บทความทั้งหมด    บทความค้าขาย    การเริ่มต้นค้าขาย    ไอเดียการค้าขาย
7.5K
4 นาที
4 กรกฎาคม 2556
ว่าด้วยเรื่องการออกแบบสำนักงาน
 
ปัจจัยสำคัญในการออกแบบคือ
  1. การจัดวางฟังชั่นการทำงานในการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร
  2. รูปแบบการออกแบบ โดยมุ่งเน้นให้ตรงต่อความต้องการของลูกค้า และการออกแบบให้ดูเป็นภาพลักษณ์ของบริษัทนั้นๆให้มีจุดเด่นชัดเจน
  3. การออกแบบให้อยู่ในงบประมาณ
  4. การประหยัดพลังงาน
  5. ความรวดเร็วในการออกแบบ โดยนำเสนอเป็นภาพ Perspective ให้ลูกค้าดูก่อนก่อสร้างจริง
  6. ความรวดเร็วในการผลิตงานก่อสร้างตามกำหนดการ
การจัดพื้นที่สำนักงาน 

การวางผังสำนักงานที่ดีเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ งานให้กับบุคลากรทั้งนี้เพราะการกำหนดและแบ่งโซนตามความสัมพันธ์ของแต่ละ หน่วยพื้นที่นั้นช่วยให้ระบบการทำงานภายในองค์กรดำเนินไปอย่างรวดเร็วและไม่วกวน
 
ดังนั้นการแบ่งพื้นที่ในการทำงานจึงควรศึกษาเรื่องลำดับขั้นตอนในการปฎิบัติงานของหน่วยงานหรือสำนักงานนั้นๆ และจัดการรวมกลุ่มการทำงานที่คล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน และสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย นอกจากนี้ยังเป็นการจัดกลุ่มเครื่องใช้สำนักงานให้ความสะดวกต่อการควบคุมงาน ระบบต่างๆ เช่น การเดินสายไฟการปรับอากาศ และอื่นๆ ซึ่งผลที่ตามมาเมื่อสำนักงานได้รับการจัดผังและมีบรรยากาศที่ดีแล้วก็จะทำ ให้บุคลากรมีสุขภาพและจิตที่ดี เกิดเป็นภาพรวมของความสุขภายในสังคมที่ทำงานและนำมาซึ่งความเป็นเอกภาพภายใน องค์กร

พื้นที่สำนักงาน (OFFICE SPACE)
 
พื้นที่หลักภายในสำนักงานจะประกอบด้วย ส่วนต้อนรับ ส่วนทำงาน ส่วนประชุม และส่วนบริการต่างๆ โดยสัดส่วนของการจัดสรรพื้นที่และลำดับความสำคัญในแต่ละส่วนจะแตกต่างกันออก ไปตามประเภทหรือลักษณะของธุรกิจนั้นๆ สำหรับการจัดการกับพื้นที่ภายในสำนักงานจึงเริ่มต้นจากความต้องการของธุรกิจแต่ละประเภท

ก่อนอื่นควรทราบลักษณะการใช้งานของพื้นที่แต่ละส่วน เพื่อนำไปสู่การจัดวางโซนต่างๆ ตาม ความสัมพันธ์ของการใช้สอย เช่น ธุรกิจบางประเภทเน้นการพบปกับลูกค้า มีการนำเสนองานบ่อยครั้ง ครั้งละหลายกลุ่ม อาจมีความจำเป็นมากในการใช้ห้องประชุม จึงควรประกอบไปด้วยพื้นที่ห้องประชุมขนาดเล็ก – ใหญ่จำนวนมาก หรือกรณีธุรกิจบริการ หรือธุรกิจขายตรงที่ไม่เน้นการประชุมภายใน แต่เน้นการออกพบปะกับลูกค้านอกสถานที่ จึงอาจใช้ส่วนประชุมสำหรับการประชุมภายในเท่านั้น

ในขณะที่บางธุรกิจอาจมีการพบปะลูกค้า แต่มีการประชุมไม่บ่อยนัก และเป็นการทำหน้าที่ของคนกลุ่มเดียว ไม่ซ้ำซ้อนกัน ส่วนพักคอยจึงอาจมีความสำคัญเท่ากับส่วนประชุม สำหรับสำนักงานบางแห่งส่วนพักคอยอาจเป็นที่นั่งให้ผู้มาติดต่อเอกสารเท่า นั้น เพราะไม่เน้นการนัดพบภายในสำนักงาน เป็นต้น

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นวิธีจัดการเพื่อเรียงลำดับความสำคัญของพื้นที่ ใช้งานในแต่ละส่วนให้เหมาะสมกับธุรกิจ เป็นวิธีการคิดแบบคราวๆ ซึ่งอันที่จริงจะต้องทราบจำนวนผู้เข้าใช้ที่แน่นอนโดยละเอียดและพฤติกรรมของ ผู้ใช้งาน หรื่อที่เรียกว่า USER BEHAVIOR เพื่อประโยชน์ต่อการออกแบบให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการใช้พื้นที่
 
ส่วนการจัดวางตำแหน่งพื้นที่การใช้งานต่างๆ มีหลักการง่ายๆ คือ แยกพื้นที่ในกลุ่มของ PUBLIC กับส่วน PRIVATE ออกจากกันเพื่อให้เกิดความเป็นส่วนตัวในขณะทำงาน เช่น
  • PUBLIC AREA : ส่วนต้อนรับ ส่วนพักคอย ส่วนห้องประชุม (มักอยู่ส่วนหน้าสำนักงาน)
  • PRIVATE AREA : พื้นที่ทำงาน
ตัวอย่างการจัดการกับพื้นที่ให้เหมาะสมกับธุระกิจแต่ละประเภท การจัดผังบางครั้งใช้วิธีการแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นส่วนหลักๆ คือ PUBLIC กับ PRIVATE ไว้ในทิศทางซ้ายและขวา ซึ่งช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวมากขึ้นในขณะปฏิบัติงาน
 
ข้อสังเกตุ : บางครั้งการกำหนดโซนต่างๆ อาจแบ่งตามการออกแบบแต่ไม่จำเป็นต้องตามหลักการเสมอไป เช่น หากมีการกำหนดคอนเซ็ปต์ในการออกแบบ (Design Concept) บรรยากาศภายในสำนักงาน การจัดพื้นที่ทั้งสองอาจต้องออกแบบให้เป็นบรรยากาศเดียวกัน ไม่แยกตามพื้นที่ว่าเป็น PUBLIC หรือ PRIVATE เพื่อส่งเสริมให้เกิดภาพรวมที่ดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
 
จำนวนบุคลากรภายในองค์กร

ในบริษัท หน่วยงาน หรือองค์กรแต่ละหน่วยงานอาจมีจำนวนบุคลากรไม่เท่ากัน ดังนั้นการทราบจำนวนบุคลากรที่แน่นอนจึงเป็นที่มาของการคำนวณหาขนาดพื้นที่ สำหรับจัดตั้งสำนักงาน โดยในที่นี้ได้นำเสนอพื้นที่ตามความต้องการในแต่ละหน่วยการทำงาน
 
ส่วนทำงาน : แสดงระยะมาตรฐานตามความต้องการจากสรีระมนุษย์
 
ข้อสังเกตุ : ในที่นี้การจัดวางเฟอร์นิเจอร์จะเป็นไปตามลักษณะรูปทรงของชุดโต๊ะทำงาน หรือ WORK STATION นั้นๆ อาจมีลักษณะของการจัดแบบ MODULE คือเป็นกลุ่มก้อนหรือแบบคล้ายกัน แต่มีการกระจายแยกกันโดยไม่มีข้อกำหนดตายตัว เพราะการจัดการกับพื้นที่อาจมีข้อกำหนดที่ต่างกัน เช่น บางบริษัทรู้ความต้องการทั้งหมดก่อนเลือกอาคารสำนักงานหรือก่อนปลุกสร้าง จึงได้พื้นที่ใช้สอยในสำนักงานตามความต้องการ ในขณะเดียวกันบางบริษัทถูกจำกัดให้จัดการกับพื้นที่ที่มีอยู่ ดังนั้นการกำหนดพื้นที่และขอบเขตอาจมีการยืดหยุ่นตามสภาวการณ์แล้วแต่กรณี

การวางผังเฟอร์นิเจอร์ในพื้นที่ส่วนสำนักงาน 

ข้อสังเกต : ควรคำนึงถึงเรื่องอุปกรณ์สำนักงานที่มีการใช้ไฟฟ้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ พริ้นเตอร์ หรือ อุกรณ์สื่อสารต่างๆ โดยวางแผนการจัดวางตำอหน่งอย่างชัดเจน เพราะบางสำนักงานอาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้ร่วมกัน ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงความสะดวกในการใช้และความปลอดภัยเป็นหลัก
 
นอกจากพื้นที่สำนักงานที่มีลักษณะเปิดโล่ง (OPEN SPACE) แล้ว ยังมีส่วนของการจัดผังเฟอร์นิเจอร์ในลักษณะของห้องส่วนตัว (PRIVATE ROOM) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือหัวหน้า
 
ลักษณะการจัดวางเฟอร์นิเจอร์สำหรับห้องทำงานส่วนตัว (EXECUTIVE ROOM)
ข้อ สังเกตุ : ข้อควรคำนึงในการจัดวางผังเฟอร์นิเจอร์นั้น นอกจากความลงตัวทางความงามแล้ว ความสะดวกและใช้งานได้จริงก็มีความสำคัญไม่น้อย เช่น ตำแหน่งของหน้าจอคอมพิวเตอร์ หากอยู่ในบริเวณช่องแสงอาจเกิดความสะท้อนจากแสงภายนอกและเงาสะท้อนจากดวงโคม ภายในห้องนั้นเอง ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญและเป็นอันตรายต่อสุขภาพตา
 
ออกแบบห้องประชุม (CONFERENCE ROOM)

สิ่งจำเป็นแรกของการจัดพื้นที่นี้คือ ต้องทราบถึงจำนวนผู้เข้าใช้เพื่อจัดเตรียมจำนวนที่นั่ง อาจมีจำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับผู้กำหนดคือเจ้าของธุรกิจ ซึ่งรู้ความต้องการพื้นฐานและพฤติกรรมของผู้ใช้ทุกคน อาทิ ใครคือผู้ใช้ มีจำนวนเท่าใด และใช้ทำอะไรบ้าง สำหรับห้องประชุม นอกจากการพบปะพูดคุยแล้ว บางสำนักงานยังใช้เป็นสถานที่นำเสนอผลงาน จัดสัมมนา ฯลฯ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเรื่องของอุปกรณ์ประกอบภายใน ซึ่งส่งผลไปถึงการจัดการกับงานระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน
 
ปัจจุบันนอกจากโต๊ะสี่เหลี่ยมจัตุรัสและโต๊ะกลมแล้ว ยังมีโต๊ะรูปทรงอื่นๆ เช่น โต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้าและโต๊ะรูปทรงเรือ (BOAT-SHAPED TABLE) และด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยี ทำให้สามารถผลิตวัสดุและอุปกรณ์ รวมถึงการทำโต๊ะรูปแบบต่างๆ ได้ตามความต้องการ

การจัดวางผังห้องประชุม 

ข้อสังเกตุ : แนวคิดทางการออกแบบสามารถกำหนดรูปทรงของเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งอาจแสดงออกถึงความเป็นทางการและไม่เป็นทางการได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้การเลือกวัสดุและการใช้สีสันต่างๆ ยังสามารถแสดงออกถึงภาพลักษณ์ของบริษัทได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
 
ส่วนต้อนรับและพักคอย (RECEPTION AREA & WAITING AREA)

ปัจจุบันมีการให้ความสำคัญกับบทบาทการทำงานของบุคลากรที่รับผิดชอบแต่ละ หน้าที่มากขึ้น อาทิ พนักงานต้อนรับต้องสามารถเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทได้สูงสุด ดังนั้นบริเวณส่วนต้อนรับของบางสำนักงานจึงมีลักษณะเป็น WORKSTATION คือเป็นโต๊ะทำงานไปด้วยในตัว ไม่ใช่เพียงแค่เคาน์เตอร์ต้อนรับแบบเดิมอีกต่อไป ด้วยลักษณะการทำงานดังกล่าวจึงสามารถแยกประเภทเฟอร์นิเจอร์ของพนักงานต้อน รับได้ 2 รูปแบบ คือ เป็นทั้งเคาน์เตอร์และโต๊ะทำงาน
 
นอกจากส่วนต้อนรับแล้ว ภายในบริเวณพื้นที่นี้ยังจำเป็นที่ต้องมีส่วนพักคอยสำหรับผู้มาติดต่อ โดยที่นั่งมีจำนวนมาก - น้อยนั้นขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจหรือความพอใจของเจ้าของสำนักงานเป็นหลัก
 
ระยะมาตรฐานของการจัดกลุ่มการนั่งในรูปแบบต่างๆ ของส่วนพักคอย

ข้อสังเกตุ : การเลือกเฟอร์นิเจอร์ในส่วนพักคอยนั้นบกบอกถึงระยะเวลาในการนั่งได้ ถ้าเห็นสมควรว่าจะต้องนั่งเป็นเวลานานก็ส่งผลต่อการเลือกเฟอร์นิเจอร์ ส่วนการระบุชนิดของวัสดุที่ใช้ในการออกแบบควรคำนึงไปในเรื่องที่เกี่ยวกับ การใช้งานด้วย แล้วจึงเลือกสีสันและรูปทรงเป็นลูกเล่นให้เข้ากับแนวความคิดในการตกแต่ง รวมทั้งของตกแต่งอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมบรรยากาศของสำนักงานโดยรวม
 
แนวทางการออกแบบและเลือกใช้วัสดุ

ในการตกแต่งส่วนต่างๆ ของสำนักงานเพื่อให้เกิดความสวยงามและดูเหมาะสมกับสถานที่ จึงควรศึกษาเรื่องโครงสร้างภายในและวัสดุที่ใช้ประกอบกับส่วนนั้นๆ เพราะความหลากหลายของวัสดุในปัจจุบันช่วยให้เกิดรูปแบบการตกแต่งที่แปลกใหม่ แต่วัสดุบางประเภทก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานซึ่งถ้าหากทราบถึงข้อจำกัดดัง กล่าวก็จะทำให้การออกแบบสำนักงานเป็นไปได้ง่ายขึ้น และยังช่วยประหยัดงบประมาณอีกด้วย  ไม่ว่าจะเป็นพื้น ผนัง หรือฝ้าเพดาน ซึ่งล้านแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตกแต่งอาคารมักมีการเลือกใช้วัสดุและ รายละเอียดในการติดตั้งที่แตกต่างกันไป
 
ระบบเสียงและการควบคุมเสียงรบกวน

เสียงรบกวนสำหรับสำนักงานมีทั้งเสียงจากภายในสำนักงาน เช่น เสียงที่เกิดจากการทำงาน เสียงพิมพ์ดีด เสียงการสนทนา ติดต่อ งาน เป็นต้น ส่วนเสียงจากภายนอก เช่น เสียงจากเครื่องยนต์ เสียงจากการก่อสร้าง และอื่นๆ ทั้งหมดล้วนเป็นผลต่อการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงขาดสมาธิในการทำงาน รวมทั้งการสื่อสารอาจไม่เป็นผลเท่าที่ควร
 
ดังนั้นจึงมีการแยกแยะการควบคุมเสียงจากแหล่งต่างๆ ดังนี้

การควบคุมเสียงภายใน คือ การควบคุมเสียงในส่วนการทำงานที่ต้องใช้เสียงดังๆ ให้อยู่ในระดับพอเหมาะ รวมทั้งป้องกันเรื่องการสะท้อนของเสียงจากพื้น เพดาน ผนัง โดยการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง

การควบคุมเสียงภายนอก คือ การป้องกันเสียงหรือการหยุดเสียงจากภายนอก โดยอาจใช้วิธีดูดซับเสียงด้วยวัสดุดูดซับเสียงต่างๆ ซึ่งควรจัดให้วัสดุเหล่านี้อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดเสียงมากที่สุด ส่วนบรรยากาศภายนอกอาคาร ที่เกิดจากการจัดทำสภาพแวดล้อมอย่างต้นไม้ ซึ่งนอกจากช่วยกรองอากาศและฝุ่นละอองแล้ว ยังสามารถดูดซับเสียง
ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
 
การควบคุมเสียงจากส่วนต่างๆ ภายในสำนักงาน (OFFICE ACOUSTIC ENVIRONMENT)

1. ป้องกันเสียงสะท้อนจากเพดาน (ACOUSTIC CEILING) การเลือกใช้แผ่นฝ้าที่มีคุณสมบัติดูดซับเสียงจะช่วยลด เสียงสะท้อนได้ เนื่องจากฝ้าเพดานถือเป็นระนาบที่กว้างใหญ่และไม่มีสิ่งใดปิดกั้น ซึ่งเมื่อเสียงกระทบกับฝ้าเพดาน เสียงบางส่วนจะผ่านไปในฝ้าเพดานและบางส่วนจะถูกดูดซับไว้ เสียงที่ผ่านเข้าไปจะกระทบกับพื้นของชั้นถัดไปแล้วสะท้อนกลับมาลงยังฝ้าเพดานอีกครั้ง แต่ภายในระนาบนั้นไม่อาจดูดซับเสียงไว้ได้ทั้งหมด เพราะว่าต้องมีส่วน ประกอบอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เช่นโคมไฟ ช่องจ่ายแอร์ เป็นต้น
 
2. ป้องกันเสียงสะท้อนที่พื้น (ACOUSTIC FLOOR) พื้นเป็นระนาบกว้างไม่น้อยไปกว่าเพดาน ดังนั้นในการพิจารณาป้องกันเสียงสะท้อนอาจเลือกใช้พรมเป็นวัสดุปูพื้นใน สำนักงานทั่วไปเพราะพรมจัดเป็นวัสดุที่ดีที่สุดในการดูดซับเสียงสำหรับพื้น
 
ข้อสังเกต : ประโยชน์ของการเลือกใช้พรมนอกจากประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงแล้ว ยังช่วยลดการกระแทกและลดเสียงบนพื้นผิวจากการเดินได้ดีอีกด้วย โดยพรมปลายตัด (CUT PILE) มีค่าสัมประสิทธิ์การดูดซึมเสียงสูงกว่าชนิดขนห่วง (LOOPED PILE) เล็กน้อย (ในกรณีใช้บนพื้นที่เดียวกัน)
 
3. การป้องกันเสียงสะท้อน ณ พื้นผิวที่ตั้งตรง พื้นผิวตั้งตรงได้แก่ ผนัง หน้าต่าง ม่าน (ฉากกั้น ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายได้) การเลือกใช้วัสดุที่มีค่าสัมประสิทธิ์สูงจะเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการดูด ซับสียงได้ดี เช่น พรมหรือผ้าม่านหนามีค่าสัมประสิทธิ์ที่สูงกว่ากระจกจึงเหมาะที่จะนำมาใช้ เป็นวัสดุตกแต่งเพื่อป้องกันเสียงสะท้อน เป็นต้น
 
บทความค้าขายยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ทีมไหน! หา"ทำเล"ก่อนทำธุรกิจ vs เลือก "ธุรกิจ" ก..
407
บทความค้าขายมาใหม่
บทความอื่นในหมวด