บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.1K
2 นาที
4 มิถุนายน 2563
7 เหตุผล ทำไมคุณไม่เหมาะกับการขายแฟรนไชส์


ผู้ประกอบการธุรกิจ และ เจ้าของกิจการร้านค้า ต้องเข้าใจก่อนว่า การขายแฟรนไชส์ แม้จะเป็นวิธีการสร้างและขยายธุรกิจให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ใช่ว่าเจ้าของกิจการ เจ้าของธุรกิจทุกคนจะประสบความสำเร็จจากการขายแฟรนไชส์ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ สินค้าและบริการได้รับความนิยม วันหลังมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ก็ขายเลย เพราะเห็นเงินกองอยู่ข้างหน้า 
 
ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าระบบแฟรนไชส์เป็นอย่างไร บริหารจัดการอย่างไร เจ้าของกิจการที่กำลังมีมุมมองเช่นนี้ แสดงว่าคุณไม่เหมาะจะขายแฟรนไชส์ วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะมาบอกเหตุผล ทำไมคุณไม่เหมาะกับการขายแฟรนไชส์
 
1.ไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์
 

แม้ว่าสินค้าและบริการของคุณจะขายดิบขายดี ไปเปิดร้านขายที่ไหนก็มีแต่คนรู้จัก แต่ในเมื่อคุณไม่มีความรู้ในเรื่องระบบแฟรนไชส์ ใครเป็นใครมาเกี่ยวข้องบ้าง คุณก็ยังไม่เหมาะที่จะขายแฟรนไชส์ เพราะเมื่อขายแฟรนไชส์แล้ว แฟรนไชส์ซีเอาแบรนด์หรือตราสินค้าไปทำเสียหาย หรือนำเอาไปดัดแปลง ต่อยอดธุรกิจขึ้นมาใหม่ คุณอาจเสียหาและเจ๊งได้ แต่ถ้าคุณมีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ คุณก็จะรู้ว่าวิธีการดูแลและรักษาแบรนด์แฟรนไชส์ ไม่ให้ใครเอาเปรียบว่าทำอย่างไร เช่น สัญญาแฟรนไชส์  
 
2.ไม่มีทักษะการบริหารจัดการ
 

เจ้าของกิจการที่คิดจะขายแฟรนไชส์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ มีทักษะในด้านการบริการจัดการภายในองค์กร และระบบเครือข่ายแฟรนไชส์ เช่น การจัดเตรียมระบบบัญชีที่มีประสิทธิภาพและรัดกุมให้แก่แฟรนไชส์ซี ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ต้องมีระบบการบริหารการจัดการเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารการจ่ายค่าสินค้า ค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายที่ต้องดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน  ระบบที่ดีจะทำให้แฟรนไชส์ซีทำงานง่ายขึ้นและสามารถควบคุมมาตรฐานให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
 
3.ไม่มีทักษะการขายแฟรนไชส์
 

เจ้ากิจการที่จะขายแฟรนไชส์จะต้องมีทักษะการนำเสนอผลิตภัณฑ์ เพื่อขายแฟรนไชส์ให้กับผู้สนใจเปิดร้านแฟรนไชส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้ว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร เพราะอย่าลืมว่าเปิดร้านขายอยู่ดีๆ จะมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ได้ง่ายๆ ไม่เช่นนั้น คนก็ทำแฟรนไชส์กันทั้งประเทศ ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์จำเป็นต้องสร้างแพ็กเกจแฟรนไชส์ หรือรูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพื่อที่จะนำเสนอขายแฟรนไชส์ให้มีความน่าสนใจและดึงดูดนักลงทุน   
 
4.วิเคราะห์ทำเลเปิดร้านไม่เป็น
 

แม้ว่าร้านของคุณที่เปิดให้บริการอยู่ จะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ถ้าขายแฟรนไชส์ไปแล้ว โดยที่คุณวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านไม่เป็น แนะนำเพียงแค่ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เปิดร้านขายที่ไหนก็ได้ ที่มีพื้นที่ให้ขาย ถือว่าไม่ถูกต้อง ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์จะต้องวิเคราะห์ทำเลเป็น โดยยึดเอาทำเลแบบที่คุณเปิดร้านให้บริการอยู่เป็นหลัก ในการวิเคราะห์ทำเลถัดไปในการเปิด เช่น ร้านเดิมของคุณได้รับความนิยมในห้าง เมื่อจะขายแฟรนไชส์คุณก็ต้องให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เปิดในห้างเช่นกัน   
 
5.ส่งเสริมการขาย-การตลาดไม่เป็น
 

หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์ นอกจากจะวิเคราะห์ทำเลเปิดร้านให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์แล้ ยังต้องทำการส่งเสริมการขายและทำการตลาดให้กับผู้ซ้อแฟรนไชส์ด้วยเช่นกัน หากคุณไม่รู้วิธีการส่งเสริมการขายและทำการตลาดให้กับเครือข่ายแฟรนไชส์ซีของคุณ คุณก็ไม่เหมาะที่จะขายแฟรนไชส์ เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ไป ก็อยากให้เจ้าของแฟรนไชส์ช่วยเหลือในด้านการโปรโมทสินค้าและบริการให้ขายได้ง่ายขึ้น เช่น 7-11 จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายทุกเดือน โดยที่แฟรนไชส์ซีไม่ต้องทำอะไร เพียงทำตามระบบ  
 
6.ทำงานร่วมกับเครือข่ายแฟรนไชส์ไม่ได้
 

ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ จะต้องสามารถทำงานร่วมกันกับเครือข่ายแฟรนไชส์ ทั้งแฟรนไชส์ซี ซัพพลายเออร์ คู่ค้าต่างๆ ได้ เพราะเป็นวิธีการการสร้างโอกาสธุรกิจที่ดีให้กับทุกฝ่าย จะช่วยให้เกิดการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งสร้างประโยชน์ฝ่ายเดียว เป็นการรักษาสภาวะสมดุลของการดำรงธุรกิจในระยะยาวได้จริง ทั้งงานซัพพลายเออร์ เช่น การผลิต, การจัดซื้อ, การขนส่ง, การให้ความสนับสนุนแฟรนไชส์ซีตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ หากทำงานร่วมกับเครือข่ายแฟรนไชส์ได้ ก็ไม่เหมาะที่จะขายแฟรนไชส์ 
 
7.คัดเลือกแฟรนไชส์ซีไม่เป็น
 

เจ้าของกิจการไม่ใช่ว่าจะขายแฟรนไชส์ หรือให้สิทธิแฟรนไชส์กับใครก็ได้ที่มีเงินลงทุน เพราะคนที่มีเงินลงทุน อาจซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดเพราะทำตามกระแส เห็นคนซื้อแฟรนไชส์ก็เลยอยากซื้อ หลายๆ รายที่ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว ไม่ตั้งใจในการทำธุรกิจ เพราะคิดว่าเป็นการซื้อความสำเร็จของธุรกิจมาแล้ว เปิดร้านยังก็ได้มีคนมาซื้อ สุดท้ายก็เจ๊ง สร้างความเสียหาให้กับแบรนด์แฟรนไชส์ ดังนั้น ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ต้องรู้วิธีการในการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพ มีความเป็นผู้ประกอบการจริงๆ  
 
หากใครที่คิดจะเป็นแฟรนไชส์ซอร์ ต้องมีความรับผิดชอบมาก แบ่งปันประสบการณ์ความสำเร็จ และ พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองฝ่ายช่วยสร้างความไว้ใจวางใจซึ่งกันและกัน ทำหน้าที่ในฐานะพี่เลี้ยง นับตั้งแต่กระบวนการเริ่มธุรกิจ ต่อเนื่องไปถึงการช่วยให้คำแนะนำช่วยเหลือแฟรนไชส์ซี ในการตัดสินใจเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ เพื่อเติบโตร่วมกันในระยะยาว
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 

Franchise Tips
  1. ไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์
  2. ไม่มีทักษะการบริหารจัดการ
  3. ไม่มีทักษะการขายแฟรนไชส์
  4. วิเคราะห์ทำเลเปิดร้านไม่เป็น
  5. ส่งเสริมการขาย-การตลาดไม่เป็น
  6. ทำงานร่วมกับเครือข่ายแฟรนไชส์ไม่ได้
  7. คัดเลือกแฟรนไชส์ซีไม่เป็น 
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ ถือว่าเหมาะสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจของนักลงทุนมือใหม่ ที่ไม่ต้องเสียเวลาเริ่มต้นเอง ไม่ต้องเหนื่อยสร้างแบรนด์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญวางแผนและหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม พร้อมทั้งมีสินค้าและบริการ  รวมไปถึงมีแหล่งเงินลงทุนสนับสนุน ซึ่งการลงทุนทำธุรกิจต้องใช้หลากหลายปัจจัยเข้ามาเ..
50months ago   2,348  5 นาที
แฟรนไชส์เป็นระบบการขยายธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเจ้าของกิจการไม่จำเป็นต้องต้องใช้เงินลงทุนเอง เพียงแค่ถ่ายทอดความสำเร็จให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปปฏิบัติ ก็จะได้มาซึ่งรายได้จากค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ รวมถึงค่าสินค้าและวัตถุดิบต่างๆ นั่นจึงทำให้เจ้าของกิจการจำนวนมากสนใจทำแฟรนไชส์มากข..
50months ago   1,713  6 นาที
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
23,103
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,072
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,964
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,852
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,242
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,194
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด