแผนและหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม พร้อมทั้งมีสินค้าและบริการ  รวมไปถึงมีแหล่งเงินลงทุนสนับสนุน ซึ่งการลงทุนทำธุรกิจต้องใช้หลากหลายปัจจัยเข้ามาเป็นส่วนประกอบ
 
ดังนั้น หลายๆ คน จึงขจัดปัญหาเหล่านี้ โดยการลงทุนทำธุรกิจแฟรนไชส์ ใช้แบรนด์ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว มาทำเป็นธุรกิจของตัวเอง แต่ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง หลายคนซื้อมาเปิดแล้วเจ๊ง แต่หลายคนซื้อมาเปิดแล้วสำเร็จก็มีมากมายให้เห็น ถ้าถามว่าคนที่ไม่เหมาะสำหรับการซื้อแฟรนไชส์เป็นอย่างไร
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอ 7 คุณลักษณะของคนที่ไม่เหมาะสำหรับการซื้อแฟรนไชส์เริ่มต้นธุรกิจครับ
 
1. บริหารจัดการไม่เป็น

 
แม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์จะเป็นการซื้อระบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว มีการถ่ายทอดกระบวนการ ขั้นตอนการทำงานต่างๆ ภายในร้านให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ทั้งหมด จนเปิดร้านได้ แต่ก็ใช่ว่าคุณจะประสบความสำเร็จ มียอดขายเหมือนกันกับร้านต้นแบบ จำเป็นต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการร้าน บริหารจัดการทีมงาน การให้บริการเพื่อดึงดูดลูกค้าด้วย รวมถึงการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าด้วยว่า ลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไร สินค้าอะไรที่ขายดี ขายไม่ดี เรียกว่าดูทุกอย่างในร้าน 
 
2. ไม่มีทักษะการขาย
 
เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับคนที่จะซื้อแฟรนไชส์มาเปิด ถ้าคุณไม่มีทักษะการขาย หรือขายของไม่เป็น ดึงดูดลูกค้าเข้าร้านไม่ได้ ธุรกิจก็มีสิทธิ์เจ๊งได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ทักษะการขายมีความสำคัญในการทำธุรกิจหรือเปิดร้านแฟรนไชส์ 
 
3. ไม่มีทำเลเปิดร้าน

 
ทำเลถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะทำเลในเปิดร้าน ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร เครื่องดื่มต่างๆ ถ้าทำเลที่ตั้งของร้านเข้าถึงได้ยาก ก็จะทำให้ลูกค้าไม่เดินทางไปใช้บริการ เพราะไปลำบาก สังเกตหรือไม่ว่า ทำไมทำเล 7-11 ต้องอยู่ตามแหล่งชุมชน และริมถนนหนทางต่างๆ เพราะต้องการให้กลุ่มลูกค้าตามชุมชน และกลุ่มเดินทางเข้าถึงได้ง่าย แม้ว่าหลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์จะมีนโยลายหาทำเลในการเปิดร้านให้ แต่ถ้าทำเลอยู่ไกลบ้าน ไกลที่พัก ก็จะทำงานลำบากเช่นกัน 
 
4. ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน
 
เงินทุนหมุนเวียนในการเปิดร้านแฟรนไชส์ มีความสำคัญอย่างมากในการช่วยประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดในช่วง 2-3 เดือนแรกของเปิดร้าน ซึ่งอย่างน้อยคุณต้องมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ในการเป็นค้าใช้จ่ายต่างๆ ในร้าน เพราะแม้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณซื้อมาเปิดจะมีชื่อเสียง แต่อย่าลืมว่าแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน อาจเจออุปสรรคต่างๆ ในการทำธุรกิจได้ 
 
5. รับกับความเสี่ยงไม่ได้

 
การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยงหมด แม้แต่การลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ ที่เป็นการซื้อธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาเปิดก็ตาม ใครที่ไม่สามารถรับความในการทำธุรกิจได้ ก็ไม่ควรที่จะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ แม้แต่แฟรนไชส์ 7-11 ที่คนนิยมทั่วประเทศ แต่ถ้าอยู่ในทำเลที่ไม่ดี หรือมีร้านค้าอื่นๆ ที่ดีกว่า ก็ทำให้ยอดขายตก มีรายได้ไม่เพียงกับค่าใช้จ่าย ดังนั้น คุณต้องรับความเสี่ยงได้ 
 
6. ไม่ชอบทำงานร่วมกับคนอื่น
 
ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการทำงานร่วมกันของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ถ้าหากคุณซื้อแฟรนไชส์มาเปิด ไม่อยากทำตามกฎ ทำตามข้อกำหนด หรือรูปแบบของแฟรนไชส์ซอร์กำหนดไว้ คุณก็ไม่สามารถทำธุรกิจได้ เพราะระบบแฟรนไชส์ใครที่เป็นแฟรนไชส์ซีจะต้องทำตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์วางเอาไว้ เพื่อธุรกิจได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องทำงานร่วมกันกับทีมงานบริษัทแม่ หรือทำงานร่วมกันกับแฟรนไชส์ซอร์ ที่จะต้องมีการปรึกษาหารือกันอยู่เสมอ 
 
7. อยากทำเพราะตามกระแส

 
อย่างที่บอกว่าปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมจากคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างธุรกิจด้วยตัวเอง กว่าจะสร้างแบรนด์ให้โด่งดัง ไม่รู้ว่าใช้นานแค่ไหน ซื้อมาแล้วเปิดร้านขายได้ทันที จึงทำให้มีคนหันมาซื้อธุรกิจแฟรนไชส์กันมากขึ้น ทั้งคนที่อยากทำจริงๆ และคนที่เห็นคนอื่นทำก็ทำตาม พอมีเงินลงทุนก็อยากมีร้านกับเขาบ้าง ทำไปได้สักพักก็เริ่มเบื่อ ไม่ทุ่มเทบริหารจัดการร้าน เข้าร้านบ้าง ไม่เข้าบ้าง ให้ลูกน้องทำแทนบ้าง สุดท้ายก็เจ๊งกันมาแล้ว 
 
ได้เห็นกันแล้วว่า เหตุผลที่คุณไม่เหมาะที่จะทำธุรกิจแฟรนไชส์มีอะไรบ้าง ใครที่กำลังอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ด้วยการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ หากคิดว่าตัวเองมีองค์ประกอบข้างต้น ก็อย่าพึ่งตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ ค่อยๆ ศึกษาไปเรื่อยๆ แล้วจะรู้เองว่าการลงทุนแฟรนไชส์ไม่ใช่การซื้อความสำเร็จของธุรกิจอย่างเดียว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะตัวคุณเอง

#ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้รวบรวมธุรกิจ #แฟรนไชส์ แยกตามหมวดหมู่ ดังนี้ (ใครสนใจแฟรนไชส์กลุ่มไหน คลิกเข้าไปเลือก เพื่อขอข้อมูลการลงทุนได้ทันที!)
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
Franchise Tips
  1. บริหารจัดการไม่เป็น
  2. ไม่มีทักษะการขาย
  3. ไม่มีทำเลเปิดร้าน
  4. ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน
  5. รับกับความเสี่ยงไม่ได้
  6. ไม่ชอบทำงานร่วมกับคนอื่น
  7. อยากทำเพราะตามกระแส
 
ผู้ประกอบการธุรกิจ และ เจ้าของกิจการร้านค้า ต้องเข้าใจก่อนว่า การขายแฟรนไชส์ แม้จะเป็นวิธีการสร้างและขยายธุรกิจให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ใช่ว่าเจ้าของกิจการ เจ้าของธุรกิจทุกคนจะประสบความสำเร็จจากการขายแฟรนไชส์ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ สินค้าและบริการได้รับความนิยม วันหลังมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ก็..
50months ago   2,050  5 นาที
แฟรนไชส์เป็นระบบการขยายธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเจ้าของกิจการไม่จำเป็นต้องต้องใช้เงินลงทุนเอง เพียงแค่ถ่ายทอดความสำเร็จให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปปฏิบัติ ก็จะได้มาซึ่งรายได้จากค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ รวมถึงค่าสินค้าและวัตถุดิบต่างๆ นั่นจึงทำให้เจ้าของกิจการจำนวนมากสนใจทำแฟรนไชส์มากข..
50months ago   1,714  6 นาที
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,369
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,543
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,262
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,229
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด