บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    แฟรนไชส์ต่างประเทศ
3.3K
2 นาที
10 กรกฎาคม 2563
Jollibee ฟาสต์ฟู้ดฟิลิปปินส์ โค่น! McDonald’s ในประเทศได้อย่างไร
 

 
หากพูดชื่อ Jollibee หลายคนอาจจะไม่รู้สึกคุ้นเคยเท่าไร แต่รู้หรือไม่ว่า Jollibee ก่อตั้งมา 46 ปีแล้ว สามารถเอาชนะ McDonald’s ยักษ์ฟาสต์ฟู้ดโลกในตลาดฟิลิปปินส์ของตัวเองได้ และกำลังมุ่งหน้าสู่ความเป็นหนึ่งในธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดของโลก โดยเฉพาะในวันนี้ เป้าหมายใหญ่ของตลาดอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และจีน 
 
แม้แต่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดระดับโลกหลายๆ แบรนด์ ก็ยังต้องสยบให้กับ Jollibee แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังของฟิลิปปินส์ ยิ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้ Jollibee เชนฟาสต์ฟู้ดที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ประกาศซื้อกิจการ Coffee Bean & Tea Leaf –ร้านกาแฟสัญชาติอเมริกัน ในรัฐแคลิฟอร์เนียไปแล้ว 
 
การเติบโตที่ยิ่งใหญ่ไม่เฉพาะในประเทศของตัวเองเท่านั้น ได้ส่งผลให้ Tony Tan Caktiong ผู้ก่อตั้ง Jollibee เป็นบุคคลที่ร่ำรวยมาก และเป็นคนที่ฉลาดในการทำธุรกิจ วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอเรื่องราวความสำเร็จของ Jollibee เชนฟาสต์ฟาสต์ฟู้ดฟิลิปปินส์ รวมถึงวิธีการเอาชนะแมคโดนัลด์เชนฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ของโลกให้ทราบ 
 
Jollibee เครือฟาสต์ฟู้ดของฟิลิปปินส์เริ่มต้นเป็นร้านไอศกรีมมาก่อน ส่วนโลโก้ผึ้งนั้น เป็นสัญลักษณ์รอยยิ้มของชาวฟิลิปปินส์ในทุกที่ทั่วโลก แล้วทำไม Jollibee เชนฟาสต์ฟู้ดท้องถิ่นถึงเอาชนะ McDonald's ทั้งที่เมนูต่างๆ รสชาติไม่เหมือนกัน แต่เป็นเพราะความฉลาดทางธุรกิจและการมองโลกในแง่ดีของ Tony Tan Caktiong ผู้ก่อตั้ง Jollibee นั่นเอง 

จากฝูเจี้ยนไปดาเวา
 

ครอบครัวของ Tony Tan Caktiong เป็นผู้อพยพชาวจีนที่ยากจนเดินทางมาจากมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน เขาได้คลุกคลีกับวงการอาหารมาตั้งเด็ก เพราะพ่อของเขาเริ่มทำงานด้านครัวในประเทศจีนและเป็นพ่อครัวที่วัดในกรุงมะนิลา ก่อนที่พวกจะเขาเปิดร้านอาหารในเมืองดาเวา ซึ่งเป็นเมืองทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์
 
ย้อนกลับไปเมื่ออายุ 22 ปี เขาได้รับแรงบันดาลใจจากการเยี่ยมชมโรงงานผลิตไอศกรีม จากนั้นจึงก้าวเข้าสู่ธุรกิจด้วยเงินสะสมของครอบครัวและร่วมธุรกิจกับ Magnolia Dairy Ice Cream เปิดร้านไอศกรีม 2 ร้าน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า Caktiong เพิ่มเมนูอาหาร เช่น อาหารจานร้อน และแซนด์วิชซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าไอศกรีม 3 ปี 
 
 
ต่อมาในปี  2521 เขาตัดสินใจพัฒนาธุรกิจ และตีตัวออกห่างจากแฟรนไชส์ของ Magnolia และเปลี่ยนร้านไอศกรีมให้เป็นร้านขายอาหารจานด่วนแทน เขาใช้กลยุทธ์การโฆษณาและการตลาดอันชาญฉลาด ส่งผลให้สัญลักษณ์ผึ้งนี้ เป็นที่นิยมในสาธารณชน จากภาพผึ้งหน้าตาแปลกประหลาด ที่ไม่มีธนาคารแห่งใดให้ความสนใจในปี 2521 
 
ทุกวันนี้ Jollibee และรอยยิ้มพิมพ์ใจคือตัวแทนของเรื่องราวแห่งความสำเร็จของชาวฟิลิปปินส์ และยังเป็นความภาคภูมิใจของประเทศอีกด้วย” Mr. Caktiong ชี้ประเด็นสำคัญ
 

ปัจจุบัน Jollibee Foods Corporation มีตราสินค้ามากถึง 8 ตรารวมทั้ง “Jollibee” ที่เป็นอาหารจานด่วนหรือธุรกิจหลัก “Greenwich” ที่เป็นพิซซ่าและพาสต้าและ “Chowking” ร้านอาหารเอเชีย นอกจากนี้บริษัทยังมีเครื่องหมายการค้ามากมายอย่าง “Bee Happy”, “Yumburger”, “Chickenjoy” และ “Amazing Aloha” ทั้งหมดนี้ได้รับการจดทะเบียนโลโก้ในหลายๆประเทศอีกด้วย
 
รสชาติสู่ความสำเร็จ
 

มันสมองของ Caktiong สำหรับธุรกิจนั้น ควบคู่ไปกับการชิมอาหารรสชาติที่พิถีพิถัน เขาบอกกับฟอร์บส์ในการให้สัมภาษณ์ในปี 2013 “แม่ของเขาบอกว่า เขาเป็นคนที่เลี้ยงยากที่สุด เพราะเขาเป็นคนที่กินอะไรที่ยากที่สุด ขณะที่พี่ชายของเขาจะกินอะไรก็ได้” ก่อนที่จะขายบอร์เกอร์นั้น เขาและภรรยาต้องเดินทางทัวร์ชิมเบอร์เกอร์ทั่วมะนิลาให้ได้มากที่สุด
 
3 ปีหลังจากเปิดร้านไอศกรีม พวกเขาเปิดตัว Jollibee Yumburger ได้รับความนิยมอย่างมาก พวกเขาขายแฟรนไชส์ไอศครีมและเพิ่มทางเลือกอาหารอื่นๆ เช่น ไก่ทอด สปาเก็ตตี้ และอาหารท้องถิ่นอื่นๆ นับตั้งแต่นั้นมา Jollibee ธุรกิจแฟรนไชส์ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐก็ถือกำเนิดขึ้นในฟิลิปปินส์ 
 
Jollibee สื่อถึงอะไร
 

 

Caktiong บอกถึง Jollibee ที่มีสัญลักษณ์เป็นผึ้งยิ้มนั้น แสดงถึงชาวฟิลิปปินส์ที่เป็นคนขยันขันแข็ง และคำนำหน้า Jolli แสดงถึงความครึกครื้นและความสุขที่ได้เห็นในการแบ่งปันอาหาร เป็นมาสค็อทที่น่าดึงดูด และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์เช่นกัน ทำให้เด็ก ๆ สามารถลากพ่อแม่ของพวกเขาไปยังร้านฟาสต์ฟู้ดได้เร็วขึ้น
 
การเข้ามาของแมคโดนัลด์
 
แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดอเมริกา “แมคโดนัลด์” มาถึงประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงปี 1980 แต่ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจของ  Caktiong เพราะเขารู้ถึงรสชาติอาหารของท้องถิ่นอย่าง Pinoys ปาเก็ตตี้ที่หวานกว่าปกติ ไก่กรอบเคี้ยวแตกทุกคำในปาก โดยมีสโลแกน เช่น langhap-sarap (หมายถึงกลิ่นหอมของอาหารที่อร่อย) ทำให้ผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์นิยมรสชาติพื้นเมือง 
 
Tony Tan Caktiong รวยแค่ไหน
 

ปัจจุบันมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ Caktiong อยู่ที่ประมาณ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยแฟรนไชส์ Jollibee เป็นเพียงหนึ่งในเชนร้านอาหารที่เขาเป็นเจ้าของ ส่วนแบรนด์อื่นๆ ก็จะเป็น Red Ribbon, Chowking, Greenwich Pizza, Manong Pepe และ Mang Inasal ซึ่งล้วนแล้วเป็นแบรนด์ร้านอาหารที่มีอยู่ภายใต้การดำเนินงานและการดูแลของเขา ขณะที่ Jollibee ยังเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก ที่มีสาขาในอเมริกา อิตาลี ตะวันออกกลาง สหราชอาณาจักร และทั่วเอเชีย

 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 

อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/3200Apa
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.facebook.com/JollibeePhilippines/
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,323
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,489
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,246
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,228
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด